ยูเนียนแปซิฟิก บิกบอย
ยูเนียนแปซิฟิก บิกบอย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพถ่ายประชาสัมพันธ์ของยูเนียนแปซิฟิก บิกบอย หมายเลข 4000 ซึ่งเป็นลำดับแรกของชั้นนี้ ถ่ายในปี ค.ศ. 1941 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ต้นทุนการสร้างอยู่ที่ US$ 265,000 ในปี 1941, เท่ากับ $4,882,115 ในปี 2021 |
ยูเนียนแปซิฟิก บิกบอย (อังกฤษ: Union Pacific Big Boy) เป็นรถจักรไอน้ำข้อต่อแบบง่ายชนิด 4-8-8-4 ผลิตโดยบริษัทอเมริกันโลโคโมทีฟ (ALCO) ระหว่างปี ค.ศ. 1941 ถึง 1944 และให้บริการโดยบริษัทยูเนียนแปซิฟิกเรลโรดในการขนส่งสินค้าจนถึงปี ค.ศ. 1962
บิกบอยจำนวน 25 คันถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรทุกสินค้าข้ามเทือกเขาวอแซตช์ระหว่างออกเดน รัฐยูทาห์ และกรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง ปลายทศวรรษ 1940 รถจักรเหล่านี้ถูกย้ายไปประจำการที่ไชแอนน์ รัฐไวโอมิง โดยมีหน้าที่ลากจูงขบวนรถบรรทุกสินค้าข้ามเชอร์แมนฮิลล์ไปยังแลรามี รัฐไวโอมิง พวกมันเป็นรถจักรเพียงชนิดเดียวที่ใช้การจัดเรียงล้อแบบ 4-8-8-4 คือมีเพลานำ 4 ล้อเพื่อความเสถียรในการเข้าโค้ง เพลาขับ 2 ชุด 8 ล้อ และเพลาท้าย 4 ล้อเพื่อรองรับเรือนไฟขนาดใหญ่
ปัจจุบันมีบิกบอยเหลืออยู่ 8 คัน โดยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพจอดนิ่งเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วสหรัฐ หนึ่งในนั้นคือหมายเลข 4014 ที่ถูกซื้อคืนโดยยูเนียนแปซิฟิก และระหว่างปี ค.ศ. 2014 ถึง 2019 ได้รับการบูรณะเพื่อให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งเนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปีการสร้างทางรถไฟข้ามทวีปสายแรก ด้วยเหตุนี้ มันจึงกลับมาครองตำแหน่งรถจักรไอน้ำที่มีขนาดใหญ่และทรงพลังที่สุดในโลกอีกครั้ง
ประวัติ
[แก้]การออกแบบ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1936 ยูเนียนแปซิฟิกได้นำรถจักรไอน้ำชนิดชาลเลนเจอร์ (4-6-6-4) มาใช้งานบนเส้นทางหลักของบริษัทที่ข้ามเทือกเขาวอแซตช์ระหว่างกรีนริเวอร์และออกเดิน[2][3] ตลอดเส้นทางส่วนใหญ่ ความชันสูงสุดทั้งขาไปและกลับอยู่ที่ร้อยละ 0.82 แต่เมื่อปีนขึ้นไปทางทิศตะวันออกจากออกเดินเข้าสู่เทือกเขาวอแซตช์ ความชันจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 1.14[4] การลากขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนัก 3,600 ชอร์ตตัน (3,300 ตัน; 3,200 ลองตัน) จำเป็นต้องใช้รถจักรสองคันและรถจักรช่วยลาก ซึ่งทำให้บริการล่าช้า[4] ดังนั้น ยูเนียนแปซิฟิกจึงตัดสินใจออกแบบรถจักรใหม่ที่สามารถรองรับการวิ่งได้ด้วยตัวเอง[5] ที่เร็วขึ้นและทรงพลังกว่ารถจักรแบบผสม 2-8-8-0 ที่ UP พยายามทำหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยสามารถลากขบวนรถไฟยาวด้วยความเร็วคงที่ 60 ไมล์ต่อชั่วโมง (100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อผ่านช่วงที่มีความชันของภูเขาไปแล้ว[5]
