ข้ามไปเนื้อหา

ลีโอเดอะไลออน (เอ็มจีเอ็ม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลีโอเดอะไลออน
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ลีโอ
ตั้งแต่ 1957
อเมซอนเอ็มจีเอ็มสตูดิโอส์
การเรียกขานมาสค็อตออฟเอ็มจีเอ็มสตูดิโอส์
สมาชิกของเมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์
รายงานต่อเมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์
จวนบริษัท เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ สตูดิโอส์ จำกัด,
เบเวอร์ลี่ฮิลส์
แคลิฟอร์เนีย
สหรัฐ
ที่ว่าการMascot
ผู้แต่งตั้ง

ลีโอเดอะไลออน (อังกฤษ: Leo the Lion) เป็นตัวนำโชคของสตูดิโอภาพยนตร์ฮอลลีวูด ซึ่งมีชื่อว่าเมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ เป็นที่รู้จักในฐานะสัญลักษณ์ที่โดดเด่นประจำสตูดิโอ สร้างสรรค์โดยผู้กำกับฝ่ายศิลป์ประจำพาราเมาต์พิกเจอส์ซึ่งมีชื่อว่าลีโอเนียล เอส.ไลส์[1]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1924 เมื่อทางสตูดิโอได้รับการปรับรูปแบบจากการควบรวมกิจการโดยสตูดิโอของซามูเอล โกลด์วิน ร่วมด้วยบริษัทเมโทรพิกเจอร์สของมาร์คัส โมเอล กับบริษัทของหลุยส์ บี.เมเยอร์ ที่มีสิงโตในรูปแบบต่างกันราวห้าแบบที่ใช้สำหรับโลโก้ของเอ็มจีเอ็ม ประกอบด้วยแทนเนอร์[2] กับลีโอซึ่งเป็นสิงโตตัวปัจจุบัน โดยนับเป็นตัวที่ห้า ทั้งนี้ แทนเนอร์ถูกนำมาใช้เป็นโลโก้ในภาพยนตร์ของเทคนิคัลเลอร์และการ์ตูนเอ็มจีเอ็มทั้งหมด (เช่นการ์ตูนซีรีส์ทอมกับเจอร์รี่) และใช้เป็นโลโก้ของสตูดิโอมาเป็นระยะเวลา 22 ปี (ส่วนลีโอถูกนำมาใช้เป็นโลโก้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 นับเป็นระยะเวลา 53 ปี) อย่างไรก็ตาม เมื่อแผนกแอนิเมชันของเอ็มจีเอ็มได้ปิดการดำเนินการลงในปี ค.ศ. 1958 ก็ได้มีการนำมาทำใหม่อีกครั้งโดยชัค โจนส์ในการกำกับเรื่องสั้นทอมกับเจอร์รี่ในปี ค.ศ. 1963 ในเรื่องสั้นนี้ ได้เลือกใช้แทนเนอร์ในฉากเปิดมากกว่าลีโอ โดยมีผู้ซึ่งทำการปรับแต่งไปยังโลโก้ของสตูดิโอช่วงปี ค.ศ. 1961-1963 โดยจีนี่ เดออิทช์ ซึ่งเป็นนักวาดโลโก้การ์ตูน

รูปสัญลักษณ์

[แก้]

โลโก้แรก : ค.ศ. 1924-1928

[แก้]
ภาพโลโก้สิงโตต้นตำรับของโกลด์วินพิกเจอร์ส (ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1916-1924) ซึ่งได้นำมาใช้อีกในภายหลังสำหรับเอ็มจีเอ็ม

