วัดเจ้าพราหมณ์
วัดเจ้าพราหมณ์ | |
---|---|
ภาพปรางค์ประธานของวัดเจ้าพราหมณ์ | |
![]() | |
ที่ตั้ง | ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | วัดร้าง |
![]() |
วัดเจ้าพราหมณ์ เป็นโบราณสถานประเภทวัดร้างที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ภายในเกาะเมืองอยุธยา ริมคลองฉะไกรใหญ่ โดยอาจจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน เนื่องจากยังเหลือปรางค์ประธาน เป็นปรางค์ที่ก่อด้วยอิฐ ฐานของปรางค์ก่ออิฐเรียงอยู่บนแนวฐานล่างซึ่งก่อด้วยศิลาแลง ลวดลายปูนปั้นติดอยู่ที่ซุ้มชั้นบนของซุ้มทางเข้าด้านหน้าของปรางค์ ลักษณะโครงสร้างและลวดลายปูนปั้นที่ประดับบนโบราณสถานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้นหรือเก่ากว่านั้น ก่อนจะกลายมาเป็นพุทธสถานในภายหลัง โดยได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากมีการก่อฐานเขียงปิดทับฐานปรางค์องค์เดิมเพื่อเชื่อมกับวิหาร
ต่อมาในต้นปี 2534 กรมศิลปากร ได้ทำการขุดสำรวจในบริเวณแนววิหารเดิมด้านทิศใต้พบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่
ชิ้นส่วนต้นพระพาหาด้านซ้ายของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีซึ่งสลักรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ซ้อนกันเป็นชั้นเห็นอยู่ 4 ชั้น เป็นศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ประติมากรรมสำริดรูปพระลักษมีศิลปะอินเดียใต้ สมัยราชวงศ์โจฬะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18–19 และยังพบกำไลสำริด 1 คู่ ทำเป็นรูปงูอ้าปากตามลำตัวเป็นเกล็ด โบราณวัตถุทั้ง 3 ชิ้นเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ต่อมากรมศิลปากรได้เข้ามาทำการขุดแต่งอีกครั้งในปี 2541[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดเจ้าพราหมณ์". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 13 กรกฎาคม 2563.