ทีมออกแบบของยูเนียนแปซิฟิกนำโดยอ็อทโท ยาเบลมันน์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและมาตรฐานทางกลของแผนกวิศวกรรมของยูเนียนแปซิฟิก ได้ร่วมมือกับบริษัทอเมริกันโลโคโมทีฟ (ALCO) เพื่อทำการศึกษาและพัฒนารถจักรชาลเลนเจอร์ของบริษัทอีกครั้ง[6] ทีมวิศวกรพบว่าสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยการขยายขนาดเรือนไฟของรถจักรชาลเลนเจอร์ให้ใหญ่ขึ้นเป็นประมาณ 235 × 96 นิ้ว (5.97 × 2.44 เมตร) (ประมาณ 150 ตารางฟุต หรือ 14 ตารางเมตร) เพิ่มแรงดันไอน้ำในหม้อน้ำเป็น 300 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (เมกะปาสกาล) เพิ่มจำนวนล้อขับอีก 4 ล้อ และลดขนาดล้อขับจาก 69 เหลือ 68 นิ้ว (1,753 เหลือ 1,727 มิลลิเมตร)[6] รถจักรใหม่ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อไม่ให้เกินน้ำหนักบรรทุกต่อเพลาที่ 67,800 ปอนด์ (30,800 กิโลกรัม) และสามารถสร้างแรงฉุดเริ่มต้นได้สูงสุด โดยมีสัมประสิทธิ์การยึดเกาะเท่ากับ 4.0[4][6] และยังถูกออกแบบให้วิ่งได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยที่ความเร็ว 80 ไมล์ต่อชั่วโมง (130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[7]
เพื่อบรรลุเป้าหมายทางวิศวกรรมใหม่เหล่านี้ รถจักรชาเลนเจอร์ได้ถูก "ออกแบบใหม่ทั้งหมดโดยเริ่มจากหลักการพื้นฐาน" ดังที่ทอม มอร์ริสัน นักประวัติศาสตร์รถจักรไอน้ำกล่าว[8] การออกแบบโดยรวมได้ลดความซับซ้อนในบางส่วนของรถจักรรุ่นก่อนหน้า และเพิ่มความซับซ้อนในส่วนอื่น ๆ แทน ระบบทบกำลัง, เครื่องเพิ่มแรงดัน, และเครื่องทำน้ำร้อนป้อนหม้อไอน้ำถูกยกเลิกออกไป เช่นเดียวกับชุดลิ้นเบเกอร์และการตัดการจ่ายไอน้ำก่อนเวลา แต่มอร์ริสันเขียนว่า "การกระจายตัวของลิ้นและมาตรวัดที่แผงด้านหลังของรถจักร แสดงให้เห็นว่าการขับรถจักรบิกบอยนั้นซับซ้อนและต้องการทักษะมากกว่าการขับรถจักรรุ่นก่อน ๆ มาก"[8]
รถจักรไอน้ำชั้น 4-8-8-4 ซึ่งเดิมมีข่าวลือว่าจะได้รับชื่อว่า "วอแซตช์" ตามชื่อเทือกเขาวอแซตช์นั้นได้รับฉายาใหม่ว่า "บิกบอย" หลังจากพนักงานของ ALCO ผู้ไม่ปรากฏนาม ได้เขียนคำว่า "บิกบอย" ด้วยชอล์กลงบนประตูช่องควันของรถจักรหมายเลข 4000 ซึ่งขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในฐานะรถจักรรุ่นแรกของชั้นนี้[4][5][9]
บิกบอยถูกออกแบบมาให้มีข้อต่อคล้ายกับรถจักรมัลเลต แต่ไม่มีการทบกำลังแบบมัลเลต[10] รถจักรเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยเป็นหลัก และโดยทั่วไปแล้วจะทำงานด้วยความเร็วต่ำกว่า 60 ไมล์ต่อชั่วโมง (100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในการขนส่งสินค้า กำลังฉุดสูงสุดที่จุดเชื่อมต่อกับขบวนรถเกิดขึ้นที่ความเร็วประมาณ 41 ไมล์ต่อชั่วโมง (66 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[11] แรงฉุดสูงสุดที่วัดได้ในระหว่างการทดสอบในปี ค.ศ. 1943 คือ 138,200 ปอนด์ฟุต (615 กิโลนิวตัน)[11]
บิกบอยมีเรือนเครื่องจักรที่ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับรถจักรไอน้ำแบบลูกสูบอื่น ๆ ทั้งหมด โดยมีความยาวมากกว่ารถโดยสารขนาด 40 ฟุตสองคันรวมกัน[12] นอกจากนี้ ยังเป็นรถจักรไอน้ำแบบลูกสูบที่หนักที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา โดยน้ำหนักรวมของเครื่องจักรที่ 772,250 ปอนด์ (350,290 กิโลกรัม) และตู้ถ่านหินที่ 436,500 ปอนด์ (198,000 กิโลกรัม) นั้นหนักกว่าเครื่องบินโบอิง 747[12] มีการคาดการณ์ว่าชุดแรกของรถจักรเชสพีกแอนด์โอไฮโอ 2-6-6-6 เอช-8 “อัลเลเกนี” ที่ผลิตโดยลีมาโลโคโมทีฟเวิกส์ในปี ค.ศ. 1941 อาจมีน้ำหนักมากถึง 778,200 ปอนด์ (353,000 กิโลกรัม) ซึ่งมากกว่าบิกบอย แต่การชั่งน้ำหนักซ้ำของ H-8 รุ่นแรกภายใต้การตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยผู้ผลิตและบริษัทรถไฟพบว่าน้ำหนักจริงน้อยกว่า 772,250 ปอนด์ (350,290 กิโลกรัม) ประมาณครึ่งตัน[13][14]
