ลาลบาคจาราชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาลบาคจา ราชา
ขบวนแห่พระคเณศลาลบาคจาราชาไปตามท้องถนนในเทศกาลคเณศจตุรถี
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระคเณศ
เทศกาลคเณโศตสัพ
ที่ตั้ง
รัฐรัฐมหาราษฏระ
ประเทศประเทศอินเดีย
เว็บไซต์
https://lalbaugcharaja.com/en/

ลาลบาคจาราชา (อักษรโรมัน: Lalbaugcha Raja; ราชาแห่งลาลบาค) เป็นเทวรูปพระคเณศประดิษฐานเพื่อให้สาธารณชนบูชาในย่านลาลบาคในนครมุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ในระหว่างเทศกาลคเณศจตุรถี เทวรูปจะประดิษฐานเพื่อ ทรรศน (darsan) แก่สาธุชนนาน 11 วัน ก่อนที่จะอัญเชิญลงละลายน้ำทะเลอาหรับตรงคิรคาวจาวปัตตี ในวันคเณศวิสารชน หรืออนันตจตุรเทศี

เชื่อกันว่าเทวรูปพระคเณศองค์นี้เป็น นวสาจา คณปติ (Navasacha Ganpati, มราฐี: नवसाचा गणपती แปลว่า "ผู้ซึ่งประทานพรให้ชนทั้งปวงสำเร็จ") และมีผู้มาสักการะมากกว่า 1.5 ล้านคนต่อวันในระหว่างสิบวันที่ประดิษฐานในช่วงเทศกาลคเณศจตุรถี[1]

ในปี 2023 การประดิษฐานเทวรูปพระคเณศนี้ได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นปีที่ 90[2] การปฏิบัตินี้ในเทศกาลคเณศจตุรถีมียกเลิกไปครั้งเดียวคือปี 2020 ในช่วงการระบาดของโควิด-19 และผู้จัดหันไปรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันไวรัสชดเชย[3]

เทวรูปพระคเณศนี้ประดิษฐานบน มณฑล ซึ่งเดิมทีรู้จักในขื่อ สารวชนิกคเณศโหตสวมณฑล ลาลบาค ('Sarvajanik Ganeshotsav Mandal, Lalbaug')[4] สร้างขึ้นในปี 1934 ที่ตลาดลาลบาคโดยชาวประมงในชุมชนชาวโกลี[5][6]

ว่ากันว่าสร้างขึ้นตามคำสาบานของพ่อค้าแม่ค้าและชาวประมงที่เดิมเคยทำมาหากินในบริเวณตลาดเปรุจาวล์ (Peru Chawl) ที่ต่อมาถูกปิดตัวลงในปี 1932 พวกเขาได้สวดอ้อนวอนพระคเณศและสาบานว่าหากมีการสร้างตลาดถาวรขึ้นที่นี่ จะสร้างมณฑลขึ้นถวาย ภายใต้ความช่วยเหลือของกุวารจี เชฐาภาอี ชาห์ (Kuwarji Jethabhai Shah) และคณะ เจ้าของที่ดิน ราชาบาอี ตัยยพาลี (Rajabai Tayyabali) ได้มอบที่ดินส่วนหนึ่งสำหรับสร้างตลาดขี้น พ่อค้าและชาวประมงจึงสร้างเทวรูปพระคเณศขึ้นเพื่อถวายบูชา ประดับด้วยเครื่องทรงประดุจชาวประมง

ผู้ดูแลของมณฑลนี้สืบทอดโดยตระกูลเดียวมาแปดทศวรรษ คือตระกูลกัมพลิ (Kambli family)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ganesh Chaturthi 2019: Here's why Lalbaugcha Raja is so popular". www.indulgexpress.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2019.
  2. "Ganesh Chaturthi 2023: Lalbaugcha Raja First Look Unveiled". IndiaTimes (ภาษาIndian English). 16 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2023.
  3. "This Ganesh Utsav, no Lalbaugcha Raja, 10-day Covid campaign instead". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2021.
  4. "Sculptor Ratnakar at his workshop". MiD DAY. Mumbai, India. 29 กันยายน 2004. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012.
  5. "No Lalbaugcha Raja for first time in 86 yrs of its existence". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2020.
  6. "A Behind-the-Scenes Look at How Mumbai's Most Famous Ganesh Mandal, Lalbaugcha Raja, Functions". The Better India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]