เทเลคอม บากู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราบิตา บากู)
เทเลคอม บากู
ชื่อเต็มสโมสรวอลเลย์บอลเทเลคอม บากู
ก่อตั้งค.ศ. 2004
สนามศูนย์กีฬาโอลิมปิกซาร์ฮาดชิ
บากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน
(ความจุ: 1,000 ที่นั่ง)
ประธานอาเซอร์ไบจาน ชาฮลาร์ แมมมาดอฟ
ผู้จัดการอิตาลี มาร์เชลโล อับบอนดันซา
ลีกอาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก
เว็บไซต์โฮมเพจสโมสร
เครื่องแบบ
ทีมเหย้า
ทีมเยือน

เทเลคอม บากู (อาเซอร์ไบจาน: Telekom Bakı; อังกฤษ: Telekom Baku) หรือชื่อเดิม ราบิตา บากู (อาเซอร์ไบจาน: Rabitə Bakı; อังกฤษ: Rabita Baku) เป็นสโมสรวอลเลย์บอลหญิงในประเทศอาเซอร์ไบจาน[1][2] และใน ค.ศ. 2013 นุศรา ต้อมคำ ซึ่งเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ได้เข้าร่วมแข่งให้แก่สโมสรนี้ภายหลังจากที่เคยร่วมทีมกับอิกติซาดชิ บากู มาก่อน[3][4][5]

ประวัติ[แก้]

ธนาคารราบิตาได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2001 ในชื่อราบิตาชิ บากู แล้วได้ใช้ชื่อปัจจุบันใน ค.ศ. 2004 ตั้งแต่การแสดงผลงานครั้งแรกในซูเปอร์ลีก สโมสรนี้ได้เป็นดาวของการแข่งขันชิงแชมป์ โดยปัจจุบันได้อยู่ในอันดับสาม สโมสรนี้เข้าร่วมการแข่งขันรายการวอลเลย์บอลถ้วยยุโรปซีอีวีคัพอย่างเป็นทางการครั้งแรกในฤดูกาล 2007-08 แต่ก็ตกรอบทันทีเมื่อพบกับทีมโอเคฮิตโนวาโกริกา

ในฤดูกาล 2008-09 ได้มาถึงรอบรองชนะเลิศของรายการชาลเลนจ์คัพโดยเป็นฝ่ายพ่ายให้แก่สโมสรวอลเลย์บอลอัลบาเซเต และเป็นฝ่ายชนะการแข่งขันเป็นครั้งแรกในรอบชิงชนะเลิศเมื่อครั้งที่พบกับทีมอาเซอร์เรล ในช่วงชิงตำแหน่งฤดูกาล 2009-10 เริ่มต้นด้วยผลลัพธ์ที่ดี: ทีมได้ชนะการแข่งชิงแชมป์อีกครั้งและได้อันดับสามในรายการซีอีวีคัพ โดยเป็นฝ่ายแพ้ในรอบรองชนะเลิศต่อทีมฟูตูราวอลเลย์บุสโตอาร์ซีซีโอ แต่เป็นฝ่ายชนะรางวัลเหรียญทองแดงในรอบชิงชนะเลิศเมื่อครั้งที่พบกับทีมวีซี ยูรอลลอชกา-เอ็นทีเอ็มเค เยคาเทรินเบิร์ก

ในฤดูกาล 2010-11 สโมสรได้เข้าแข่งขันรายการวีเมนส์ซีอีวีแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรก และได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศโดยเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมวาคีฟบังค์จากประเทศตุรกีเท่านั้น[6]

ค.ศ. 2013 นุศรา ต้อมคำ ซึ่งเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ได้ร่วมทำหน้าที่ให้แก่สโมสรนี้เพื่อต้องการท้าทายความสามารถ[7] และได้รับค่าตอบแทนอย่างน้อยที่ 3 ล้านบาทต่อปี[8][9][5]

รายชื่อสมาชิกทีมฤดูกาล 2013-2014[แก้]

หมายเลข ผู้เล่น ตำแหน่ง ส่วนสูง (ม.)
1 โปแลนด์ คาทาร์ซีนา สโครวอนสกา บอลโค้ง 1.89
3 โปแลนด์ คาทาร์ซีนา สโครูปา มือเซ็ต 1.83
5 เซอร์เบีย นาตาชา คริสมาโนวิช ตัวบล็อกกลาง 1.88
9 สาธารณรัฐโดมินิกัน เบรนดา กัสติลโล ตัวรับอิสระ 1.67
11 เบลารุส เคเซียรีนา ซาเครอุสกายา ตัวตบหัวเสา 1.86
12 เซอร์เบีย มีรา โกลูโบวิช ตัวบล็อกกลาง 1.88
13 ไทย นุศรา ต้อมคำ มือเซ็ต 1.69
15 เซอร์เบีย ซานยา สตาโรวิช ตัวบุกแดนหลัง 1.95
16 สหรัฐ โฟลูกี อคินราเดโว ตัวบล็อกกลาง 1.91
17 ยูเครน อีรีนา ชูโควา มือเซ็ต 1.79
18 เซอร์เบีย ซูซานา เชบิช ตัวรับอิสระ 1.67

เกียรติประวัติ[แก้]

แสตมป์ของประเทศอาเซอร์ไบจาน ค.ศ. 2011
แชมป์: 2011
รองชนะเลิศ: 2012
รองชนะเลิศ: ฤดูกาล 2010/2011; 2012/2013
แชมป์: ฤดูกาล 2008/2009; 2009/2010; 2010/2011; 2011/2012

อ้างอิง[แก้]

  1. "Rabita Baku VC". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
  2. Rabita Baku (Women)
  3. 'นุศรา' เหินฟ้าเล่นลีกอาชีพ ร่วมทัพ 'ราบิตา บากู' - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  4. นุศราบินเล่นลีกอาชีพอาเซอร์ไบจานแล้ว
  5. 5.0 5.1 ลูกยางสาวไทยเปิดตัวสารคดีสู้สุดใจ Thailand - MSN ข่าว[ลิงก์เสีย]
  6. CEV. "VakifGunesTTelekom completes Turkish fairy tale in Istanbul". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-03-20.
  7. ซาร่ารับเลือกบินร่วมทีมราบิต้าเพราะความท้าทาย : SMMOnline.net[ลิงก์เสีย]
  8. "Sport - Manager Online - "นุศรา" ย้ายทีม ฟันค่าเหนื่อย 3 ล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.
  9. "หนังสือพิมพ์บ้านเมือง » 'นุศรา' รับ 3 ล.ไปเซตให้ 'ราบิตา'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-09. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]