ยุทธนาวีที่ซามาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการซามาร์)
ยุทธนาวีที่ซามาร์
ส่วนหนึ่งของ ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต การยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์ (ค.ศ.1944–ค.ศ.1945) สงครามแปซิฟิก (สงครามโลกครั้งที่ 2)

The เรือบรรทุกเรรื่องบินคุ้มกันขนาดเล็ก ยูเอสเอส แกมเบีย เบย์ (CVE-73) กำลังเกิดเพลิงไหม้และจมในเวลาต่อมา ในยุทธการซามาร์
วันที่25 ตุลาคม ค.ศ. 1944
สถานที่
ทางตะวันออกของเกาะซามาร์ ประเทศฟิลิปปินส์
ผล สหรัฐอเมริกาชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ คลิฟตัน สเปรค จักรวรรดิญี่ปุ่น ทาเคโอะ คูริตะ
กำลัง
แทฟฟี 3
เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็ก 6 ลำ
เรือพิฆาต 3 ลำ
เรือพิฆาตคุ้มกัน 4 ลำ
อากาศยาน 400 ลำ จากแทฟฟี 1, 2, 3
กองกำลังกลางญี่ปุ่น
เรือประจัญบาน 4 ลำ
เรือลาดตระเวนหนัก 6 ลำ
เรือลาดตระเวนเบา 2 ลำ
เรือพิฆาต 11 ลำ
อากาศยาน 30 ลำ คะมิกะเซะ))
ความสูญเสีย
เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กถูกจม 2 ลำ
เรือพิฆาตถูกจม 2 ลำ
เรือพิฆาตคุ้มกันถูกจม 1 ลำ
อากาศยานสูญหาย 23 ลำ
เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กเสียหาย 3 ลำ
เรือพิฆาตเสียหาย 1 ลำ
เรือพิฆาตคุ้มกันเสียหาย 2 ลำ
ทหารที่เสียชีวิตและหายไปรวม 1,583 คน
ทหารบาดเจ็บ 913 คน

เรือลาดตระเวนหนักถูกจม 3 ลำ
เรือลาดตระเวนหนักเสียหาย 3 ลำ
เรือพิฆาตเสียหาย 1 ลำ


ไม่ทราบจำนวนทหารที่บาดเจ็บและเสียชีวิต

ยุทธนาวีที่ซามาร์ (ฟิลิปปินส์: Labanan sa may Samar) เป็นส่วนหนึ่งของยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตซึ่งเป็นหนึ่งในสงครามทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ซึ่งเกิดเหตุการณืที่เกาะซามาร์ในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1944 โดยที่กองทัพเรืออเมริกันยังไม่ได้เตรียมตัวไว้กับกองกำลังฝ่ายอักษะถือว่าเป็นยุทธการทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ

ภูมิหลัง[แก้]

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นพยายามตัดกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะเดียวกัน จอมพลดักลาส แมคอาเธอร์ ได้ยกพลขึ้นบก 20,000 นายขึ้นฟิลิปปินส์ ทำให้ญี่ปุ่นเกิดตะหนักว่าหากสูญเสียฟิลิปปินส์ไปจะทำให้เส้นทางการขนส่งเสบียงไปยังกองทัพที่ประจำอยู่ในอินเดียตะวันออกจะถูกตัดไปและจะสูญเสียแหล่งน้ำมันไปด้วย ดังนั้นจึงคิดแผนการรบใหม่ที่ชื่อว่า แผน"โชโก" หรือ "แผนแห่งชัยชนะ" โดยมีเป้าหมายคือทำลายกองกำลังของแมคอาเธอร์บนชายหาดเลย์เต

แผนโชโก[แก้]

เป็นแผนการดำเนินการรบของญี่ปุ่นโดยแบ่งออกเป็ย 3 กองกำลัง คือ กองกำลังทางเหนือ กองกำลังกลางและกองกำลังทางใต้ โดยมีขั้นตอนแผนดังนี้
1.กองกำลังกลาง นำโดย พลเรือเอก ทาเคโอะ คูริตะ จะมุ่งหน้าตรงไปยังเลย์เตผ่านทางช่องแคบ แซน เบอร์นาดิโน่
2.กองกำลังทางใต้จะแล่นขึ้นเหนือไปหากองกำลังของแมคอาเธอร์ผ่านช่องแคบซูริเกา
3.กองกำลังทางเหนือซึ่งมีแต่เรือลำเลียงปราศจากแสนยานุภาพทำหน้าที่เป็นนกต่อ โดยจะให้กองทัพเรือของ พลเรือเอก บูล ฮอลซีย์ ให้ผละออกไปเและให้กองกำลังกลางของญี่ปุ่นเข้า สู่เลย์เตได้อย่างสะดวก

