ลอรีฌีนดูว์มงด์
ลอรีฌีนดูว์มงด์ | |
---|---|
ศิลปิน | กุสตาฟว์ กูร์แบ |
ปี | 1866 |
สื่อ | สีน้ำมันบนผ้าใบ |
มิติ | 46 cm × 55 cm (18 นิ้ว × 22 นิ้ว) |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์ออร์แซ ปารีส |
ลอรีฌีนดูว์มงด์ (ฝรั่งเศส: L'Origine du monde; "ต้นกำเนิดของโลก") เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบโดยกุสตาฟว์ กูร์แบ ศิลปินชาวฝรั่งเศส เขียนขึ้นในปี 1866 แสดงภาพใกล้ของสตรีเปลือยส่วนช่องคลอดและท้องขณะนอนถ่างขาบนเตียง
ประวัติศาสตร์
[แก้]ตัวตนของนางแบบในภาพ
[แก้]ตัวตนของนางแบบในภาพเป็นที่สนใจในหมู่นักประวัติศาสตร์ศิลป์มาโดยตลอด ส่วนใหญ่เชื่อว่านางแบบคือโจแอนนา ฮิฟเฟอร์นัน หรือโจ นางแบบคนโปรดของกูร์แบ ซึ่งเป็นคู่รักของเจมส์ วิสเลอร์ ศิลปินชาวอเมริกันและเพื่อนของกูร์แบ[1] ฮิฟเฟอร์นันเคยปรากฏเป็นนางแบบในชุดภาพเขียนสี่ภาพของกูร์แบ ชื่อ โจ ลาแบลีร์ล็องแดซ ("โจ โฉมงามชาวไอริช") เขียนขึ้นในปี 1865–1866 จึงมีความเป็นไปได้มากว่าเธอจะเป็นนางแบบในภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ เช่นกัน[2][3] นอกจากนี้ยังมีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเธออาจมีความสัมพันธ์กับกูร์แบ จนนำไปสู่การตัดขาดระหว่างกูร์แบกับวิสเลอร์ไม่นานจากนั้น[4] อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเธอเป็นสตรีผมแดง จึงไม่น่ามีขนอวัยวะเพศสีดำดังที่เห็นในภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 ปารีมัตช์ รายงานว่า ฌ็อง-ฌัก แฟร์นีเย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกูร์แบ ระบุว่าสามารถยืนยันภาพเขียนที่เป็นท่อนบนของภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ บางส่วนระบุว่านี่เคยเป็นภาพเดียวกันมาก่อนที่จะถูกแยกจากกัน แฟร์นีเยสรุปผลการศึกษาดังกล่าวหลังใช้เวลาสองปี และเสนอให้ใส่ภาพส่วนท่อนบนประกอบไปด้วยในกาตาลอกแรซอเนของกูร์แบในฉบับถัดไป[2][5] ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงภาพ ระบุว่า ลอรีฌีนดูว์มงด์ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพชิ้นที่ใหญ่กว่า[6] เดอะเดลีเทลิกราฟ รายงานว่า "ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยการา (ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยศิลปะและโบราณคดี) สามารถปะติดปะต่อภาพเขียนทั้งสองโดยใช้ร่องที่มาจากกรอบไม้เดิมและเส้นบนผ้าใบ ซึ่งตรงกันทั้งสองภาพ"[2] แต่การาไม่ได้รายงานข้อสรุปอื่นใดเกี่ยวกับภาพเขียนอีก[7]
มีนักวิจารณ์ศิลปะบางส่วนเชื่อว่าภาพนี้เป็นภาพเขียนจากศพของสตรีมากกว่านางแบบที่ยังมีชีวิตอยู่[8]
เจ้าของ
[แก้]เชื่อกันว่าฮาลิล เชริฟ พาชา (ฮาลิลเบย์) ทูตชาวออตโตมันเป็นผู้จ้างกูร์แบให้สร้างภาพเขียนนี้ขึ้นไม่นานหลังพาชาย้ายไปอาศัยในปารีส โดยชาร์ล โอกุสแต็ง แซ็งต์-เบิฟว์ เป็นผู้แนะนำทั้งสองให้รู้จักกัน พาชาตั้งใจจะเก็บภาพเขียนเข้าชุดสะสมภาพเขียนแนวกามวิสัยของเขา ซึ่งมีผลงานชิ้นอื่น ๆ เช่น เลอแบ็งตูร์ก ("โรงอาบน้ำตุรกี") โดยฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ และ เลอซอแมย์ ("ผู้หลับใหล") ของกูร์แบเอง[9]
