ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานคอมพิวเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานคอมพิวเตอร์ (Computer-based information system) คือการนำข้อมูล และคำสั่งไปประมวลผลที่หน่วยประมวลผลนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการทำงานโดยการ Input - Processing - Output

ส่วนประกอบ[แก้]

โดยแยกส่วนประกอบออกเป็นดังนี้ คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย

  1. Hardware คือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น เมาส์,คีย์บอร์ด,ลำโพง เป็นต้น
  2. Software แบ่งเป็น 2 อย่าง
    1. ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากหมายความถึงระบบปฏิบัติการ เช่น MS-DOS, Windows, Linux เป็นต้น
    2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ โปรแกรมทุกตัวในเครื่องที่ไม่ใช่โปรแกรมของระบบ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมของแพทย์ เป็นต้น ตลอดจนโปรแกรมที่ใช้งานทั่วไป เช่นไมโครซอฟท์ออฟฟิศ

ระบบ คือกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน

สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์แล้ว ที่ผู้ใช้สามารถรู้ความหมายและสามารถนำไปใช้ได้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

  1. Transaction Processing Systems (TPS) เป็นระบบประมวลผลรายการประจำเป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลพื้นฐานโดยเน้นการประมวลผลรายวัน
  2. Management Information Systems (MIS) เป็นระบบที่สนับสนุนการจัดการด้านกลวิธี (Tactical) เป็นระบบจัดการข้อมูลทั้งหมดขององค์กร
  3. Decision Support Systems (DSS) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาจากระบบ MIS เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ
  4. Executive Information Systems (EIS) ระบบที่ออกแบบใช้กับเฉพาะผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ เช่น ระบบธนาคารมีการใช้ระบบสารสนเทศบนฐานคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลต่างๆ ระบบการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น