ลาเคอร์เซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบแห่งนี้เมื่อ ค.ศ. 2007

ลาเคอร์เซ (เยอรมัน: Laacher See) เป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ประเทศเยอรมนี ราว 24 กิโลเมตรจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโคเบล็นทซ์ 37 กิโลเมตรจากทางใต้ของเมืองบ็อน และ 8 กิโลเมตรจากทางตะวันตกของเมืองอันเดอร์นัค เป็นแนวเขาแบบไอเฟิล และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ไอเฟิลภูเขาไฟตะวันออก เกิดขึ้นจากภูเขาไฟที่ปะทุแบบพลิเนียนเมื่อราว 13,000 ปีก่อนยุคปัจจุบัน โดยมีค่าตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟอยู่ที่ 6 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับการระเบิดของภูเขาไฟปีนาตูโบเมื่อ ค.ศ. 1991[1][2][3][4]

ลักษณะ[แก้]

ทะเลสาบนี้มีรูปไข่ มีตลิ่งสูงรายรอบ มีการขุดลาวาจากที่แห่งนี้ไปทำโม่หินตั้งแต่ยุคโรมันจนกระทั่งมีการริเริ่มนำเครื่องกลึงทำด้วยโลหะมาใช้โม่เมล็ดพืชแทน[5]

การปะทุ[แก้]

ปรากฏการณ์ภูเขาไฟในประเทศเยอรมนีนั้นย้อนหลังไปได้หลายล้านปี ซึ่งเกี่ยวกับพันกับรอยร้าวซีโนโซอิกยุโรปที่ทวีตัวขึ้นเนื่องจากแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียกับแอฟริกาชนกัน

การระเบิดครั้งแรก ๆ ของทะเลสาบแห่งนี้ ซึ่งเกิดในปลายฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน ส่งผลให้ต้นไม้ราบออกไปถึง 4 กิโลเมตร หินหนืดทำให้เกิดเส้นทางเปิดเข้าสู่พื้นผิวซึ่งปะทุอยู่ราว 10 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มเถ้าถ่านพุ่งขึ้นสูงถึงราว 35 กิโลเมตร การปะทุดำเนินไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ก่อให้เกิดหินตะกอนภูเขาไฟไหลออกมาเป็นทาง พัดพาเทฟราท่วมหุบเขายาวไปถึง 10 กิโลเมตร และที่ใกล้ปล่องภูเขาไฟนั้น มีสิ่งทับถมหนากว่า 50 เมตร และแม้ในจุดที่ห่างออกไป 5 กิโลเมตร ก็ยังหนาถึง 10 เมตร เชื่อว่า พืชและสัตว์ในรัศมีราว 60 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือ และ 40 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะถูกทำลายไปทั้งสิ้น[6] มีการประเมินว่า มีหินหนืดปะทุออกมา 6 ลูกบาศก์กิโลเมตร[7] ซึ่งก่อให้เกิดเทฟราราว 16 ลูกบาศก์กิโลเมตร[8] การปะทุแบบพลิเนียนที่มหาศาลเช่นนี้ มีค่า 6 ตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

เทฟราที่ทับถมขึ้นจากการปะทุนี้ทำให้เกิดเป็นเขื่อนขึ้นในรัฐไรน์ลันท์ โดยเป็นทะเลสาบขนาด 140 ตารางกิโลเมตร เมื่อพื้นที่เขื่อนนั้นแตก น้ำที่ทะลักออกมาก็ไหลไปตามกระแสน้ำ และทิ้งสิ่งทับถมไว้ไกลถึงเมืองบอนน์[7] มีการระบุว่า ผลกระทบเกิดในพื้นที่กว่า 300,000 ตารางกิโลเมตร แผ่ไปตั้งแต่ตอนกลางประเทศฝรั่งเศสจนถึงตอนเหนือประเทศอิตาลี และตอนใต้ประเทศสวีเดนจนถึงประเทศโปแลนด์[9] นอกจากนี้ ยังก่อให้ประเทศเยอรมนีเกิดฤดูร้อนที่หนาวเย็นไปหลายปีและภาวะสิ่งแวดล้อมสับสนถึง 20 ปี สภาพชีวิตของประชากรท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมเฟเดอร์เมสเซอร์ ก็ได้รับความวุ่นวายเช่นกัน ก่อนเกิดการปะทุนั้น คนกลุ่มนี้ดำรงชีพด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์โดยใช้หอกและธนู แต่หลังเกิดการปะทุแล้ว พื้นที่ที่คนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ โดยเฉพาะแอ่งทือริงเงิน ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้ประชากรคนกลุ่มนี้ลดลงอย่างยิ่ง[10]

