ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี

ที่ตั้งหมู่เกาะคอรัลซี
เมืองหลวงเฮฟเวน เกาะเคโท
ภาษาราชการอังกฤษ, สเปน
สมาชิกLGBT
โครงสร้างการเมืองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ก่อตั้ง
• ก่อตั้ง
14 มิถุนายน ค.ศ. 2004
• ยุบตัว
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
สกุลเงินที่อ้างยูโร ()

ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี (อังกฤษ: Gay and Lesbian Kingdom of the Coral Sea Islands) เป็นประเทศที่จำลองขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์ในประเทศออสเตรเลีย โดยก่อตั้งใน ค.ศ. 2004 เพื่อตอบสนองต่อการที่รัฐบาลออสเตรเลียไม่ยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน ตั้งอยู่ในหมู่เกาะคอรัลซีที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกรตแบร์ริเออร์รีฟ[1] ราชอาณาจักรนี้ยุบตัวลงในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 หลังการโหวต 'ใช่' ในแบบสำรวจกฎหมายการแต่งงานของออสเตรเลีย (Australian Marriage Law Postal Survey) ในหัวข้อการทำให้การแต่งงานของเกย์ถูกกฎหมาย[2]

ประวัติ[แก้]

ดินแดนที่อ้างสิทธิของราชอาณาจักรฯ

หลังจากที่รัฐสภากลางแห่งออสเตรเลียได้ออกกฎหมายห้ามการสมรสระหว่างเพศเดียวกันใน พ.ศ. 2547 กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียได้ล่องเรือไปถึงเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะคอรัลซีและปักธงแห่งชาวเกย์กลางเกาะแล้ว ได้ประกาศแยกหมู่เกาะคอรัลซีจากประเทศออสเตรเลียและสถาปนาเป็น "ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี" เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 โดยนายเดล พาร์เคอร์ แอนเดอร์ซัน (Dale Parker Anderson; เกิด พ.ศ. 2508) สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มฯ ได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิเดลที่ 1 (อังกฤษ: Emperor Dale I)

ในปีถัดมา กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียจำใจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทภายในประเทศหลายประการ และในการแยกตัวจากออสเตรเลียของหลายกลุ่ม เช่น การสถาปนาเครือจักรภพเกย์และเลสเบียน (อังกฤษ: Gay and Lesbian Commonwealth Kingdom) อันมีนายแจ็กซ์ บรูกซ์ (Jaix Broox) เป็นผู้นำคนแรก, การสถาปนาชนเผ่าเกย์ (อังกฤษ: Unified Gay Tribe) มีนายบิล ฟรีแมน (Bill Freeman) และนายอองรีก เปแรซ (Enrique Pérez) เป็นผู้นำร่วมกันคนแรก, ตลอดจนการสถาปนามูลนิธิเพื่อปิตุภูมิของชาวเกย์ (อังกฤษ: Gay Homeland Foundation) มีนายวิกเตอร์ ซิมเมอร์แมน (Victor Zimmerman) เป็นประธานมูลนิธิคนแรก

อย่างไรก็ดี การสถาปนาราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซีไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐชาติใด ๆ และไม่ได้มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจริง ๆ บนเกาะ หมู่เกาะคอรัลซียังคงร้างผู้คนอยู่ตามเดิม และถึงแม้ว่าในวันที่ 1 มกราคม 2549 ราชอาณาจักรฯ ได้เริ่มจัดตั้งและให้บริการไปรษณีย์ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์กับหมู่เกาะคอรัลซี เรียกชื่อ "ราชไปรษณีย์เกย์" (อังกฤษ: Royal Gay Mail) แต่ก็มิได้มีการรับรองหรือยืนยันเอกราชของราชอาณาจักรฯ นี้จริง ๆ

กระนั้น ผู้บริหารราชอาณาจักรฯ นับแต่เดือนมิถุนายน 2549 เป็นต้นมา ได้จำหน่ายตราไปรษณียากร และตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตตราไปรษณียากรชุดอนุรักษนิยมออกมาเรื่อย ๆ เพื่อ "ส่งเสริมเกียรติภูมิอันสูงส่งและเป็นเอกลักษณ์ของบรรดานักสะสมตราไปรษณียากร" นอกจากนี้ เว็บไซต์ของราชอาณาจักรฯ ยังได้ประกาศว่าราชอาณาจักรมีสิทธิที่จะดำเนินด้วยตนเองซึ่งเศรษฐกิจทั้งปวงของราชอาณาจักร ทั้งทางการท่องเที่ยว การประมง และการจำหน่ายตราไปรษณียากรอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. Nick Squires (4 May 2010). "The world's micronations unite to demand recognition". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 10 August 2011.
  2. "Coral Sea Islands – De Facto". defactoborders.org. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]