รายพระนามเทพเจ้าอียิปต์โบราณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Painted relief of a seated man with green skin and tight garments, a man with the head of a jackal, and a man with the head of a falcon
เทพโอซิริส, เทพอะนูบิส และเทพฮอรัสบนหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ (เควี 57) ในหุบเขากษัตริย์

เทพเจ้าอียิปต์โบราณเป็นส่วนประกอบสำคัญของศาสนาอียิปต์โบราณและได้รับการบูชามานับพันปี เทพเจ้าหลายพระองค์ทรงเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทั้งทางธรรมชาติและสังคม รวมถึงแนวคิดนามธรรม[1] เทพและเทพีได้ปรากฏในแทบทุกด้านของอารยธรรมอียิปต์โบราณ และเทพเจ้ามากกว่า 1,500 พระองค์เป็นที่รู้จักกันในพระนาม บันทึกอียิปต์หลายฉบับกล่าวถึงพระนามของเทพเจ้าโดยไม่ระบุลักษณะหรือบทบาทของเทพ ในขณะที่บันทึกอื่นๆ ได้กล่าวถึงเทพเจ้าโดยเฉพาะเจาะจงโดยไม่ระบุพระนาม ดังนั้น รายพระนามเทพเจ้าทั้งหมดจึงยากที่จะรวบรวม[2]

รายพระนามเทพเจ้าที่สำคัญ[แก้]

A[แก้]

B[แก้]

  • บาสเทต – เทพีที่ทรงแสดงรูปกายเป็นแมวหรือสิงโต ผู้ทรงอุปถัมภ์เมืองบูบัสทิส ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปกป้องจากความชั่วร้าย[12]
  • บาต – เทพีโคจากตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์อียิปต์ และในที่สุดก็เทพีฮัตฮอร์ก็เข้ามาแทนพระองค์ในช่วงหลัง[13]
  • เบนนู – เทพสุริยะและผู้สร้าง ทรงปรากฎกายเป็นนกกระสา[14]

G[แก้]

H[แก้]

  • ฮาปิ – ทรงเป็นบุคลาธิษฐานของน้ำท่วมแม่น้ำไนล์[16]
  • ฮัตฮอร์ (อียิปต์: Het-Hert) – หนึ่งในเทพีที่สำคัญที่สุด มีความเกี่ยวข้องกับท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ เพศวิถีและการเป็นมารดา ดนตรีและการเต้นรำ ดินแดนต่างประเทศและสินค้า และชีวิตหลังความตาย ทรงเป็นหนึ่งในหลายรูปจำแลงแห่งพระเนตรแห่งรา[17]
  • ฮัตเมฮิต - เทพีแห่งปลา
  • เฮห์ – ทรงเป็นบุคลาธิษฐานของความไม่เป็นที่สิ้นสุดและทรงเป็นเทพสมาชิกแห่งอ็อกโดอัด[18]
  • เฮเกต – เทพีแห่งกบที่กล่าวกันว่าทรงปกป้องสตรีในการให้กำเนิดบุตร[19]
  • เฮซัต – เทพีแม่โค[20][21]
  • ฮอรัส – เทพเจ้าพระองค์สำคัญ มักจะแสดงรูปกายเป็นเหยี่ยวหรือมนุษย์ ทรงเชื่อมโยงกับท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ ความเป็นกษัตริย์ การคุ้มครอง การรักษา มักกล่าวกันว่าเป็นพระโอรสของเทพโอซิริสและเทพีไอซิส[22]

I[แก้]

  • ไอซิส – พระมเหสีของเทพโอซิริส และพระมารดาของเทพฮอรัส ซึ่งทรงเชื่อมโยงกับพิธีศพ ความเป็นมารดา การปกป้อง และเวทมนตร์ พระองค์ทรงกลายเป็นเทพีพระองค์สำคัญในศาสนากรีกและโรมัน[25]

K[แก้]