มีการคาดการณ์ว่ามีการทดลองบางอย่างกับบิกบอยในช่วงที่ยังให้บริการเชิงพาณิชย์อยู่ การทดลองหนึ่งในนั้นคือการแปลงหมายเลข 4005 ให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในปี ค.ศ. 1946[15] ต่างจากการปรับปรุงชาลเลนเจอร์ที่เคยทำมา การปรับปรุงบิกบอยล้มเหลวเนื่องจากความร้อนไม่สม่ำเสมอภายในเรือนไฟเดี่ยวขนาดใหญ่[15] รถจักรได้รับการแปลงกลับมาใช้ถ่านหินอีกครั้งในปี ค.ศ. 1948[16][15] (หลายทศวรรษต่อมา หมายเลข 4014 ได้รับการแปลงให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันสำเร็จในระหว่างการบูรณะ[17]) อีกการทดลองหนึ่งพบว่าหมายเลข 4007 ได้รับการแปลงโดยติดตั้งปล่องไฟเพียงต้นเดียวในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1948 ผลการทดลองไม่เป็นที่น่าพอใจ ทำให้ต้องแปลงกลับไปใช้ปล่องไฟสองต้นดังเดิม[18] การทดลองระยะสั้นครั้งสุดท้ายคือ การติดตั้งแผ่นบังควันให้กับหมายเลข 4019 ซึ่งคล้ายกับที่พบในรถจักรชุด FEF และชาลเลนเจอร์บางคันของบริษัท ต่อมาได้มีการถอดแผ่นบังควันเหล่านี้ออกเพราะหัวฉีดและเครื่องเป่าควันในช่องควันของบิกบอยสามารถเป่าควันขึ้นไปสูงพอจะไม่บดบังสายตาของวิศวกร
การสร้าง
[แก้]อเมริกันโลโคโมทีฟผลิตรถจักรบิกบอยให้แก่ยูเนียนแปซิฟิกจำนวน 25 คัน โดยผลิต 20 คันในปี ค.ศ. 1941 และ 5 คันในปี ค.ศ. 1944[4][9] นอกจากชาลเลนเจอร์แล้ว บิกบอยก็ได้ปรากฏตัวในช่วงเวลาที่ปริมาณการขนส่งกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเพื่อรองรับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐ
ชั้น | จำนวน | หมายเลขประจำรถ | ปีที่สร้าง (ค.ศ.) | หมายเลขประจำรถของยูเนียนแปซิฟิก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
4884-1 | 20 | 69571-69590 | 1941 | 4000-4019 | หมายเลข 4005 ถูกแปลงให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในปี 1946 และกลับมาใช้ถ่านหินในปี 1948[16] หมายเลข 4007 ถูกดัดแปลงให้ติดตั้งปล่องไฟเดี่ยว และได้ทำการทดลองในเดือนตุลาคม 1948 ผลการทดลองไม่เป็นที่น่าพอใจ ทำให้ต้องกลับไปใช้ปล่องไฟสองต้นตามเดิม[18] หมายเลข 4019 ทดลองติดตั้งแผ่นบังควันระหว่างปี 1944 ถึง 1945[20] หมายเลข 4014 ให้บริการเดินรถนำเที่ยวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019[17] |
4884-2 | 5 | 72777–72781 | 1944 | 4020-4024 |
การดำเนินการ
[แก้]บิกบอยมีตะแกรงขนาดใหญ่เพื่อเผาถ่านหินบิทูมินัสคุณภาพต่ำ ซึ่งเป็นถ่านหินที่ขุดได้จากเหมืองของยูเนียนแปซิฟิกในรัฐไวโอมิง ถ่านหินถูกส่งจากตู้ไปยังเรือนไฟโดยเครื่องเติมถ่านอัตโนมัติ MB ของบริษัทสแตนดาร์ดสโตเกอร์ ที่สามารถจ่ายได้มากกว่า 12 1⁄2 ชอร์ตตัน (25,000 ปอนด์) ต่อชั่วโมง น้ำถูกส่งเข้าหม้อไอน้ำโดยหัวฉีดรีสตาร์ตอัตโนมัติ Nathan 4000C สามารถจ่ายน้ำได้ 12,500 แกลลอนต่อชั่วโมง อยู่ทางด้านขวา และหัวฉีดไอน้ำขับเคลื่อนด้วยไอเสีย Elesco T.P. 502 สามารถจ่ายน้ำได้ 14,050 แกลลอนต่อชั่วโมง อยู่ทางด้านซ้าย
