ร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย (อังกฤษ: Research Works Act) รหัส 102 เอช.อาร์. 3699 (102 H.R. 3699) เป็นร่างรัฐบัญญัติซึ่งเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ในคราวประชุมรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 112 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี 2554 ผู้เสนอคือ ดาร์เรลล์ อิสสา (R-CA) ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ร่วมสนับสนุนคือ คาร์โรไลน์ บี. มาโลนีย์ (D-NY)[1] ร่างรัฐบัญญัติมีบทบัญญัติห้ามออกคำสั่งให้เข้าได้อย่างเสรีซึ่งงานวิจัยที่รัฐบาลกลางให้ทุน[2] ร่างรัฐบัญญัตินี้ยังจะมีผลเป็นการคว่ำ[3] นโยบายของสถาบันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ[4] ซึ่งบังคับให้งานวิจัยที่ใช้เงินทุนจากผู้เสียภาษีสามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์โดยปราศจากค่าใช้จ่าย[5] หากออกกฎหมายนี้แล้ว ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะถูกจำกัดอย่างมาก[6] อนึ่ง มีการร่างรัฐบัญญัติทำนองเดียวกันนี้แล้วหลายครั้งด้วยกัน ทั้งในปี 2551[7] และ 2552[8] แต่ยังมิเคยตราเป็นกฎหมายสักฉบับ[9]

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์  2555 แอ็ลเซอเฟียร์ สำนักพิมพ์รายใหญ่ ประกาศเลิกสนับสนุนร่างรัฐบัญญัตินี้[10] วันเดียวกันนั้น อิสสาและมาโลนีย์ออกแถลงการณ์ว่า จะไม่ผลักดันกระบวนการนิติบัญญัติเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้อีก[11]

การยอมรับ[แก้]

ร่างรัฐบัญญัติได้รับการสนับสนุนจาก Association of American Publishers (AAP)[12] และสหพันธ์ลิขสิทธิ์[13]

ฝ่ายตรงข้ามได้เน้นย้ำผลกระทบต่อ สภาพพร้อมใช้งานสาธารณะขอผลงานวิจัยด้านชีวการแพทย์ เช่นที่ได้รับทุนจากเงินช่วยเหลือของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ โดยบอกว่าภายใต้ร่างรัฐบัญญัตินี้ "ผู้เสียภาษีซึ่งเป็นผู้ออกเงินในการวิจัยจะต้องจ่ายเงินอีกครั้งเพื่ออ่านผลของการวิจัย"[14] ไมค์ เทย์เลอร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลกล่าวว่าการปิดกั้นของการเข้าถึงงานวิจัยวิทยาศาสตร์อาจทำให้เกิด "การตายที่หลีกเลี่ยงได้ ในประเทศกำลังพัฒนา"  และ "ผลเสียต่อวิทยาศาสตร์อย่างไม่สามารถประเมินค่าได้" นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่าผู้แทนทั้งสอง ได้แก่ อิสสา และ มาโลนีย์ นั้นมีแรงจูงใจจากเงินบริจาคที่ได้รับจากแอ็ลเซอเฟียร์ [15]

คำร้องทุกข์ออนไลน์ – ค่าความรู้– ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากนักคณิตศาสตร์และผู้ครอบครองเหรียญฟิลด์สชาวอังกฤษที่ชื่อว่า ทิโมธี โกเวอส์ เพื่อเพิ่มความตระหนักต่อร่างรัฐบัญญัติ เพื่อเรียกรืองให้ลดราคาของวารสารทางวิชาการ และเพื่อส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรี  ได้รับการลงนามจากนักวิชาการมากกว่า 10,000 คน[16] ผู้ลงนามสัญญาว่าจะถอนการสนับสนุนต่อวารสารแอ็ลเซอเฟียร์ ไม่ว่าจะเป็นทางการช่วยแก้ไข ทบทวน หรือส่งบทความ "จนกว่าทางบริษัทจะเปลี่ยนวิธีบริหาร" ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 แอ็ลเซอเฟียร์ได้ประกาศยกเลิกสนับสนุนร่างรัฐบัญญัติ โดยอ้างถึงความกังวลจากผู้ทบทวน ผู้เขียน และผู้แก้ไขวารสาร[17] ขณะที่ผู้ร่วมลงชื่อในการคว่ำบาตรเฉลิมฉลองการถอนตัวของแอ็ลเซอเฟียร์จากร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย[18] แอ็ลเซอเฟียร์เองได้ปฏิเสธว่าการกระทำนี้เป็นผลมาจากการคว่ำบาตร และอธิบายว่าพวกเขาทำไปเพราะได้รับคำร้องขอจากนักวิจัยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการคว่ำบาตรครั้งนี้[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. H.R. 3699
  2. Joseph, Heather (January 6, 2012).
  3. Trying to roll back the clock on Open Access เก็บถาวร 2012-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน statement by the American Library Association that "vehemently oppose[e]d the bill".
  4. "NIH Public Access Policy Details". nih.gov.
  5. Dobbs, David (January 6, 2012).
  6. Piwowar, Heather.
  7. Peter Suber (October 2, 2008).
  8. Peter Suber (March 2, 2009).
  9. Rosen, Rebecca J. (January 5, 2012).
  10. Elsevier withdraws support for the Research Works Act
  11. Howard, Jennifer (February 27, 2012).
  12. Sporkin, Andi (December 23, 2011).
  13. "Statement from Copyright Alliance Executive Director Sandra Aistars, Re: Introduction of H.R. 3699, the Research Works Act". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  14. Eisen, Michael (January 10, 2012).
  15. Taylor, Mike (16 January 2011).
  16. "The Cost of Knowledge".
  17. "Elsevier withdraws support for the Research Works Act".
  18. Doctorow, Cory (28 February 2012).
  19. Howard, Jennifer (27 February 2012).