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

เช้าตรู่ของวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.1944 กองกำลังกลางญี่ปุ่นได้ปรากฏขึ้นนอกชายฝั่งเกาะซามาร์ประเทศฟิลิปปินส์ เวลา 6.35 น.กองกำลังกลางของญี่ปุ่นได้พบเสาเรือที่เส้นขอบฟ้า พวกเขาคาดว่าเรือที่กำลังมุ่งหน้ามาทางนี้คือเรือส่วนหนึ่งของกองทัพเรือที่ 3 แต่พวกเขาเดาผิดถนัด แต่มันคือหน่วยปฏิบัติการเล็กของกองเรือที่ 7 ชื่อว่า"แทฟฟี 3" โดยมีเรือขนาดเล็กเพียงเพื่อสนับสนุนกองกำลังทางบกและสอดแนมเรือดำน้ำ เวลา 7.00 น.เรือประจัญบานยะมะโตะได้เปิดฉากยิงกองเรือย่อยแทฟฟี่3 พลเรือเอก ทาเคโอะ คูริตะ คิดว่าตนกำลังโจมตีกองทัพเรือที่ 3 จึงเร่งเรือเข้าประจัญบาน แต่เขากลับใจร้อนที่จะโจมตีกองทัพเรือที่ 3 ทำให้เรือของกองกำลังกลางกระจัดกระจายไปซึ่งเป็นความผิดพลาดกลยุทธ์ในการรบ ในขณะเดียวกัน พลเรือตรี คลิฟตัน ซิกกี้ สเปรค ผู้บังคับการกองเรือย่อยแทฟฟี 3 ได้รู้ว่าตนนั้นมีกำลังและอาวุธน้อยกว่า โดยให้เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็ก 6 ลำอยู่ภายในวงคุ้มกันของเรือพิฆาต 3 ลำและเรือคุ้มกันเรือพิฆาต 4 ลำ หลังจากน้นเขาบัญชาการให้กองเรือเลี้ยวไปทางตะวันออกเพื่อให้หลบพ้นจากการโจมตีของกองกำลังกลางขณะเดียวกันก็ได้ส่งอากาศยานทั้งหมดขึ้นไปบินโจมตี ขณะเดียวกันเรือพิฆาตกับเรือคุ้มกันเรือพิฆาตก็ได้ปล่อยควันเคมีสีดำออกมาเพื่อให้เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กได้หลีกออกไป