เมื่อบิกบอยถูกส่งมอบให้แก่ยูเนียนแปซิฟิกในปี ค.ศ. 1941 รถจักรเหล่านี้ก็ถูกจัดให้อยู่ในเส้นทางย่อยที่ 1 ของหมวดยูทาห์ ระหว่างออกเดินและกรีนริเวอร์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความชันร้อยละ 1.14 ซึ่งเป็นความชันที่รถจักรเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือโดยเฉพาะ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน บิกบอยสามคันถูกจัดให้ประจำการในบริษัทลอสแอนเจลิสแอนด์ซอลต์เลกไลน์ และวิ่งระหว่างออกเดินและมิลฟอร์ด รัฐยูทาห์ ในปี ค.ศ. 1944 เมื่อมีการนำชาเลนเจอร์มาใช้งานเพิ่มเติมพร้อมกับบิกบอยชุดที่สอง พื้นที่ให้บริการของบิกบอยจึงขยายออกไปทางตะวันออกจากกรีนริเวอร์ไปยังไชแอนน์ โดยครอบคลุมเส้นทางย่อยที่ 5, 6 และ 7 ของหมวดไอโอมิง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 เป็นต้นมา เมื่อรถจักรชาลเลนเจอร์เข้ามาทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในเส้นทางระหว่างออกเดินและกรีนริเวอร์ บิกบอยจึงถูกนำมาใช้งานเพียงบางครั้งในหมวดยูทาห์ ขณะเดียวกัน พื้นที่การให้บริการของบิกบอยก็ขยายออกไปครอบคลุมเส้นทางทางใต้จากไชแอนน์ไปยังเดนเวอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1950 ถึง 1957 รถจักรเหล่านี้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลากขบวนรถทางทิศตะวันออกจากไชแอนน์ไปยังนอร์ทแพลตต์บนเส้นทางย่อยที่ 3 ของหมวดเนแบรสกาเป็นครั้งคราว ในช่วงปีสุดท้ายของการใช้รถจักรไอน้ำของยูเนียนแปซิฟิก รถจักรเหล่านี้จะถูกใช้งานเฉพาะในฤดูใบไม้ร่วงที่การขนส่งสินค้าหนาแน่นเท่านั้น โดยบิกบอยถูกนำมาใช้เฉพาะบนเส้นทางระหว่างไชแอนน์และแลรามี[21]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 ยูเนียนแปซิฟิกได้ยืมรถไดนาโมมิเตอร์จากบริษัทเอทีแอนด์เอสเอฟเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของบิกบอย มีการทดสอบวิ่งหลายครั้งบนเส้นทางย่อยเอวานสตัน จากออกเดอนไปยังเอวานสตัน (ระยะทาง 76 ไมล์) และพบว่าจักรบิกบอยสามารถเผาถ่านหินได้ 11 ตัน และใช้น้ำ 12,000 แกลลอนต่อชั่วโมง เมื่อทำงานเต็มกำลัง โดยให้กำลัง 6,290 แรงม้าที่ความเร็ว 41.4 ไมล์ต่อชั่วโมง ด้วยการออกแบบมาเพื่อลากขบวนรถที่มีน้ำหนัก 3,600 ตันขึ้นทางชันที่มีความชันร้อยละ 1.14 บนเส้นทางย่อยนี้ การทดสอบแสดงให้เห็นว่าบิกบอยสามารถลากขบวนรถหนัก 4,200 ตันได้โดยวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 18–20 ไมล์ต่อชั่วโมง ระหว่างจุดทั้งสองของเส้นทางย่อยนี้[11][22]
รถจักรเหล่านี้ได้รับความชื่นชมอย่างมากจากพนักงาน เนื่องจากพบว่ามีความมั่นคงในการเคลื่อนที่และใช้งานง่ายกว่าหัวรถจักรชนิดอื่น มีความสามารถสูง และกำลังการบรรทุกที่ระบุไว้ได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (โปรดดูหัวข้อกำลังบรรทุก)
การเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินและค่าแรงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมกับการปรากฏตัวของพลังดีเซลไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ ทำให้สิ้นสุดยุคของรถจักรไอน้ำ พวกมันเป็นหนึ่งในรถจักรไอน้ำชุดสุดท้ายที่ถูกปลดระวางจากบริการของยูเนียนแปซิฟิก รถสินค้าขบวนสุดท้ายที่บิกบอยลากได้สิ้นสุดลงในช่วงเช้าของวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 ส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาไว้ในสภาพพร้อมใช้จนถึงปี ค.ศ. 1961 (4 คันยังคงอยู่ในสภาพพร้อมใช้ที่กรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง จนถึงปี ค.ศ. 1962) หน้าที่ของพวกมันถูกแทนที่ด้วยรถจักรดีเซลและรถจักรกังหันแก๊สไฟฟ้า[23]
