ยาน ไมแด
ยาน ไมแด | |
---|---|
เกิด | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 วานา-การิสแต เกรสปาร์นู เขตผู้ว่าการลิโวเนีย จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 มอสโก สหภาพโซเวียต | (49 ปี)
รับใช้ | รัสเซีย เอสโตเนีย |
แผนก/ | กองทัพจักรวรรดิรัสเซีย กองทัพบกเอสโตเนีย |
ประจำการ | ค.ศ. 1915–1918 (กองทัพจักรวรรดิรัสเซีย) ค.ศ. 1918–1940, ค.ศ. 1944 (กองทัพบกเอสโตเนีย) |
ชั้นยศ | พลตรี |
บังคับบัญชา | กองร้อยที่ 1 กรมที่ 6 (ค.ศ. 1918–1920) เสนาธิการสหพันธ์พิทักษ์เอสโตเนีย (ค.ศ. 1927–1934) กรมรถไฟหุ้มเกราะ (ค.ศ. 1934–1935) เสนาธิกาสหพันธ์พิทักษ์เอสโตเนีย (ค.ศ. 1935–1940) กองพลที่ 4 (ค.ศ. 1940) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเอสโตเนีย (ค.ศ. 1944) |
การยุทธ์ | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามประกาศอิสรภาพเอสโตเนีย สงครามโลกครั้งที่สอง |
บำเหน็จ | กางเขนแห่งเสรีภาพ เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งลักเปลซิส เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งกาชาดเอสโตเนีย เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งกางเขนอินทรี เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งดาราขาว |
ยาน ไมแด, เวเออร์ II/3 (เอสโตเนีย: Jaan Maide; 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 – 10 สิงหาคม ค.ศ. 1945) เป็นนายทหารอาวุโสของกองทัพเอสโตเนียที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, สงครามประกาศอิสรภาพเอสโตเนีย และสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเอสโตเนียโดยรัฐบาลของออตโต ตีฟ เมื่อ ค.ศ. 1944
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]ไมแดเกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 ในวานา-การิสแต โดยเป็นบุตรของโยฮัน และลิโซ ไมแด
อาชีพทหาร
[แก้]ไมแดได้รับการเกณฑ์เข้ากองทัพจักรวรรดิรัสเซียใน ค.ศ. 1915 เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยชั้นสัญญาบัตรในเคียฟในฐานะนายธงเมื่อ 2459 และรับราชการในกรมพลปืนไรเฟิลลัตเวียตั้งแต่ ค.ศ. 1917 ถึง 1918[1]
หลังจากคำประกาศอิสรภาพเอสโตเนีย ไมแดได้เข้าร่วมกองทัพบกเอสโตเนียที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับบัญชากองร้อยที่ 1 กรมที่ 6[2] เขาได้สั่งการหน่วยของเขาในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพเอสโตเนีย และได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยโทเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920[1]
หลังสงคราม ไมแดอยู่ในกองทัพ เขาสำเร็จหลักสูตรทหารเสนาธิการใน ค.ศ. 1923 และได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยเอก ส่วนใน ค.ศ. 1927 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการของสหพันธ์พิทักษ์เอสโตเนีย (Kaitseliit) กระทั่งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 ได้รับการเลื่อนยศเป็นพันเอก และตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1934 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1935 เขาได้บัญชาการกรมรถไฟหุ้มเกราะ ก่อนที่จะกลับสู่ตำแหน่งเดิมในฐานะเสนาธิกาสหพันธ์พิทักษ์เอสโตเนีย กระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับบัญชากองพลที่ 4 ที่สถาปนาขึ้นใหม่ในวิลยันดี[1]
ไมแดรอดชีวิตจากการบุกครองของโซเวียตครั้งแรก ระหว่างการบุกครองเอสโตเนียของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ไมแดดำรงตำแหน่งเสนาธิการ และต่อมาเป็นผู้บัญชาการโอมาไกต์แซ (กองกำลังพิทักษ์สังคม) ซึ่งเป็นหนึ่งในกองกำลังอาสาสมัครของสหพันธ์พิทักษ์เอสโตเนีย[1]
หลังจากการล่าถอยของเยอรมันและการรุกของโซเวียตในเดือนกันยายน ค.ศ. 1944 รัฐบาลของออตโต ตีฟ ได้พยายามครั้งสุดท้ายที่จะกอบกู้อิสรภาพของเอสโตเนีย โดยเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1944 ไมแดได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเอสโตเนีย และได้รับการเลื่อนยศเป็นพลตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน[3] แม้ว่าเขาจะพยายามปฏิรูปกองทัพ แต่แผนต้านทานการรุกเอสโตเนียก็ล้มเหลว ทาลลินน์ถูกโค่นเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1944 และตัวไมแดเองก็ถูกจับกุมในมูนาลัสแมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1944[4]
การเสียชีวิต
[แก้]ไมแดถูกส่งตัวไปยังเรือนจำบูตีร์กาในมอสโก และถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1945[1]
บําเหน็จและเครื่องอิสริยาภรณ์
[แก้]บําเหน็จและเครื่องอิสริยาภรณ์เอสโตเนีย | |
กางเขนแห่งเสรีภาพ, ชั้นที่ 2 อันดับที่ 3 | |
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งดาราขาว, ชั้นที่ 3 | |
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งกางเขนอินทรี, ชั้นที่ 3 | |
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งกาชาดเอสโตเนีย, ชั้นที่ 2 | |
บําเหน็จต่างประเทศ | |
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งลักเปลซิส, ชั้นที่ 3 (ประเทศลัตเวีย) |
การเลื่อนยศ
[แก้]ยศ | วันที่ |
---|---|
ร้อยโท | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 |
ร้อยเอกสำรอง | 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 |
ร้อยเอก | 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 |
พันตรี | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 |
พันโท | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928 |
พันเอก | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 |
พลตรี | 21 กันยายน ค.ศ. 1944 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Maide, Jaan" (ภาษาเอสโตเนีย). Eesti Entsüklopeedia. สืบค้นเมื่อ 30 October 2016.
- ↑ "Estonian Declaration of Independence 24 February 1918". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2007. สืบค้นเมื่อ 20 September 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "Kaitseväe juhatajad" (ภาษาเอสโตเนีย). Estonian Defence Forces. สืบค้นเมื่อ 30 October 2016.
- ↑ "Kaitseväe ajalugu" (ภาษาเอสโตเนีย). Estonian Defence Forces. สืบค้นเมื่อ 30 October 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยาน ไมแด