ภายหลังพาชาสูญเสียเงินจากการพนัน ภาพเขียนได้ถูกส่งต่อเป็นของสะสมส่วนบุคคลเรื่อยมา พาชาขายภาพนี้ครั้งแรกในปี 1868 โดยมีผู้ซื้อคืออ็องตวน เดอ ลา นาร์ด พ่อค้าของโบราณผู้ซึ่งต่อมาได้ขายให้แก่แอดมง เดอ กงกูร์ ในปี 1889 ตามด้วยบารอนแฟแร็นตส์ ฮ็อตว็อญ นักสะสมชาวฮังการี ซื้อภาพเขียนนี้จากหอศิลป์แบร์นายม์-เฌินในปี 1910 และนำกลับไปบูดาเปสต์ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพเขียนถูกกองทัพโซเวียตขโมยไป แต่ฮ็อตว็อญได้จ่ายค่าไถ่ขอภาพคืนมาก่อนจะนำภาพเขียนออกจากประเทศฮังการีในปี 1947 ไปยังปารีส[10]
ในปี 1955 ลอรีฌีนดูว์มงด์ ได้รับการประมูลไปด้วยมูลค่า 1.5 ล้านฟรังก์ (4,285 ดอลลาร์สหรัฐในเวลานั้น)[11] โดยฌัก ลาก็อง นักจิตวิเคราะห์ และนำไปแขวนไว้ในบ้านพักที่กีทร็องกูร์[12][13]
หลังลาก็องเสียชีวิตในปี 1981 รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของฝรั่งเศสได้รับภาพเขียนนี้แลกกับภาษีมรดกของลาก็อง (กระบวนการซึ่งเรียกว่า Dation en paiement ในกฎหมายฝรั่งเศส) ต่อมาภาพเขียนได้รับการจัดแสดงและเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑ์ออร์แซนับตั้งแต่ปี 1995 ถึงปัจจุบัน[9]
ความปลุกปั่น
[แก้]ในศตวรรษที่ 19 ได้เกิดการปฏิวัติการจัดแสดงภาพเปลือยบุคคล นำโดยกูร์แบและเอดัวร์ มาแน
ถึงแม้ความตื่นเต้นและปลุกปั่นของภาพเปลือยจะลดลงนับตั้งแต่ยุคของกูร์แบ อันเป็นผลจากวิวัฒนาการของการถ่ายภาพและภาพยนตร์ แต่เมื่อภาพมาถึงที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซก็ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก รายงานการขายโปสต์การ์ดของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ออร์แซระบุว่าโปสต์การ์ดภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ มีคนซื้อไปมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต ของปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์[14]
อิทธิพล
[แก้]ความโจ่งแจ้งของภาพอาจเป็นแรงบันดาลใจของผลงานชิ้นสำคัญสุดท้ายของมาร์แซล ดูว์ช็อง ในชื่อ เอต็องดอเน (1946–1966)[15]
ในปี 1989 ออร์ล็อง ศิลปินชาวฝรั่งเศส สร้างผลงานชีบาโครม ลอรีฌีนเดอลาแกร์ ("ต้นกำเนิดของสงคราม") ซึ่งเป็นภาพล้อเลียนในรูปแบบผู้ชาย แสดงองคชาตแข็งตัวแทน[16]
ในปี 2004 อานิช กปูร จัดแสดงผลงานติดตั้งชื่อ ลอรีฌีนดูว์มงด์ ซึ่งตั้งตามผลงานของกูร์แบ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด คานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น[17]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เฟซบุ๊กเซ็นเซอร์ภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ ซึ่ง Frode Steinicke ศิลปินชาวโคเปนเฮเกนโพสต์เพื่อใช้แทนความเห็นของเขาต่อรายการโทรทัศน์ทางช่อง DR2 หลังเกิดเหตุการณ์ได้มีการเคลื่อนไหวออนไลน์โดยมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งเปลี่ยนรูปโพรไฟล์ตนเป็นรูปของภาพเขียนนี้เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกับ Steinicke ซึ่งในตอนนั้นถูกเฟซบุ๊กระงับการใช้งานบัญชี ท้ายที่สุดเฟซบุ๊กถอนการระงับบัญชี แต่ยังคงดำเนินการลบหน้าที่มีภาพเขียนนี้ออกต่อไป[18][19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jones, Jonathan (25 September 2018). "Who posed for the 'Mona Lisa of vaginas'?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2018-10-05.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Henry Samuel (7 February 2013). "Amateur art buff finds £35 million head of Courbet masterpiece". The Daily Telegraph.
