ร่องดักหมึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร่องดักหมึกใน Bell Centennial ของ แมทธิว คาร์เตอร์ ร่องดักหมึกจะมองเห็นได้น้อยลงมากบนกระดาษที่พิมพ์แล้ว

ร่องดักหมึก (อังกฤษ: ink trap) เป็นคุณลักษณะของ ไทป์เฟซบางแบบที่ออกแบบมาเพื่อการพิมพ์ในขนาดที่เล็ก ร่องดักหมึกทำงานโดยการลดทอนมุมหรือรายละเอียดของรูปแบบตัวอักษรออก เมื่อพิมพ์ไทป์เฟซนั้นออกมา หมึกก็จะกระจายไปยังบริเวณที่ถูกลดทอนออกในก่อนหน้านี้ หากไม่มีร่องดักหมึก หมึกส่วนเกินอาจจะซึมออกไปด้านนอกและทำลายความคมชัดของขอบตัวอักษร[1]

ร่องดักหมึกจำเป็นสำหรับขนาดจุดเล็กเท่านั้น และมักจะพบเฉพาะบนไทป์เฟซที่ออกแบบมาสำหรับการพิมพ์บนกระดาษหนังสือพิมพ์เท่านั้น ไทป์เฟซประเภทนี้ใช้ได้กับโฆษณาในช่องหนังสือหรือสมุดโทรศัพท์ ไทป์เฟซที่มีร่องดักหมึกอาจมีเวอร์ชันที่ไม่มีสำหรับแสดงบนหน้าจอหรือในขนาดที่ใหญ่กว่า

ตัวอย่างไทป์เฟซที่มีร่องดักหมึก เช่น Retina, Bell Centennial, Tang[2] และ K2D[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Heller, Steven; Pettit, Elinor (1998). Design dialogues. Allworth Communications, Inc. p. 32. ISBN 978-1-58115-007-0.
  2. Haaparanta, Tomi (2004). "This is Tang!". Suomi Type Foundry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-13. สืบค้นเมื่อ 11 July 2013.
  3. "K2D Specimen". สืบค้นเมื่อ 17 April 2024.