ในปี ค.ศ. 2019 ยูเนียนแปซิฟิกได้ดำเนินการบูรณะรถจักรหมายเลข 4014 เสร็จสิ้นและนำกลับมาให้บริการนำเที่ยว[24][25] รถจักรได้รับการส่งไปทัวร์เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปีการสร้างทางรถไฟข้ามทวีปสายแรก[26][27]
อัตราบรรทุกสูงสุดในเขตเดินรถหลัก (ค.ศ. 1946–1959)
[แก้]ความชันส่วนใหญ่บนเส้นทางโอเวอร์แลนด์ของยูเนียนแปซิฟิกนั้นไม่เกินร้อยละ 0.82 ดังนั้น สำหรับเส้นทางส่วนใหญ่ บิกบอยสามารถลากขบวนรถที่มีน้ำหนักประมาณ 6,000 ตันได้ทั้งสองทิศทาง โดยมีข้อจำกัดเพียงความยาวของทางหลีก และความสามารถของรถจักรในการเติมอากาศให้กับระบบเบรกลมของขบวนรถ ข้อยกเว้นสองกรณีคือความชันในทิศไปตะวันออกร้อยละ 1.14 จากออกเดินไปยังเอวานสตัน และความชันในทิศไปตะวันตกร้อยละ 1.55 จากไชแอนน์ไปยังเชอร์แมนฮิลล์ ในปี ค.ศ. 1953 ปัญหาความชันของทางรถไฟได้รับการแก้ไขด้วยการเปิดใช้เส้นทางที่ 3 ผ่านแฮร์ริแมน ซึ่งมีความชันเพียงร้อยละ 0.82 ทำให้ในทางทฤษฎีแล้ว บิกบอยสามารถลากขบวนรถหนัก 6,000 ตันจากเคาน์ซิลบลัฟส์ รัฐไอโอวา ไปยังออกเดินโดยไม่ต้องใช้รถจักรช่วยตลอดระยะทาง 993 ไมล์ (1,598 กิโลเมตร)
ออกเดิน–แซตช์ | วอแซตช์–กรีนริเวอร์ | กรีนริเวอร์–ร็อกสปริงส์ | ร็อกสปริงส์–วัมซัตเทอร์ | วัมซัตเทอร์–รอว์ลินส์ | รอว์ลินส์– แลรามี | แลรามี–บิวฟอร์ด | บิวฟอร์ด–ไชแอนน์ | ไชแอนน์–แกรนด์ไอแลนด์ | แกรนด์ไอแลนด์–เคาน์ซิลบลัฟส์ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1946 | 3,800 ตัน | 5,100 ตัน | 6,700 ตัน | 5,100 ตัน | 4,800 ตัน | N/A | ||||
1947 | 4,450 ตัน | 6,090 ตัน | 6,090 ตัน | 8,000 ตัน | 6,090 ตัน | 6,100 ตัน | ||||
1949 | 6,000 ตัน | 7,800 ตัน | 5,900 ตัน | 5,800 ตัน | 9,000 ตัน | 6,800 ตัน |
เคาน์ซิลบลัฟส์–แกรนด์ไอแลนด์ | แกรนด์ไอแลนด์–นอร์ทแพลตต์ | นอร์ทแพลตต์–ซิดนีย์ | ซิดนีย์–ไชแอนน์ | ไชแอนน์–บิวฟอร์ด | ไชแอนน์–เฮอร์โมซา ผ่านเส้นทางแฮร์ริแมนที่ 3 | บิวฟอร์ด–แลรามี | แลรามี–รอว์ลินส์ | รอว์ลินส์–กรีนริเวอร์ | กรีนริเวอร์–วอแซตช์ | วอแซตช์–ออกเดิน | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1946 | N/A | 2,800 ตัน | N/A | 5,100 ตัน | 4,900 ตัน | ||||||
1947 | 3,250 ตัน | 6,090 ตัน | 6,090 ตัน | 6,100 ตัน | |||||||
1949 | 6,800 ตัน | 8,000 ตัน | 6,500 ตัน | 6,000 ตัน | 6,000 ตัน | ||||||
1953 | 6,000 ตัน |
สเปียร์จังก์ชัน–เดนเวอร์ (ไปทิศใต้) | เดนเวอร์–ลาซาล (ไปทิศเหนือ) | ลาซาล–สเปียร์จังก์ชัน (ไปทิศเหนือ) |
---|---|---|
8,000 ตัน | 5,000 ตัน | 4,000 ตัน |
หมายเหตุ
[แก้]- อัตราบรรทุกทั้งหมดไม่รวมน้ำหนักของรถจักรและตู้เชื้อเพลิง
- อัตราบรรทุกจากไชแอนน์ไปบิวฟอร์ดอาจเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 66.6 หากใช้รถจักรช่วยลาก
- อัตราบรรทุกอาจลดลงร้อยละ 10 สำหรับการขนส่งสินค้าด่วน
- บิกบอยถูกใช้งานอย่างจำกัดบนเส้นทางไชแอนน์–นอร์ทแพลตต์ (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความยาวของมันเกินกว่าวงเวียนกลับรถจักรที่นอร์ทแพลตต์)
อุบัติเหตุของหมายเลข 4005