  • เคก – เทพเจ้าแห่งความโกลาหลและความมืด และทรงเป็นแนวคิดของความมืดในยุคปฐมกาล ทรงมีรูปกายสตรีที่เรียกว่า คาอูเคต
  • เคปริ – เทพเจ้าผู้สร้างดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกมองว่าเป็นร่างยามเช้าของเทพราและทรงเป็นรูปตัวแทนของแมลงสคารับ[26]
  • คนุม (คเนมู) – เทพผู้ทรงอุปถัมภ์ของเมืองเอลิเฟนไทน์ พระองค์ซึ่งกล่าวกันว่าทรงเป็นผู้ควบคุมน้ำท่วมแม่น้ำไนล์และให้ชีวิตแก่เทพเจ้าและมนุษย์[27][28]
  • คอนซู – เทพแห่งดวงจันทร์ พระโอรสของเทพอามุนและเทพีมุต[29]

M[แก้]

  • มาอาเฮส (มาเฮส, มิฮอส) – เทพสิงโต พระโอรสของเทพีบาสเทต[30][24][6]
  • มาอัต – เทพีผู้ทรงเป็นความจริง ความยุติธรรม และความเป็นระเบียบ[31]
  • เมนฮิต – เทพีสิงโต[32]
  • มอนทู – เทพเจ้าแห่งสงครามและดวงอาทิตย์ ซึ่งบูชาที่ธีบส์[33]
  • มุต – พระมเหสีของเทพอามุน ซึ่งบูชาที่ธีบส์[34]

N[แก้]

  • เนเฟอร์ตุม - เทพเจ้าแห่งดอกบัวบานในช่วงเริ่มต้นของวันเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น พระโอรสของเทพพทาห์และเทพีเซคเมต[35]
  • นิอิธ – เทพผู้สร้างและนักล่า ผู้ทรงอุปถัมภ์เมืองซาอิสในอียิปต์ล่าง[36]
  • เนคเบต (เนเคบิต) – เทพีอีแร้ง เทพีผู้ทรงปกครองแห่งอียิปต์บน[37]
  • เนมติ – เทพเจ้านกเหยี่ยว ได้รับการบูชาในอียิปต์กลาง[38] ซึ่งปรากฏในตำนานว่าเป็นเรือข้ามฟากเพื่อไปหาเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่กว่า[39]
  • เนเพอร์ – เทพเจ้าแห่งธัญพืช[40]
  • เนปธิส (อียิปต์: Nebet-Het) ทรงเป็นเทพสมาชิกพระองค์หนึ่งแห่งเอนนีด ซึ่งเป็นพระมเหสีของเทพเซธ ผู้ซึ่งไว้อาลัยแด่เทพโอซิริสร่วมกับเทพีไอซิส[41]
  • เนพิต – เทพีแห่งธัญพืช ทรงเป็นเทพีคู่กับเทพเนเพอร์[42]
  • นู (นูน) – ทรงเป็นบุคลาธิษฐานของความไร้รูปร่าง ความวุ่นวายของน้ำเมื่อโลกถือกำเนิดขึ้น และทรงเป็นเทพสมาชิกแห่งอ็อกโกอัด[43]
  • นุต – เทพีแห่งท้องฟ้า และทรงเป็นเทพสมาชิกแห่งเอนนีด[44]

O[แก้]

  • โอซิริส – เทพแห่งความตายและการฟื้นคืนชีพ ผู้ทรงปกครองยมโลกและชุบชีวิตพืชพันธุ์ เทพแห่งดวงอาทิตย์ และวิญญาณผู้ล่วงลับ[45]

P[แก้]

  • พาเคต – เทพธิดาสิงโตที่ส่วนใหญ่บูชาในบริเวณรอบ ๆ บริเวณบะนิ ฮะซัน[46]
  • พทาห์ – เทพผู้สร้างและเทพแห่งช่างฝีมือ เทพผู้ทรงอุปถัมภ์แห่งเมมฟิส[47]

R[แก้]