สแลทส์[2] เป็นสิงโตตัวแรกที่ถูกมาใช้ในสตูดิโอโฉมใหม่ มันเกิดที่สวนสัตว์ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1919[3] สแลทส์ได้รับเลือกมาใช้ในภาพยนตร์ขาว-ดำทุกเรื่องในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1924 และค.ศ. 1928 โลโก้ต้นตำรับนี้ได้รับการออกแบบโดยโฮเวิร์ด ไดเอทส์ และได้นำมาใช้โดยสตูดิโอโกลวินพิกเจอร์คอร์ปอเรชั่น จากค.ศ. 1916 ถึงค.ศ. 1924 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการปรากฏตัวของลีโอเดอะไลออนคือภาพยนตร์เรื่อง พอลลี่ออฟเดอะเซอร์คัส ในปีค.ศ. 1917 โกลวินพิกเจอร์คอร์ปอเรชั่นได้ถูกรวมเข้าเป็นหุ้นส่วนของเอ็มจีเอ็ม และภาพยนตร์เรื่องแรกของเอ็มจีเอ็มที่ได้นำโลโก้ดังกล่าวมาใช้ คือภาพยนตร์เรื่อง ฮีฮูเก็ทส์สแลปด์ (ค.ศ. 1924) ไดเอทส์ได้กล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจนำสิงโตมาเป็นตัวนำโชคของสตูดิโอในฐานะเป็นของบรรณาการมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งมีทีมนักกีฬาที่มีชื่อเล่นอันเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ เดอะไลออนส์ เขายังได้เพิ่มแรงบันดาลใจถึงการสร้างเสียงคำรามของสิงโตซึ่งได้มาจากเพลงปลุกใจสู้ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่มีชื่อว่า "Roar, Lion, Roar"

โลโก้ที่สอง : ค.ศ. 1928-1956

[แก้]
แจ็คกี้ในโลโก้เอ็มจีเอ็ม ค.ศ. 1928-1956
คอฟฟี่ หนึ่งในสองของสิงโตที่ได้นำมาใช้ในการทดสอบโลโก้ของเทคนิคัลเลอร์ในช่วงต้นของการผลิตเป็นภาพสี ระหว่างปีค.ศ. 1932-1935

โลโก้ที่สาม : ค.ศ. 1934-1956

[แก้]
แทนเนอร์ในโลโก้เอ็มจีเอ็ม ค.ศ. 1934-1956

โลโก้ที่สี่ : ค.ศ. 1956-1958

[แก้]
จอร์จในโลโก้เอ็มจีเอ็ม ค.ศ. 1956-1958

โลโก้ที่ห้า : ค.ศ. 1957-ปัจจุบัน

[แก้]
ลีโอในโลโก้เอ็มจีเอ็ม (ค.ศ. 2001-2008) โดยในกลุ่มของสิงโตที่ได้นำมาใช้เป็นโลโก้ทั้งหมดนี้ ถือว่ามีการนำลีโอมาใช้ยาวนานที่สุด (เป็นระยะเวลารวม 53 ปี)

โลโก้ลำดับถัดมาของเอ็มจีเอ็ม

[แก้]

โลโก้เอ็มจีเอ็มยังเป็นสัญลักษณ์รองด้วย ดังจะเห็นได้ในฉากเปิดหรือช่วงเครดิตรายชื่อในฉากจบในภาพยนตร์หลายชุดของเอ็มจีเอ็ม ซึ่งดีไซน์ต้นตำรับนี้มาจากโลโก้ของเมโทร-โกลวิน พิกเจอร์ส ช่วงปี ค.ศ. 1923-1924 และดูเหมือนว่ามีการใช้ในฉากเปิดของภาพยนตร์เอ็มจีเอ็มหลายชุดตั้งแต่ ปลายยุค 1920 จนถึงต้นยุค 1930 โลโก้ได้ปรากฏภาพกราฟิกของสิงโตนอนจากมุมมองด้านข้าง บนฐานที่มีคำขวัญจารึกเอาไว้ว่า "A Metro–Goldwyn–Mayer Picture" ด้านหลังสิงโตเป็นแผ่นฟิล์มที่จัดเป็นกึ่งริบบิ้นที่มีคำขวัญว่า "Ars Gratia Artis" โดยด้านข้างของฐานทั้งสองมีแสงไฟส่อง สัญลักษณ์รองใช้ในการเปิดรายการและจบรายการของภาพยนตร์เอ็มจีเอ็มเป็นจำนวนมาก จากช่วงปลายยุค 1920 ถึงช่วงต้นยุค 1970 หลังจากนั้น ได้ย้ายไปอยู่ในช่วงแสดงรายชื่อผู้ผลิตตอนช่วงต้นยุค 1980 แทน ตัวอย่างเช่น โลโก้ที่ปรากฏในการจัดฉายภาพยนตร์ อะคริสต์มาส สตอรี่ ในปี ค.ศ. 1983 ในช่วงแสดงรายชื่อตอนจบ นอกจากนี้ ภาพยนตร์ของเอ็มจีเอ็มที่จัดสร้างในปลายยุค 1930 จนถึงต้นยุค 40 จำนวนมาก ได้กำหนดให้ช่วงแสดงรายชื่อผู้มีส่วนร่วมในฉากเปิด ร่วมกันคัดค้าน งานฝีมือที่มีเค้าโครงเป็นรูปสิงโตนอน ในระหว่างช่วงนี้ มีภาพยนตร์ที่นำเสนอรายชื่อผู้มีส่วนร่วมที่ใช้โลโก้ลักษณะนี้ในภาพยนตร์บางเรื่อง อันประกอบด้วย อะคริสต์มาสแคโรล ที่ดัดแปลงจากนิยายของชาร์ลส์ ดิคเก้นส์ ในฉบับภาพยนตร์ค.ศ. 1938 กับภาพยนตร์ที่นำแสดงโดยเกรทา การ์โบ เรื่อง นีนอทชก้า ในปีค.ศ. 1939