อนึ่ง เคยมีการอภิปรายว่า การปะทุนี้น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดยังเกอร์ไดรอัส ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนาวเย็นไปทั่วโลกในช่วงใกล้สิ้นยุคน้ำแข็ง เพราะเป็นช่วงเวลาที่ประจวบกันพอดี[11] แต่การลำดับเวลาที่ปรับปรุงใหม่และเผยแพร่ใน ค.ศ. 2021 นั้น แสดงให้เห็นว่า ยังเกอร์ไดรอัสเกิดขึ้นราว 200 ปีหลังการปะทุนี้ จึงน่าจะเป็นไปไม่ได้อีกที่การปะทุนี้จะเป็นสาเหตุของยังเกอร์ไดรอัส[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Oppenheimer, Clive (2011). Eruptions that Shook the World. Cambridge University Press. pp. 216–217. ISBN 978-0-521-64112-8.
  2. de Klerk, Pim; และคณะ (2008). "Environmental impact of the Laacher See eruption at a large distance from the volcano: Integrated palaeoecological studies from Vorpommern (NE Germany)". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology. 270 (1–2): 196–214. Bibcode:2008PPP...270..196D. doi:10.1016/j.palaeo.2008.09.013.
  3. Bogaard, Paul van den (1995). "40Ar/39Ar ages of sanidine phenocrysts from Laacher See Tephra (12,900 yr BP): Chronostratigraphic and petrological significance". Earth and Planetary Science Letters. 133 (1–2): 163–174. Bibcode:1995E&PSL.133..163V. doi:10.1016/0012-821X(95)00066-L.
  4. "Geo-Education and Geopark Implementation in the Vulkaneifel European Geopark/Vulkanland Eifel National Geopark". The Geological Society of America. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2013.
  5. Hull, Edward (1892). Volcanoes: Past and Present (2010 ed.). Echo Library. pp. 73–74. ISBN 9781406868180. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2 December 2021.
  6. Oppenheimer, pp. 216–218
  7. 7.0 7.1 Schmincke, Hans-Ulrich; Park, Cornelia; Harms, Eduard (1999). "Evolution and environmental impacts of the eruption of Laacher See Volcano (Germany) 12,900 a BP". Quaternary International. 61 (1): 61–72. Bibcode:1999QuInt..61...61S. doi:10.1016/S1040-6182(99)00017-8.
  8. P.v.d. Bogaard, H.-U. Schmincke, A. Freundt and C. Park (1989). Evolution of Complex Plinian Eruptions: the Late Quarternary (sic) Laacher See Case History เก็บถาวร 19 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, "Thera and the Aegean World III", Volume Two: "Earth Sciences", Proceedings of the Third International Congress, Santorini, Greece, 3–9 September 1989. pp. 463–485.
  9. Oppenheimer, p. 218.
  10. Oppenheimer, pp. 217–222
  11. Baales, Michael; Jöris, Olaf; Street, Martin; Bittmann, Felix; และคณะ (November 2002). "Impact of the Late Glacial Eruption of the Laacher See Volcano, Central Rhineland, Germany". Quaternary Research. 58 (3): 273–288. Bibcode:2002QuRes..58..273B. doi:10.1006/qres.2002.2379. ISSN 0033-5894. S2CID 53973827. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2022. สืบค้นเมื่อ 13 July 2021.
  12. Reinig, Frederick (30 มิถุนายน 2021), "Precise date for the Laacher See eruption synchronizes the Younger Dryas", เนเจอร์, 595 (7865): 66–69, Bibcode:2021Natur.595...66R, doi:10.1038/S41586-021-03608-XWikidata Q107389873

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]