ข้ามไปเนื้อหา

วัดคลองพุทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดคลองพุทรา
แผนที่
ที่ตั้งตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดคลองพุทรา ตั้งอยู่เลขที่ 9/99 หมู่ที่ 16 ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1] พระสมุห์วีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รูปปัจจุบัน

อาณาเขต

[แก้]
  • ทิศเหนือ จด ที่ดินเลขที่ 59
  • ทิศใต้ จด คลองพุทรา[2]
  • ทิศตะวันออก จด ที่ดินเลขที่ 4421
  • ทิศตะวันตก จด ที่ดินเชขที่ 58

ประวัติ

[แก้]

วัดคลองพุทรา เดิมชื่อว่า วัดคลองพุดซา สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อ ปี พ.ศ. 2464 ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด คือ คุณหญิงประเสริฐสาตร์ ดำรงทิพโกมลเวช ราษฎรบ้านระแวงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อสร้างเสนาสนะ เพื่อใช้เป็นที่พักสงฆ์ และบำเพ็ญกุศล ผู้บริจาคที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ คือ นางใบ คุณทวี

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด ซึ่งเป็นที่สักการะบูชา และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ หลวงพ่อดำ และได้อนุญาตให้ทางราชการใช้พื้นที่ของวัด ทำการสอนหนังสือแก่เด็กนักเรียน และในปี พ.ศ. 2517 อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการตั้งสถานที่ คือ โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม[3] ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2477 มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง 13 เมตร ยาว 26.20 เมตร

อาคารเสนาสนะ

[แก้]
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 23.50 เมตร ยาว 23 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540
  • อุโบสถ์ กว้าง 7.30 เมตร ยาว 19 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521
  • หอสวดมนต์ กว้าง 9.10 เมตร ยาว 14.20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529
  • ศาลาไม้ กว้าง 15.60 เมตร ยาว 22.70 เมตร เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ.
  • ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง 13.10 เมตร ยาว 27.90 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2547
  • กุฎิสงฆ์จำนวน 18 หลัง

และอาคารเสนาสนะต่างๆ

หอระฆัง 1 หลัง หอกลอง 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง โรงเก็บพัสดุ 1 หลัง เรือนรับรอง 1 หลัง

หอฉัน 1 หลัง ณาปณสถาน 1 หลัง สร้าง พ.ศ. 2550 – 2553[4]

ปูชนียวัตถุ

[แก้]
  • พระประธานประจำอุโบสถ ปรางมารวิชัย หน้าตัก 51 นิ้ว สูง 76 นิ้ว สร้าง พ.ศ. 2523
  • พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปรางมารวิชัย หน้าตัก 50 นิ้ว สูง 75 นิ้ว สร้าง พ.ศ. 2542

ปูชนียวัตถุอื่นๆ หลวงพ่อดำ ไม่ปรากฏชัดว่าสร้างในปี พ.ศ. ใดและผู้สร้าง ทราบเพียงว่าชาวบ้านในบริเวณนี้ได้ร่วมใจกันสร้างพระพุทธรูป คือ หลวงพ่อดำ ขึ้นมาและชาวบ้านได้ทำการสักการะตั้งแต่นั้นมา และเมื่อได้ทำการขอสิ่งใดแล้วจะประสบความสำเร็จ[5]

การบริหารและการปกครอง

[แก้]

รายนามเจ้าอาวาส

  • รูปที่ 1 พระอธิการปา
  • รูปที่ 2 พระมหาเสงี่ยม
  • รูปที่ 3 พระอาจารย์จ้อย
  • รูปที่ 4 พระมหาแหร่ม
  • รูปที่ 5 พระอธิการดอกรัก
  • รูปที่ 6 พระอธิการแก้ว สุชีโว
  • รูปที่ 7 พระมหาเกษม เขมาภิรโต พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2546
  • รูปที่ 8 พระมหาสิริพงศ์ ฐานจาโร พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2547
  • รูปที่ 9 พระครูสุกิจพัฒนวิธาน (เอนก นิมฺมโท) พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2561
  • รูปที่ 10 พระสมุห์วีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ พ.ศ. 2563 ถึง ปัจจุบัน[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 71
  2. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 71
  3. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 71
  4. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 71
  5. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 72
  6. หนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552 หน้าที่ 72