  • รา (เร) – เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ที่สำคัญที่สุดของอียิปต์ มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างและชีวิตหลังความตาย ทรงเป็นผู้ปกครองเทพเจ้าในตำนาน พระบิดาแห่งฟาโรห์อียิปต์ทุกพระองค์ และเทพเจ้าผู้ทรงอุปถัมภ์แห่งเฮลิโอโพลิส[48]
  • เรเนนูเทต – เทพีแห่งเกษตรกรรม[49]

S[แก้]

  • ซาเทต – เทพีแห่งดินแดนชายแดนทางใต้ของอียิปต์[6][50]
  • เซคเมต – เทพสตรีที่ทรงมีทั้งพลังทำลายล้างและรุนแรง รวมถึงสามารถปัดเป่าโรคร้ายได้ ทรงเป็นผู้พิทักษ์แห่งฟาโรห์ที่นำพระองค์เข้าสู่สงคราม เป็นพระมเหสีของเทพพทาห์ และทรงเป็นหนึ่งในหลายรูปจำแลงแห่งพระเนตรแห่งรา[51]
  • เซธ – ทรงเป็นเทพเจ้าที่ทรงลึกลับ ซึ่งโดดเด่นด้วยความรุนแรง ความโกลาหล และพละกำลัง พระองค์ทรงเกี่ยวข้องกับทะเลทราย และทรงเป็นผู้สังหารเทพโอซิริสในตำนานและทรงเป็นศัตรูของเทพฮอรัส แต่ยังทรงเป็นผู้สนับสนุนกษัตริย์อีกด้วย[52]
  • ชู – ทรงเป็นบุคลาธิษฐานของลมหรืออากาศ และทรงเป็นเทพสมาชิกแห่งเอนนีด[53]
  • โซเบค – เทพเจ้าจระเข้ ซึ่งบูชาที่ฟัยยูมและที่คอม ออมโบ[54]
  • ซอปดู – เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและดินแดนชายแดนตะวันออกของอียิปต์[55]

T[แก้]

W[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Allen 2000
  2. Wilkinson 2003, pp. 6–7, 73
  3. 3.0 3.1 Hart 2005, p. 11
  4. Hart 2005, pp. 13–22
  5. Hart 2005, pp. 113–114
  6. 6.0 6.1 6.2 "Gods of Egypt". www.touregypt.net (in Russian).
  7. 7.0 7.1 Petry (1994). The Egyptian gods. p. 127.
  8. Hart 2005, pp. 25–28
  9. Hart 2005, pp. 28–29
  10. Hart 2005, pp. 34–40
  11. Hart 2005, pp. 40–42
  12. Hart 2005, pp. 45–47
  13. Hart 2005, pp. 47–48
  14. Hart 2005, p. 48
  15. Hart 2005, pp. 58–60
  16. Hart 2005, p. 61
  17. Hart 2005, pp. 61–65
  18. Hart 2005, p. 66
  19. Hart 2005, pp. 67–68
  20. Wilkinson 2003, pp. 173–174
  21. Coulter, Charles Russell; Turner, Patricia (2000). Encyclopedia of ancient deities. Chicago: Fitzroy Dearborn. ISBN 1-57958-270-2.
  22. Hart 2005, pp. 70–76
  23. Wilkinson 2003, pp. 145–146
  24. 24.0 24.1 "GVC09-24: Mystical creatures and gods -Egyptian". winners.virtualclassroom.org.
  25. Hart 2005, pp. 79–83
  26. Hart 2005, pp. 84–85
  27. Hart 2005, pp. 85–86
  28. Mark, Joshua J. "Egyptian Gods - The Complete List". World History Encyclopedia.
  29. Hart 2005, pp. 86–88
  30. Hart 2005, p. 92
  31. Hart 2005, pp. 89–90
  32. Wilkinson 2003, p. 179
  33. Hart 2005, pp. 96–97
  34. Hart 2005, pp. 97–99
  35. Hart 2005, p. 99
  36. Hart 2005, pp. 100–101
  37. Hart 2005, pp. 101–102
  38. Hart 2005, p. 23
  39. Wilkinson 2003, p. 204
  40. Hart 2005, p. 102
  41. Hart 2005, pp. 102–103
  42. Porter & Moss 1991, pp. 76
  43. Hart 2005, pp. 109–110
  44. Hart 2005, pp. 110–112
  45. Hart 2005, pp. 114–124
  46. Hart 2005, p. 125
  47. Hart 2005, pp. 128–131
  48. Hart 2005, pp. 133–135
  49. Hart 2005, pp. 135–137
  50. Hart 2005, pp. 140–141
  51. Hart 2005, pp. 138–139
  52. Hart 2005, pp. 143–145
  53. Hart 2005, p. 147
  54. Hart 2005, p. 148
  55. Hart 2005, p. 151
  56. Hart 2005, p. 154
  57. Hart 2005, p. 156
  58. Hart 2005, pp. 156–159
  59. Hart 2005, p. 161
  60. Hart 2005, p. 162
  61. Hart 2005, p. 164

