ข้ามไปเนื้อหา

ย่านความถี่ 2 เมตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ย่านความถี่ 2 เมตร (อังกฤษ: 2-meter band) (คำว่า 2 เมตร เป็นความยาวคลื่นโดยประมาณของความถี่ 144.000 MHz ถึง 148.000 MHz) ย่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของแถบความถี่สูงมาก หรือที่เรียกกันว่า VHF (Very high frequency) ซึ่งถูกจัดสรรให้กับกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยมีความถี่ตั้งแต่ 144.000 MHz ถึง 148.000 MHz แต่สำหรับประเทศไทยอนุญาตให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นใช้ได้ในช่วง 144.000 MHz ถึง 147.000 MHz ความถี่ย่าน 2 เมตร ใช้ในการติดต่อภายในพื้นที่ซึ่งไม่ไกลมากนัก ระยะทางโดยประมาณ 100 ไมล์ หรือ 160 กิโลเมตร

การใช้ความถี่

[แก้]

ความถี่ย่าน 2 เมตรเป็นความถี่ที่ใช้ติดต่อสื่อสารภายในท้องที่ การขออนุญาตไม่ยุ่งยากเหมือนกับความถี่ย่าน HF พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นก็สามารถใช้งานได้เลย รวมถึงขนาดของตัวเครื่องและสายอากาศยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้ย่านความถี่นี้เป็นย่านความถี่ยอดนิยมย่านหนึ่งก็ว่าได้ สำหรับการประสานงานต่าง ๆ นิยมใช้วิทยุแบบมือถือ หรือเราอาจจะเรียกว่า handheld transceiver (HT), handie-talkie หรือ walkie-talkie

การติดต่อสื่อสารในย่าน 2 เมตรระบบ FM บ่อยครั้งที่เราไม่สามารถติดต่อสื่อสารในระยะทางไกล ๆ ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำระบบทวนสัญญาณ (repeater) เข้ามาช่วย ซึ่งระบบทวนสัญญาณโดยทั่วไปจะถูกติดตั้งไว้บนที่สูง ๆ เช่นตึก หรือภูเขา เพื่อเพิ่มระยะทางในการติดต่อสื่อสาร

สำหรับการติดต่อสื่อสารระยะไกลในย่าน 2 เมตรนิยมใช้ระบบซิงเกิลไซด์แบนด์ (SSB) และ รหัสมอร์ส (CW) รวมทั้งสายอากาศแบบทิศทางอย่างเช่น สายอากาศยากิ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นแบบอื่น ๆ ที่เหมาะกับการติดต่อสื่อสารทางไกล เช่น การติดต่อสื่อสารสะท้อนฝนดาวตก (Meteor scatter) การติดต่อในช่วงเวลาที่เกิด Troposheric Ducting และ Sporadic E หรือแม้กระทั่ง การติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์

อ้างอิง

[แก้]