ข้ามไปเนื้อหา

รัตนพิมพวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัตนพิมพวงษ์
ผู้ประพันธ์พระพรหมราชปัญญาเถระ
ผู้แปลพระยาธรรมปรีชา (แก้ว)
พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)
ประเทศอาณาจักรล้านนา
ภาษาภาษาบาลี
ประเภทตำนาน

รัตนพิมพวงษ์ เป็นตำนานเดิมของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งได้แต่งก่อนตำนานฉบับอื่น[1] แต่งเป็นภาษาบาลี โดยพระภิกษุล้านนา นามว่า พระพรหมราชปัญญาเถระ ต่อมาพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) เมื่อครั้งเป็นพระยาธรรมปโรหิตได้เรียบเรียงเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2331 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วมอบให้ผู้รู้ตรวจสอบ[2] และพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) นำมาแปลเป็นภาษาไทย เรียกว่า ตำนานพระแก้วมรกต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2456[3]

รัตนพิมพวงษ์ ไม่ปรากฏปีที่รจนาแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งในช่วงที่พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่ลำปาง คือ พ.ศ. 1979 เป็นต้นไป เพราะตำนานจบตรงนั้น เนื้อเรื่องพระแก้วมรกต แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ การบังเกิดของพระนาคเสน การสร้างพระรัตนพิมพ์ พระแก้วอมรโกฎมาอยู่เมืองกัมโพชจนถึงเชียงราย และพระรัตนพิมพ์ออกจากเมืองเชียงรายมาประดิษฐานอยู่ที่ลำปาง[4] เนื้อเรื่องส่วนที่เป็นสาระทางประวัติศาสตร์ คือ การพบพระแก้วมรกตในสถูปที่เชียงราย จนถึงประดิษฐานที่ลำปาง

เมื่อเปรียบเทียบ รัตนพิมพวงษ์ กับวรรณกรรมพุทธศาสนาก่อนหน้านี้ พบว่า รัตนพิมพวงษ์ ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์มิลินทปัญหา ในส่วนการสร้างพระรัตนพิมพ์ พระพรหมราชปัญญารจนาขึ้นใหม่ ในส่วนพระแก้วอมรโกฎมาอยู่เมืองกัมโพชจนถึงเชียงราย พระพรหมราชปัญญาน่าจะอาศัยเค้ามูลประวัติการเดินทางของพระพุทธศาสนาเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแกนหลัก ส่วนการนำพระแก้วมรกตประดิษฐานที่กำแพงเพชรและเกิดสงรามกับท้าวมหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายและประดิษฐานที่เชียงราย น่าจะได้รับอิทธิพลจาก สิหิงคนิทาน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ตำนาน[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ตำนานพระแก้วมรกต". มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
  2. "รัตนพิมพวงส์". นามานุกรมวรรณคดีไทย.
  3. "รัตนพิมพวงศ์กับการไขปริศนาของลาวและพม่า". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. 4.0 4.1 ศานติ ภักดีคำ. "พระแก้วในตำนานพระโค-พระแก้วเขมร : พระแก้วมรกตจริงหรือ?" (PDF).