บรรณานุกรม[แก้]

  • Allen, James P. (2000). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs. Cambridge University Press. ISBN 0-521-77483-7.
  • Hart, George (2005). The Routledge Dictionary of Egyptian Gods and Goddesses, Second Edition. Routledge. ISBN 0-203-02362-5.
  • Porter, Bertha; Moss, Rosalind (1991). Topographical Bibliography of Ancient Egyptian Hieroglyphic Texts, Reliefs, and Paintings. Griffith Institute, Ashmolean Museum Oxford. ISBN 978-0900416828.
  • Wilkinson, Richard H. (2003). The Complete Gods and Goddesses of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 0-500-05120-8.
  • Lorton, Claude Traunecker. Transl. from the French by David (2001). The gods of Egypt (1st English-language edn, enhanced and expanded). Ithaca, N.Y [u.a.]: Cornell University Press. ISBN 0-8014-3834-9.
  • Budge, Sir Ernest A. Wallis (2010). An Egyptian hieroglyphic dictionary (in two volumes, with an index of English words, king list and geographical list with indexes, list of hieroglyphic characters, Coptic and Semitic alphabets). New York: Cosimo Classics. ISBN 978-1-61640-460-4.
  • "Aswan History Facts and Timeline: Aswan, Egypt". http://www.world-guides.com/africa/egypt/aswan/aswan_history.html.
  • Petry, Alan W. Shorter; with a new bibliography by Bonnie L. (1994). The Egyptian gods : a handbook (rev. edn). San Bernardino (Calif.): The Borgo Press. ISBN 0-89370-535-7.
  • "Gods of Egypt". http://www.touregypt.net/godsofegypt/.
  • Willockx, Sjef. "Amentet, Andjeti and Anubis: Three Ancient Egyptian Gods (2007)".
  • Mark, Joshua J. "Egyptian Gods - The Complete List". https://www.worldhistory.org/article/885/egyptian-gods---the-complete-list/.
  • Nelson, Thomas (2017). The Woman's Study Bible: Receiving God's Truth for Balance, Hope, and Transformation. Biblica, Inc.
  • "GVC09-24: Mystical creatures and gods -Egyptian". [1]
  • Durdin-Robertson, Lawrence (1979). Communion With The Goddess: Idols, Images, and Symbols of the Goddesses; Egypt Part III. Cesara Publications.
  • translations, translated by Raymond O. Faulkner; with additional; Wasserman, a commentary by Ogden Goelet JR.; with color illustrations from the facsimile volume produced in 1890 under the supervision of E.A. Wallis Budge; introduced by Carol A. R. Andrews; edited by Eva Von Dassow; in an edition conceived by James (1994). The Egyptian Book of the dead : the Book of going forth by day : being the Papyrus of Ani (royal scribe of the divine offerings), written and illustrated circa 1250 B.C.E., by scribes and artists unknown, including the balance of chapters of the books of the dead known as the theban recension, compiled from ancient texts, dating back to the roots of Egyptian civilization (1st edn). San Francisco: Chronicle Books. ISBN 0-8118-0767-3.