ลามาซิอา

พิกัด: 41°22′59″N 2°07′23″E / 41.3831°N 2.1231°E / 41.3831; 2.1231
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลามาซิอา
ลามาซิอาตั้งอยู่ในสเปน
ลามาซิอา
ที่ตั้งภายในสเปน
ข้อมูลทั่วไป
เมืองบาร์เซโลนา
ประเทศสเปน
พิกัด41°22′59″N 2°07′23″E / 41.3831°N 2.1231°E / 41.3831; 2.1231
แล้วเสร็จค.ศ. 1702; 322 ปีที่แล้ว (1702)
ปรับปรุงค.ศ. 1966; 58 ปีที่แล้ว (1966)
เจ้าของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา

ลามาซิอาดากัมปลานัส (กาตาลา: La Masia de Can Planes; แปลว่า บ้านไร่ตระกูลปลานัส) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ลามาซิอา (กาตาลา: La Masia; แปลว่า บ้านไร่)[1] เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกศูนย์ฝึกเยาวชนของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ศูนย์ฝึกเยาวชนแห่งนี้ประกอบด้วยผู้เล่นเยาวชนมากกว่า 300 คน เป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จระดับยุโรปของบาร์เซโลนา และสร้างผู้เล่นระดับโลกหลายคนในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000

ใน ค.ศ. 2010 ลามาซิอากลายเป็นศูนย์ฝึกเยาวชนที่ได้ฝึกซ้อมผู้เข้าชิงบาลงดอร์ทั้ง 3 คนใน 1 ปี ได้แก่ อันเดรส อินิเอสตา, ลิโอเนล เมสซิ และชาบี[2]

ลามาซิอายังเป็นชื่อของสถานที่ฝึกซ้อมของสโมสรบาร์เซโลนาซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ใกล้กัมนอว์ในย่านลัสโกตส์ของเมืองบาร์เซโลนา ตัวอาคารเดิมเป็นบ้านไร่ชนบทโบราณที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1702 และเมื่อกัมนอว์เปิดใช้งานใน ค.ศ. 1957 อาคารแห่งนี้ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่และต่อเติมเพื่อใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของสโมสร ด้วยความที่สโมสรเติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวอาคารจึงเล็กเกินไปสำหรับใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของสโมสร ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ลามาซิอาจึงได้รับการดัดแปลงเป็นหอพักสำหรับผู้เล่นเยาวชนจากนอกเมืองบาร์เซโลนา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2011 ศูนย์ฝึกเยาวชนลามาซิอาปิดตัวลง และนครการกีฬาฌูอัน กัมเป เข้ามาทำหน้าที่เป็นที่พักสำหรับผู้เล่นเยาวชนแทน

ประวัติ[แก้]

ลามาซิอาเป็นบ้านไร่เก่าแก่ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1702 ใน ค.ศ. 1979 สโมสรบาร์เซโลนาใช้บ้านไร่แห่งนี้เป็นที่พักสำหรับนักฟุตบอลเยาวชนที่มาจากนอกเมืองบาร์เซโลนา[3] เฌามา อามัต นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับศูนย์ฝึกเยาวชนต่อโฆเซ ลุยส์ นุญเญซ ซึ่งเป็นประธานสโมสรในขณะนั้น[4] และอูริอ็อล ตอร์ต ได้รับหน้าที่ดูแลสถานที่แห่งนี้[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Price, Sean (6 July 2010). "School of Soccer Champions". Scholastic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2018. สืบค้นเมื่อ 20 August 2010.
  2. totalbarca.com, It’s an all Barça affair at FIFA Ballon d’Or เก็บถาวร 10 ธันวาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Rogers, Iain (22 October 2009). "Barca talent farm marks 30 years of success". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 11 April 2013.
  4. "La Masía nació en un minuto" (PDF). Mundo Deportivo. 22 October 2009. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  5. Genis Sinca. "Oriol Tort, the soul of Barça's Masia". Barcelona Metropolis. Ayuntament de Barcelona. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 October 2014.