การล้อเลียน

[แก้]
ภาพดัดแปลงโลโก้เอ็มจีเอ็มของชัค โจนส์ ในการ์ตูน ทอมกับเจอร์รี่ โดยทอมได้เข้ามาอยู่แทนตำแหน่งของสิงโตเอ็มจีเอ็ม

ในปี ค.ศ. 1967 ภาพยนตร์ของโรมัน โปลันสกี ซึ่งมีชื่อว่า เดอะเฟียร์เลสแวมไพร์คิลเลอร์ส ภาพสิงโตในสัญลักษณ์ของเอ็มจีเอ็มจัดให้กลายเป็นภาพแวมไพร์แบบการ์ตูนที่มีเลือดหยดออกจากเขี้ยว ส่วนภาพยนตร์เรื่อง เดอะแมรี่มัวร์โชว์ (ซึ่งจัดฉายรอบปฐมทัศน์ในปี ค.ศ. 1970) ตลอดจนการแสดงของ เอ็มทีเอ็มเอนเทอร์ไพรส์ ได้มีการล้อเลียนถึงสิงโตเป็นภาพสีในช่วงท้ายสุดของรายการ โดยมีการวางภาพลูกแมวที่มีชื่อว่า มิมซี่ แทนที่ลีโอ ซึ่งส่งเสียงร้องแบบแมวแทน (ภาพยนตร์ เซนต์เอลส์แวร์ เองก็มีการแสดงของมิมซี่ ในการใส่หน้ากากผ่าตัด) ริบบิ้นที่อยู่เหนือศีรษะของลูกแมวตัวนี้มีข้อความ "MTM" แทนข้อความ "Ars Gratia Artis" ภาพยนตร์เรื่อง มอนตี้ไพธอน กับ แอนด์นาวฟอร์ซัมติงคัมพลีทลี่ดิฟเฟอเรนซ์ ของปี ค.ศ. 1971 มีการล้อเลียนโลโก้ของเอ็มจีเอ็ม โดยให้กระต่ายส่งเสียงคำรามแทน ซึ่งกระต่ายตัวนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของเพลย์บอยโปรดักชั่น

ในการ์ตูนทอมกับเจอร์รี่ ตอนสวิชชิ่งคิทเช่น ค.ศ. 1961 เจอร์รี่ได้ส่งเสียงร้องเหมือนกับลีโอในรูหนูซึ่งดัดแปลงให้อยู่ในริบบิ้นแบบโลโก้ของเอ็มจีเอ็ม นอกจากนี้ ชัค โจนส์ ยังได้กำกับการ์ตูนทอมกับเจอร์รี่ช่วง ค.ศ. 1963-1967 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ์ตูนในโลโก้ของเอ็มจีเอ็ม แทนเนอร์ได้ส่งเสียงคำรามในช่วงเริ่ม และหลังจากนั้นทอมก็เข้ามาแทนที่พร้อมกับส่งเสียงร้องแบบแมว

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.jewishvirtuallibrary.org/jsource/judaica/ejud_0002_0017_0_16626.html
  2. 2.0 2.1 "TV ACRES: Advertising Mascots - Animals - Leo the MGM Lion (MGM Studios)". TV Acres. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  3. "Dublin Zoo - Come into the Zoo - African Plains - Lion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]