- ↑ Noël, Benoit; Hournon, Jean (2006). "Gustave Courbet – L'Origine du Monde, 1866". Parisiana – La capitale des peintres au XIXème siècle (ภาษาฝรั่งเศส). Les Presses Franciliennes. p. 37. ISBN 9782952721400.
- ↑ Dorothy M. Kosinski (1988). "Gustave Courbet's The Sleepers The Lesbian Image in Nineteenth Century French Art and Literature". Artibus et Historiae, Vol. 9, No. 18 , p.187
- ↑ "L'Origine du monde: Le secret de la femme cachée". Paris Match (ภาษาฝรั่งเศส). 7 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-15. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
- ↑ "Has the head of The Origin of the World been found?". The Telegraph. 10 February 2013. สืบค้นเมื่อ 11 February 2013.
- ↑ "Summary of analytical report – Painting on canvas, portrait of a woman" เก็บถาวร 2015-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Centre d'Analyses et de Recherche en Art et Archéologie, 7 February 2013
- ↑ Uparella & Jauregui 2018, p. 95.
- ↑ 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDB
- ↑ Konstantin Akinsha (1 February 2008). "The Mysterious Journey of an Erotic Masterpiece". ARTnews.
- ↑ "Measuring Worth – Relative Worth Comparators and Data Sets". www.measuringworth.com.
- ↑ Lacan and the Matter of Origins by Shuli Barzilai, p. 8
- ↑ "courbet – origin of the world". www.lacan.com.
- ↑ Hutchinson, Mark (8 August 2007). "The history of The Origin of the World". The Times Literary Supplement. London.
- ↑ "Femalic Molds", The Marcel Duchamp Studies Online Journal (toutfait.com), 1 April 2003/5 May 2016
- ↑ "ORLAN: L'origine de la Guerre". The Eye of Photography. 21 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2018-10-22.
- ↑ "金沢21世紀美術館". 金沢21世紀美術館.
- ↑ Emily Greenberg "Facebook, Censorship and Art" เก็บถาวร 2011-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Cornell Daily Sun, 8 March 2011
- ↑ Dépêche AFP du 17/02/10 "L'Origine du monde de Courbet interdit de Facebook pour cause de nudité"
บรรณานุกรม
[แก้]- Dagen, Philippe (21 June 1995). "Le Musée d'Orsay dévoile L'Origine du monde". Le Monde.
- Dagen, Philippe (22 October 1996). "Sexe, peinture et secret". Le Monde.
- Du Camp, Maxime (1878). Les Convulsions de Paris (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. Volume II: Épisodes de la Commune. Paris: Hachette.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - Lechien, Isabelle Enaud. James Whistler. ACR Édition.
- Guégan, Stéphane; Michèle Haddad. L'ABCdaire de Courbet. Flammarion.
- Noiville, Florence (25 March 1994). "Le retour du puritanisme". Le Monde.
- Savatier, Thierry (2006). L'Origine du monde, histoire d'un tableau de Gustave Courbet. Paris: Bartillat.
- Schlesser, Thomas (2005). "L'Origine du monde". Dictionnaire de la pornographie. Paris: Presses Universitaires de France.
- Teyssèdre, Bernard (1996). Le roman de l'Origine. Paris: Gallimard.
- Uparella, Paola; Jauregui, Carlos A. (2018). "The Vagina and the Eye of Power (Essay on Genitalia and Visual Sovereignty)". H-Art. 3 (3): 79–114. doi:10.25025/hart03.2018.04.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Musée d'Orsay: L'Origine du monde เก็บถาวร 2016-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาอังกฤษ)
- Musée d'Orsay: L'Origine du monde (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Musée d'Orsay: L'Origine du monde – Notice d´Oeuvre (ในภาษาฝรั่งเศส)
- News from CARAA (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Conference from Musée d'Orsay (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Composition เก็บถาวร 2019-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of L'Origine du monde
- 2018 BBC story