[แก้]วันที่ 27 เมษายน 1953 รถจักรหมายเลข 4005 กำลังลากขบวนรถบรรทุกสินค้าผ่านทางตอนใต้ของรัฐไวโอมิง ขณะนั้นรถจักรได้กระโดดข้ามรางสับด้วยความเร็ว 50 ไมล์ต่อชั่วโมง (80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ทำให้รถจักรพลิกคว่ำไปทางซ้าย และตู้เชื้อเพลิงพร้อมตู้สินค้า 18 ตู้แรกในขบวนรถ 62 ตู้ก็ตกรางไปด้วย วิศวกรและพนักงานคุมเตาไฟเสียชีวิตทันทีขณะเกิดอุบัติเหตุ ส่วนพนักงานเบรกเสียชีวิตจากบาดแผลไฟไหม้รุนแรงที่โรงพยาบาลไม่กี่วันต่อมา ตู้เชื้อเพลิงทำลายห้องควบคุมจนเสียหาย และสินค้าจากตู้รถไฟ 18 คันที่ตกรางกระจัดกระจายไปทั่ว รถจักรได้รับการซ่อมแซมโดยยูเนียนแปซิฟิกที่โรงงานไชแอนน์และกลับมาให้บริการอีกครั้งจนถึงปี ค.ศ. 1962[38]
การเก็บรักษา
[แก้]แม้ว่าจะมีการสร้างบิ๊กบอยทั้งหมด 25 คัน แต่ก็มีเพียง 8 คันเท่านั้นที่ยังคงสภาพอยู่จนถึงปัจจุบัน โดย 2 คันถูกจัดแสดงภายในอาคาร ส่วนอีก 5 คันจัดแสดงกลางแจ้ง ส่วนอีก 1 คันคือหมายเลข 4014 ที่ยูเนียนแปซิฟิกได้ทำการบูรณะให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งผ่านโครงการอนุรักษ์รถจักรไอน้ำของบริษัท[16]
ประเภท | หมายเลขประจำรถ | ภาพ | ปีที่สร้าง | หมายเลขที่ผลิต | สถานที่ตั้ง | พิกัด | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
4884-1 | 4004 | กันยายน 1941 | 69575 | ฮอลิเดย์พาร์ก, ไชแอนน์, รัฐไวโอมิง | 41°08′12.30″N 104°47′59.4″W / 41.1367500°N 104.799833°W | ได้รับการบูรณะภายนอกใหม่ในปี 2018[39] ใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-103 ของหมายเลข 4002 | |
4884-1 | 4005 | กันยายน 1941 | 69576 | พิพิธภัณฑ์การขนส่งฟอร์นีย์, เดนเวอร์, รัฐโคโลราโด | 39°46′37.38″N 104°58′13.8″W / 39.7770500°N 104.970500°W | ประสบอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 27 เมษายน 1953 และได้รับการซ่อมแซม หลังจากนั้นบริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์ในเดือนมิถุนายน 1970.[15][40] ใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-4 ของหมายเลขไม่ทราบแน่ชัด | |
4884-1 | 4006 | กันยายน 1941 | 69577 | พิพิธภัณฑ์การขนส่งแห่งชาติ, เซนต์หลุยส์, รัฐมิสซูรี | 38°34′19.73″N 090°27′40.0″W / 38.5721472°N 90.461111°W | จะได้รับการบูรณะสภาพภายนอก วิ่งให้บริการขนส่งสินค้าระยะทาง 1,064,625 ไมล์ ไกลที่สุดในบรรดาบิ๊กบอย[16] ใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-104 ของหมายเลข 4003 | |
4884-1 | 4012 | พฤศจิกายน 1941 | 69583 | แหล่งประวัติศาสตร์แห่งชาติสตีมทาวน์ , สแครนตัน, รัฐเพนซิลเวเนีย | 41°24′26.96″N 075°40′10.8″W / 41.4074889°N 75.669667°W | จัดแสดงที่สตีมทาวน์ในเมืองเบลโลส์ฟอลส์, รัฐเวอร์มอนต์ จนถึงปี 1984 ได้รับการบูรณะสภาพภายนอก เสร็จสมบูรณ์ในปี 2021[41] จัดแสดงกลางแจ้ง[42] เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินกว่าแท่นหมุนและโรงเก็บรถจักรของสตีมทาวน์[42] เจ้าหน้าที่สตีมทาวน์เชื่อว่าหมายเลข 4012 สามารถบูรณะให้กลับมาใช้งานได้[เมื่อไร?] แต่แนะนำให้ประเมินโครงสร้างรางรถไฟโดยรอบก่อนว่าสามารถรองรับน้ำหนักของเครื่องจักรได้หรือไม่[42][43] ใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-114 ของหมายเลข 4013 | |
4884-1 | 4014 | พฤศจิกายน 1941 | 69585 | ยูเนียนแปซิฟิกเรลโรด, ไชแอนน์, รัฐไวโอมิง | 41°7′46.9308″N 104°48′49.1688″W / 41.129703000°N 104.813658000°W | หลังจากจัดแสดงอยู่นานที่พิพิธภัณฑ์รถไฟเรลไจแอนส์ ในเมืองโพโมนา, รัฐแคลิฟอร์เนีย[44] หมายเลข 4014 ถูกยูเนียนแปซิฟิกซื้อคืน บูรณะให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และออกวิ่งให้บริการทัวร์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 โดยประจำการอยู่ที่เมืองไชแอนน์, รัฐไวโอมิง ปัจจุบันครองตำแหน่งรถจักรไอน้ำที่ใหญ่ที่สุด หนักที่สุด และทรงพลังที่สุดในโลกที่ยังคงใช้งานได้[17] เดิมใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-116 จากหมายเลข 4015[45] แต่ปัจจุบันใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-311 (ซึ่งเคยใช้งานกับรถจักรไอน้ำชาลเลนเจอร์ หมายเลข 3985) | |
