รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
หน้าตา
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน | |
---|---|
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสองแบบ | |
ชนิด | รูปสี่เหลี่ยม, พีระมิดคู่ |
ขอบและจุดยอด | 4 |
สัญลักษณ์ชเลฟลี | { } + { } |
ค็อกซีเตอร์-ดืยน์กิน | |
กรุปสมมาตร | Dih2, [2], (*22) |
พื้นที่ | |
รูปหลายเหลี่ยมคู่กัน | สี่เหลี่ยมมุมฉาก |
สมบัติ | รูปหลายเหลี่ยมนูน |
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในทางเรขาคณิต คือ รูปสี่เหลี่ยมที่มีความยาวของด้านทุกด้าน ยาวเท่ากัน มุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน 2 คู่ ด้านตรงข้ามขนานกัน และมุมภายในแต่ละมุมไม่เป็นมุมฉาก[1][2] โดยอาจเรียกชื่อสี่เหลี่ยมนี้ได้ว่า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด[3]
สมบัติ
[แก้]- ความยาวของด้านยาวเท่ากันหมดทุกด้าน
- ด้านตรงข้ามขนานกัน
- เส้นทแยงมุมยาวไม่เท่ากัน แต่แบ่งครึ่งซึ่งกันและกันและตัดกันเป็นมุมฉาก
- มุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน[4]
การหาพื้นที่
[แก้]- การหาพื้นที่โดยใช้ความยาวของด้าน
การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนโดยใช้ความสูงของรูปสี่เหลี่ยมคูณกับความยาวของฐานรูปสี่เหลี่ยม[5] ซึ่งจะได้สูตรดังนี้
- โดย K แทนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, a แทนความยาวฐาน และ h แทนความสูง
- การหาพื้นที่โดยใช้เส้นทแยงมุม
การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนโดยใช้ผลคูณเส้นทแยงมุมที่ตัดกันเป็นมุมฉากสองเส้นคูณกับ 12[5] ซึ่งจะได้สูตรดังนี้
- 12 x ผลคูณของเส้นทแยงมุม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (rhombus), รูปสี่เหลี่ยม (quadrilateral), ทรูปลูกปัญญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.
- ↑ "รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, รูปสี่เหลี่ยม, เรขาคณิต, สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.
- ↑ "ขนมเปียกปูน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
- ↑ คุณสมบัติรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สมบัติของรูปเรขาคณิต, Learners.in.th[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 "การหาพื้นที่และปริมาตร, เอกสารอบรมครู (หลักสูตรกลาง) ในโครงการความร่วมมือ สกอ. - สพฐ. - สสวท. 2550-2554, สสวท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.