ยูเอสเอส ดอริส มิลเลอร์ (CVN-81)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติ
สหรัฐอเมริกา
ชื่อ
ตั้งชื่อตามดอริส มิลเลอร์
อู่เรือนิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง[4]
ปล่อยเรือมกราคม 2026 (กำหนดการ)[1]
เดินเรือแรกตุลาคม 2029 (กำหนดการ)[1]
สนับสนุนโดย
  • ชาร์ลีน ออสติน
  • เทยา มิลเลอร์[3]
เข้าประจำการ2032 (กำหนดการ)[2]
รหัสระบุCVN-81
สถานะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด
ขนาด (ระวางขับน้ำ): ประมาณ 100,000 ตัน (บรรทุกเต็มพิกัด)
ความยาว: 1,106 ฟุต (337 เมตร)
ความกว้าง: 134 ฟุต (41 เมตร)
กินน้ำลึก: 39 ฟุต (12 เมตร)
ระบบพลังงาน: 2 × เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Bechtel A1B PWR (ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง (HEU) 93.5%)
ระบบขับเคลื่อน: 4 × ใบจักร
ความเร็ว: มากกว่า 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 35 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง: ไม่จำกัดระยะทาง 20–25 ปี
อัตราเต็มที่: 4,660
ยุทโธปกรณ์:
อากาศยาน: มากกว่า 80 ลำโดยประมาณ เครื่องบินรบมากถึง 90 ลำ
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ดาดฟ้าบินขนาด 1,092 × 256 ฟุต (333 × 78 เมตร)
สัญลักษณ์ของยูเอสเอส ดอริส มิลเลอร์ ออกแบบโดยโครงการรำลึกถึงยูเอสเอส เนวาดา

ยูเอสเอส ดอริส มิลเลอร์ (CVN-81) (อังกฤษ: USS Doris Miller) จะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 4 ในชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ของกองทัพเรือสหรัฐ[5][6] มีกำหนดวางกระดูกงูในเดือนมกราคม 2026 ปล่อยน้ำในเดือนตุลาคม 2029 และประจำการในปี 2032 ตัวเรือจะถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ นิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของฮันติงตัน อิงกัลส์ อินดัสทรีส์ (เดิมชื่อนอร์ทรอป กรัมแมน ชิปบิลดิง) ในนิวพอร์ตนิวส์ รัฐเวอร์จิเนีย[4]

การตั้งชื่อ[แก้]

เรือลำนี้ตั้งชื่อตามทหารกะลาสีฝ่ายบริกร (Messman) ชาวอเมริกันระดับสามในกองทัพเรือสหรัฐ ดอริส มิลเลอร์ ถือเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่ได้รับเกียรติให้ตั้งชื่อตามทหารชั้นประทวน และเป็นชาวแอฟริกันเชื้อสายอเมริกัน[7] เรือลำนี้จะเป็นลำที่สองที่ได้รับเกียรติให้สดุดีวีรกรรมของมิลเลอร์ ซึ่งได้รับรางวัลกางเขนกองทัพเรือจากการกระทำของเขาในระหว่างการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยเรือลำแรกที่ได้รับเกียรติคือ ยูเอสเอส มิลเลอร์ (FF-1091) (USS Miller)[8]

การก่อสร้าง[แก้]

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2021 กองทัพเรือสหรัฐได้จัดพิธีตัดเหล็กแผ่นแรก ("First Cut of Steel") ที่อู่เรือ นิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง โดยมีครอบครัวของดอริส มิลเลอร์ เข้าร่วมพิธี 6 คน พิธีนี้ถือเป็นการเริ่มต้นการก่อสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สี่ในชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด อย่างเป็นทางการ[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Malone, Capt. Phillip (พฤษภาคม 6, 2019). "Sea Air Space Exposition: John F. Kennedy (CVN 79) Enterprise (CVN 80) & Unnamed (CVN 81) – Two Ship Buy" (PDF). navsea.navy.mil. Naval Sea Systems Command. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 20, 2023. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 1, 2021.
  2. "Report to Congress on Gerald R. Ford Carrier Program". USNI. 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.
  3. "SECNAV Names Future Replenishment Oiler Ship Thurgood Marshall and Sponsors for USS Doris Miller" (Press release). United States Navy. 25 February 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
  4. 4.0 4.1 "Navy Awards 2-Carrier Contract to Newport News Shipbuilding". USNI. 31 January 2019. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  5. "Navy Names Future Aircraft Carrier Doris Miller During MLK, Jr. Day Ceremony". U.S. Navy. 20 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2020.
  6. LaGrone, Sam (18 January 2020). "Next Ford-class Carrier to be Named After Pearl Harbor Hero Doris Miller". U.S. Naval Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2020. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
  7. Price, Jay (29 September 2020). "A Military 1st: A Supercarrier Is Named After An African American Sailor". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2022.
  8. "Doris Miller: US Navy aircraft carrier to honor black sailor". BBC. 19 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  9. "HII Celebrates First Steel Cut for Aircraft Carrier Doris Miller (CVN 81)". Naval News. 26 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2021.