4884-1 | 4017 | ธันวาคม 1941 | 69588 | พิพิธภัณฑ์การรถไฟแห่งชาติ, กรีนเบย์, รัฐวิสคอนซิน | 44°29′02.70″N 088°02′55.1″W / 44.4840833°N 88.048639°W | ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในโรงเก็บที่ควบคุมอุณหภูมิ[16][46] เคยมีเรื่องเล่าว่า ในปี 1970 เจ้าหน้ารถจักรไอน้ำฟลายอิงสกอตส์แมน จากอังกฤษที่มาเยี่ยมชม พยายามทำให้หมายเลข 4023 กลับมาใช้งานไอน้ำอีกครั้งแบบไม่เป็นทางการ แต่ล้มเหลว เนื่องจากการใช้ถ่านหินเพียง 20 ตัน ยังไม่สามารถทำให้หม้อน้ำร้อนพอที่จะผลิตไอน้ำได้[47] ใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-404 ของหมายเลข 4023 | |
4884-1 | 4018 | ธันวาคม 1941 | 69589 | พิพิธภัณฑ์การรถไฟอเมริกัน, ฟริสโก, รัฐเท็กซัส | 33°08′40″N 96°50′00″W / 33.144513°N 96.833444°W | ย้ายมาที่ตั้งปัจจุบันจากที่ตั้งเดิมของพิพิธภัณฑ์ในแดลลัส, รัฐเท็กซัส โดยทางรถไฟเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2013[48] ใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-101 ของหมายเลข 4000[49] | |
4884-2 | 4023 | พฤศจิกายน 1944 | 72780 | สวนสาธารณะเคเนฟิก, โอมาฮา, รัฐเนแบรสกา | 41°13′55.7″N 095°55′4.1″W / 41.232139°N 95.917806°W | บิ๊กบอยที่เหลืออยู่เพียงคันเดียวจากกลุ่มที่สองที่สร้างขึ้นในปี 1944 และเป็นบิกบอยคันเดียวที่ทราบกันว่าถูกเคลื่อนย้ายทางถนน[16] ใช้รถลำเลียงหมายเลข 25-C-105 ของหมายเลข 4004 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Peck, Combes & Augur 1950, pp. 501, 519, 523, 545.
- ↑ "Challenger No. 3985". Union Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2019. สืบค้นเมื่อ May 23, 2019.
- ↑ Solomon 2009, p. 70.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Glischinski, Steve (August 21, 2013). "Big Boy story began in 1940". Trains. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2018. สืบค้นเมื่อ July 11, 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Welsh, Joe; Boyd, Jim; Howes Jr., William F. (2006). The American Railroad: Working for the Nation (1st ed.). MBI Publishing. p. 104. ISBN 978-0-7603-1631-3.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Vantuono, William C. (July 9, 2019). "Railway Age, October 4, 1941: UP's "Big Boy" debuts". Railway Age. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2019. สืบค้นเมื่อ July 11, 2019.
- ↑ Elliott, Dan (April 15, 2014). "Huge Big Boy steam locomotive coming back to life". Yahoo! News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ April 15, 2014.
- ↑ 8.0 8.1 Morrison, Tom (2018-07-10). The American Steam Locomotive in the Twentieth Century (ภาษาอังกฤษ). McFarland. ISBN 9781476627939.
- ↑ 9.0 9.1 Solomon 2009, p. 75.