ในตอนนั้นเรือของแทฟฟี่3ที่อยู่ใกล้กับกองกำลังกลางของญี่ปุ่นมากที่สุดคือเรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์นสตัน (DD-557)โดยมีผู้การเรือลำนี้คือ นาวาโทเออร์เนส อีวานส์ ได้สั่งเข้ารุกกับกองกำลังกลางทำให้เรือลำนี้ผละออกจากขบวนป้องกัน กองกำลังกลางได้กระหน่ำยิงเรือจอห์นสตันที่กำลังเข้ามาแต่กระสุนกลับไม่โดนเรือจอห์นสตัน เวลา 7.10 น. เรือจอห์นสตันเริ่มยิงเรือลาดตระเวนหนักคุมาโน่ เวลา 7.15 น. เรือจอห์นสตันยิงปืนของเขาโดนหอบังคับการของเรือคุมาโน่แล้วในเวลาต่อมาเรือจอห์นสตันได้ยิงตอร์ปิโดไปยังเรือคุมาโน่ หลังจากนั้นก็เกิดระเบิดอย่างรุนแรงที่ส่วนหัวเรือคุมาโน่ ทำให้เรือคุมาโน่จมลงในที่สุด ในขณะเดียวกันอากาศยานจากกองเรือย่อยแทฟฟี 3 ได้โจมตีเรือของกองกำลังกลางเพื่อให้กองกำลังกลางได้ผละออกไป ต่อมาในไม่ช้าเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กจาก แทฟฟี 1 และ 2 ได้ส่งอากาศยานมาช่วยในการโจมตี จากการโจมตีของอากาศยานอเมริกันทำให้กองกำลังกลางต้องบีบให้เรือรบแปรขบวนตั้งรับได้สำเร็จ ในช่วงพักการโจมตีของกองกำลังกลางของญี่ปุ่นนี้เองเปิดช่องให้เรือพิฆาตโฮลและเฮียร์แมนยิงตอร์ปิโดออกไป ตอร์ปิโดของเรือพิฆาตเฮียร์แมนพลาดเป้าหมายที่ตั้งใจไว้แต่กลับพุ่งตรงไปยังเรือประจัญบานยะมะโตะ หลังจากที่เรือประจัญบานยะมะโตะถูกโจมตีทั้งทางอากาศและตอร์ปิโดเรือประจัญบานยะมะโตะไม่เข้าร่วมรบอีกเลย แต่เรือรบที่เหลือของกองกำลังกลางยังคงยิงใส่กองเรือย่อยแทฟฟี 3 ต่อไป เวลา 7.30 น.เรือประจัญบานคอนโกะได้ยิงปินใหญ่จากเรือแล้วกระสุนของมันก็เข้าทะลุที่ห้องเครื่องของเรือจอห์นสตัน หลังจากนั้นอีก 1 นาทีต่อมาเรือประจัญบานยะมะโตะได้ยิงปืน 6 นิ้วเข้าถล่มส่วนหอบังคับการของเรือจอห์นสตัน ส่งผลให้ความเร็วของเรือจอห์นสตันเหลือครึ่งหนึ่งและยังทำให้ระบบไฟฟ้าป้อมปืนของเรือไม่ทำงาน ในเวลาต่อมาช่างของเรือสามารถกู้ไฟฟ้าให้กับป้อมปืนกลับมาใช้งานได้ นาวาโท เออร์เนส อีวานส์ ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสยังยืนยันที่จะไม่สละเรือ เวลา 7.35 น.เรือคุ้มกันเรือพิฆาตยูเอสเอส ซามูเอล บี โรเบิร์ต (DE-413) ได้เข้าร่วมการรบ หลังจากนั้นเรือลาดตระเวนหนักโชคาอิเริ่มยิงกระสุนเข้าใส่เรือพิฆาตยูเอสเอส ซามูเอล บี โรเบิร์ต แต่เรือโรเบิร์ตเข้ามาใกล้มากแล้วจนเรือลาดตระเวนหนักโชคาอิไม่อาจจะกดปืนได้ต่ำพอกระสุนจึงลอยข้ามไป ต่อมาเรือโรเบิร์ตได้ยิงตอร์ปิโดจำนวนสามนัดไปยังเรือลาดตระเวนหนักโชคาอิและกระทบที่เรือโชคาอิอย่างจัง จากนั้นเรือโรเบิร์ตก็ยิงปืนจากเรือกระสุนได้โดนเข้าตรงส่วนหอบังคับการของเรือโชคาอิ แต่แล้วในเวลา 8.50 น. เรือโรเบิร์ตก็ถูกยิงจากเรือโชคาอิจนเหลือป้อมปืนที่ใช้งานได้เพียงป้อมเดียว ในการยืนหยัดต่อสู้อย่างดุเดือดครั้งสุดท้ายเรือโรเบิร์ตได้ยิงกระสุนของมันโดนส่วนหอบังคับการของเรือลาดตระเวนหนักชิคุม่าจนลุกเป็นไฟและทำลายป้อมปืนใหญ่ส่วนหน้าเรือได้ ชั่วขณะต่อมาเรือประจัญบานคอนโกะได้ยิงปืนจากเรือแล้วโดนเรือโรเบิร์ตทำให้เรือโรเบิร์ตเกิดรูขนาดใหญ่ที่ข้างกราบเรือ เวลา 9.10 น.เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์นสตัน กำลังถูกกระหน่ำด้วยกระสุนจากเรือรบของญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันเรือลาดตระเวนเบายาฮากิได้นำเรือพิฆาต 4 ลำแล่นมาสู้กับเรือบรรทุกเคื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กของอเมริกันที่ถูกตัดกำลัง เรืออเมริกันที่อยู่ในตำแหน่งนั้นที่จะหยุดยั้งได้ก็คือเรือจอห์นสตันที่บอบช้ำ เรือจอห์นสตันยิงปืนจากเรือที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่กระบอกและได้นำเรือจอห์นสตันเข้าตัดแถวขบวนของเรือญี่ปุ่นที่กำลังเข้ามาโจมตีเรือบรรทุกเคื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กของอเมริกัน แต่ก่อนที่เรือจอห์นสตันจะเข้ามาตัดแถวขบวนเรือลาดตระเวนเบายาฮากิหักเลี้ยวกระทันหันแล้วเรือพิฆาตอีก 4 ลำก็หักเลี้ยวตาม จากนั้นเรือพิฆาตของญี่ปุ่นได้ยิงตอร์ปิโดไปยังเรือจอห์นสตันแต่ตอร์ปิโดกลับพลาดเป้าไป หลังจากนั้นเรือรบของญี่ปุ้นอีก 5 ลำก็กระหน่ำยิงเข้าใส่เรือจอห์นสตัน เรือจอห์นสตันได้แต่เพียงยิงปืนไปหาศัตรูแบบไร้ทิศทางอย่างสิ้นหวัง ต่อมากระสุนจากเรือรบของญี่ปุ่นยิงเข้ากลางลำเรือจอห์นสตันทำให้เรือหยุดนิ่งสนิท เรือพิฆาตของญี่ปุ่น 4 ลำตีวงล้อมเรือจอห์นสตันที่หมดกำลังแล้วยิงอย่างไม่หยุดหย่อน เวลา 9.45 น.ผู้การเรือจอห์นสตัน นาวาโทเออร์เนส อีวานส์ ได้ออกคำสั่งสละเรือ เวลา 10.05 น.เรือคุ้มกันเรือพิฆาตยูเอสเอส ซามูเอล บี โรเบิร์ต สุดยอดเรือที่เล่าขานกันในกองทัพเรือว่าเป็น"เรือคุ้มกันเรือพิฆาตที่ต่อสู้ราวกับเรือประจัญบาน"ก็ได้จมลงสู่ท้องทะเล ทหารเรือ 89 นายจมลงพร้อมกับเรือ เวลา 10.10 น. เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์นสตันก็ได้จมลงสู่ทะเล ทหารเรือ 186 นายหายสาบสูญ เวลา 10.45 น.ฝูงบินคะมิกะเซะของญี่ปุ่นตรวจพบเจอเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กยูเอสเอส เซนต์โล (CVE-63)โดยไม่คาดหมาย เวลา 10.50 น. เครื่องบินญี่ปุ่นที่ขับโดยเรืออากาศโทเซกิได้ดำดิ่งลงไปยังเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กยูเอสเอส ไวท์ เพลนส์ (CVE-66) เครื่องบินของเขาถูกยิงด้วยปืนต่อสู้อากาศยานจากเรือไวท์เพลนส์ เขาจึงเปลี่ยนไปทางเรือเซนต์โล เวลา 10.53 น.เครื่องบินญี่ปุ่นของเรืออากาศโทเซกิก็ได้ดำดิ่งเข้าตรงดาดฟ้าของเรือเซนต์โล ส่งผลให้ชั้นดาดฟ้าเรือไฟไหม้อย่างหนักและใต้ท้องเรือก็เกิดระเบิดจากเครื่องบินในใต้ท้องเรือ เวลา 11.00 น. ผู้การเรือเซนต์โล ฟรานซิส แมคเคนนา ได้ออกคำสั่งสละเรือ เวลา 11.20 น.การระเบิดครั้งใหญ่จากเครื่องบินในใต้ท้องเรือทำให้เรือเซนต์โลฉีกเรือเซนต์โลแยกเป็นเสี่ยง ๆ เวลา 11.25 น.เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็กยูเอสเอส เซนต์โลได้จมลงสู่ท้องทะเล ทหารเรือสูญหาย 114 คน ในเวลาต่อมา พลเรือเอก ทาเคโอะ คูริตะ ให้สัญญาณกับเรือในกองกำลังกลาง 20 ลำให้กลับฐาน