ยฺเหวียนเซียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยฺเหวียนเซียว
ยฺเหวียนเซียว แป้งทำจากฟักทองสอดไส้งาดำและน้ำตาล
ชื่ออื่นทังยฺเหวียน, ขนมบัวลอยจีน
แหล่งกำเนิดจีน
ส่วนผสมหลักแป้งข้าวเหนียว
รูปแบบอื่นหลากหลายรูปแบบ
ข้อมูลอื่นตามประเพณีแล้ว รับประทานในช่วงเทศกาลโคมไฟ
ยฺเหวียนเซียว
ภาษาจีน元宵
ฮั่นยฺหวี่พินอินyuán xiāo
ทังยฺเหวียน
อักษรจีนตัวเต็ม湯圓 หรือ 湯團
อักษรจีนตัวย่อ汤圆 หรือ 汤团
ฮั่นยฺหวี่พินอินtāngyuán หรือ tāngtuán
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
อักษรจีนตัวเต็ม圓仔 หรือ 米圓
อักษรจีนตัวย่อ圆仔 หรือ 米圆
ฮั่นยฺหวี่พินอินyuánzǐ หรือ mǐyuán

ยฺเหวียนเซียว (จีน: 元宵; พินอิน: yuánxiāo), ทังยฺเหวียน (จีนตัวย่อ: 汤圆; จีนตัวเต็ม: 湯圓; พินอิน: tāngyuán) หรือ ขนมบัวลอยจีน เป็นขนมหวานที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำแล้วนำไปปั้นเป็นลูกกลม ๆ จากนั้นนำไปต้มแล้วเสิร์ฟในน้ำร้อน น้ำร้อนที่นิยมรับประทานได้แก่ น้ำขิง ลูกยฺเหวียนเซียวมีหลายขนาดซึ่งขึ้นอยู่กับผู้รับประทาน อาจสอดไส้หรือไม่สอดไส้ก็ได้ ไส้ที่นิยมรับประทานได้แก่ ไส้งาดำ ยฺเหวียนเซียวเป็นขนมที่นิยมรับประทานในช่วงเทศกาลโคมไฟ[1] หรือเทศกาลอื่น ๆ เช่น งานแต่งงาน ในประเทศไทย ยฺเหวียนเซียวที่สอดไส้งาดำในน้ำขิง มักเรียกว่า "ขนมบัวลอยน้ำขิง"

อ้างอิง[แก้]

  1. Gong, Wen (2007). Lifestyle in China. Journey into China. 五洲传播出版社. p. 13. ISBN 978-7-5085-1102-3.