- ↑ Morrison, Tom (2018). The American Steam Locomotive in the Twentieth Century (1st ed.). McFarland & Company. pp. 533–534. ISBN 978-1-4766-6582-5.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Kratville, William (1972). Big Boy. Kratville Publications.
- ↑ 12.0 12.1 Gruver, Mead (May 8, 2019). "Refurbished 'Big Boy' locomotive weighs more than a fully loaded Boeing 747". The Associated Press. USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2019. สืบค้นเมื่อ June 12, 2019.
- ↑ King, Ed (February 15, 2018). "Big Boy versus Allegheny". Trains. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2018. สืบค้นเมื่อ July 11, 2019.
- ↑ Solomon, Brian (2000). Union Pacific Railroad. Railroad Color History (1st ed.). Voyageur Press. p. 104. ISBN 0-7603-0756-3.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Frank, Al. "Big Boy". Forney Museum of Transportation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2018. สืบค้นเมื่อ July 27, 2019.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 Wrinn, Jim (February 15, 2018). "Where to find Big Boy locomotives". Trains. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2018. สืบค้นเมื่อ June 16, 2019.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "Big Boy No. 4014". Union Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2019. สืบค้นเมื่อ June 5, 2019.
- ↑ 18.0 18.1 Report of Tests (PDF) (Technical report). Union Pacific Railroad Company Research & Mechanical Standards.
- ↑ 19.0 19.1 Drury 2015, p. 319.
- ↑ "Marklin 37994 Union Pacific "Big Boy" Steam Loco". Trainz.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2019. สืบค้นเมื่อ July 11, 2019.
- ↑ Union Pacific's Big Boys, The complete story from history to restoration. Kalmbach Media. 2020.
- ↑ Morgan, D.P. Big Boy,Trains magazine, November 1958
- ↑ Klein, Maury (2006). Union Pacific: Volume II, 1894-1969 (2nd ed.). University of Minnesota Press. p. 479. ISBN 978-0-8166-4460-5.
- ↑ Scott, Ramsey (May 4, 2019). "The Big Boy leaves the shop and heads into history". Wyoming Tribune Eagle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2019. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.
- ↑ Sweeney, Steve (May 4, 2019). "UP steam crew has Big Boy ready to roll". Trains. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2019. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.
- ↑ "2019 Union Pacific Steam Schedule". Union Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
- ↑ "World's largest locomotive coming to West Chicago to celebrate 150th anniversary of Transcontinental Railroad completion". WLS-TV. July 24, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
- ↑ 28.0 28.1 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.6" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 29.0 29.1 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.7" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.9" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.10" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 32.0 32.1 32.2 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.11" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.12" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.13" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.14" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 36.0 36.1 36.2 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Wyoming Division Special Rules No.15" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ 37.0 37.1 "UNION PACIFIC RAILROAD COMPANY Eastern District Nebraska Division Special Rules No.9" (PDF). Union Pacific Railroad.
- ↑ "DISASTER ON THE RAILS: The Wreck of the 4005". Forney Museum of Transportation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2018. สืบค้นเมื่อ June 14, 2019.
- ↑ "Cheyenne's Big Boy 4004 to shine in new paint July 9". Trains. June 26, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2019. สืบค้นเมื่อ July 12, 2019.
- ↑ King, Kat (September 4, 2009). "The Forney Museum is worth getting around to". The Denver Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2019. สืบค้นเมื่อ July 27, 2019.
- ↑ "Steamtown National Historic Site's Union Pacific "Big Boy" No. 4012 Removed From Public Display For Cosmetic Restoration and Painting - Steamtown National Historic Site (U.S. National Park Service)".
- ↑ 42.0 42.1 42.2 Chappell, Gordon. "Union Pacific Railroad No. 4012". Steam Over Scranton: Special History Study, American Steam Locomotives. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2012. สืบค้นเมื่อ March 13, 2012.
- ↑ "Steamtown's Locomotives and Cars". Steamtown National Historic Site. National Park Service. สืบค้นเมื่อ March 13, 2012.
- ↑ "Union Pacific "Big Boy" 4014". RailGiants Train Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2019. สืบค้นเมื่อ July 13, 2019.
- ↑ QBL1201713 (2008-06-14), English: Tender Classification Plate 25-C-116 (UP 4014). Original plate number still intact after 72 years., สืบค้นเมื่อ 2022-11-23
- ↑ "National Railroad Museum - Green Bay, WI 54304". National Railroad Museum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
- ↑ Hinchcliffe, Richard; Wagner, Bill (2023). Flying Scotsman in America The 1970 Tour. The Hill, Stroud Gloucestershire; United Kingdom: Amberley. p. 76. ISBN 978-1-3981-1521-7.
- ↑ "Big Boy Steam Locomotive Arrives at its New Home in Frisco". Museum of the American Railroad. August 26, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2016. สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
- ↑ "Museum of the American Railroad". Museum of the American Railroad (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.