ยศข้าราชการทหารและพลเรือนของสยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยศข้าราชการ ในที่นี้จะกล่าวถึง ยศสำหรับข้าราชการทหารและพลเรือนของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีการพระราชทานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2417 สำหรับทหาร และ พ.ศ. 2442 สำหรับพลเรือน จนกระทั่งยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน ข้าราชการในราชสำนัก ในปี พ.ศ. 2485

สมัยแรกเริ่ม (พ.ศ. 2417 - พ.ศ. 2431)[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ยศคอลอเนล (ก่อนปี พ.ศ. 2431)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับยศทหารตามอย่างตะวันตก ซึ่งในเวลานั้นมีเพียงยศทหารบกเท่านั้น จะเป็นคำทับศัพท์อย่างเดิม

ลำดับที่ ทหารบก
1 คอลอเนล

(Colonel)

2 ลุตเตอร์แนนท์-คอลอเนล

(Lieutenant colonel)

3 เมเจอร์

(Major)

4 กัปตัน

(Captain)

5 ลุตเตอร์แนนท์

(Lieutenant)

6 ซับ-ลุตเตอร์แนนท์

(Sub-Lieutenant)

7 เมเจอร์ซายันต์

(Major sergeant)

8 ซายันต์

(Sergeant)

9 คอร์พอรัล

(Corporal)

10 แลนซ์คอพอรัล

(Lance corporal)

11 ไปร์เวต

(Private)

การแต่งเครื่องหมายยศจะติดที่คอเสื้อ โดยใช้เครื่องหมายจักรเป็นการบอกชั้นยศ และมีการเปลี่ยนเครื่องแบบเป็นติดอินทรธนูราวปี พ.ศ. 2431

สมัยแห่งอินทรธนู (พ.ศ. 2431 - รัชกาลที่ 6)[แก้]

ในสมัยนี้มีการปฏิรูปกองทัพให้มีขนาดเพิ่มมากขึ้น กำเนิดกรมทหารเรือ มีการเปลี่ยนคำทับศัพท์ยศทหารให้เป็นภาษาไทย และมีการกำหนดยศข้าราชพลเรือนและราชสำนักขึ้นในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งข้าราชการในราชสำนักมีเพียงมหาดเล็กเท่านั้น

ลำดับที่ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ พลเรือน มหาดเล็ก
1 นายทัพ นายทัพเรือ นายทัพอากาศ นายตำรวจ - -
2 นายพลเอก นายพลเรือเอก นายพลอากาศเอก นายพลตำรวจเอก ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับเอก จางวางมหาดเล็ก
3 นายพลโท นายพลเรือโท นายพลอากาศโท นายพลตำรวจโท ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับโท -
4 นายพลตรี นายพลเรือตรี นายพลอากาศตรี นายพลตำรวจตรี ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับตรี -
5 นายพันเอก นายนาวาเอก นายนาวาอากาศเอก นายพันตำรวจเอก ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับเอก หัวหมื่นมหาดเล็ก
6 นายพันโท นายนาวาโท นายนาวาอากาศโท นายพันตำรวจโท ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับโท รองหัวหมื่น
7 นายพันตรี นายนาวาตรี นายนาวาอากาศตรี นายพันตำรวจตรี ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับตรี จ่ามหาดเล็ก
8 นายร้อยเอก นายเรือเอก นายเรืออากาศเอก นายร้อยตำรวจเอก ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับเอก หุ้มแพรมหาดเล็ก
9 นายร้อยโท นายเรือโท นายเรืออากาศโท นายร้อยตำรวจโท ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับโท -
10 นายร้อยตรี นายเรือตรี นายเรืออากาศตรี นายร้อยตำรวจตรี ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับตรี มหาดเล็กวิเศษ
11 จ่านายสิบเอก นายพันจ่าเอก นายพันจ่าอากาศเอก - - -
12 จ่านายสิบโท นายพันจ่าโท นายพันจ่าอากาศโท นายดาบตำรวจ
13 จ่านายสิบตรี นายพันจ่าตรี นายพันจ่าอากาศตรี จ่านายสิบตำรวจ - พันจ่าเด็กชา
14 สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก สิบตำรวจเอก - จ่าเด็กชา
15 สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท สิบตำรวจโท - -
16 สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี สิบตำรวจตรี - -
17 พลทหาร พลทหารเรือ พลทหารอากาศ พลตำรวจ - เด็กชา

1.การแต่งเครื่องแบบทหารให้ติดอินทรธนูโดยให้จักรเรียงตรง ต่อมามีการประกาศใช้พระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารราบราว พ.ศ. 2442 จึงมีการเปลี่ยนการเรียงจักรหมายยศให้เรียงตรงปลายบ่าและคอเสื้อแทน

2.ข้าราชการพลเรือนติดอินทรธนูตามบ่า

3.ยศมหาดเล็กจะตามหลังบรรดาศักดิ์

4.ข้าราชการในราชสำนักจะติดอินทรธนูรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

5.ยศนายทัพกับนายทัพเรือ เป็นยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังเปลี่ยนเป็นจอมพลและจอมพลเรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

6.เครื่องหมายนายทัพจะเป็นรูปจักรเรียงตรง 3 วง ตามด้วยคทาไขว้ตรงปลายบ่า

สมัยแห่งชั้นยศและการยกเลิก (สมัยรัชกาลที่ 6 - พ.ศ. 2485)[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ทรงเครื่องแบบปกติยศมหาเสวกเอก แผงพระศอสีดำ ลายปักดิ้นทอง พร้อมดาราสีทองบอกชั้นยศ

ในยุคสมัยนี้เป็นสมัยที่มีการกำหนดชั้นยศมากที่สุด รวมถึงแบ่งย่อยยศข้าราชการในราชสำนักออกเป็นหลายชั้น และใช้ไปจนถึงการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2485 รวมถึงการเปลี่ยนคำว่านายทัพให้เป็นจอมพล นายทัพเรือให้เป็นจอมพลเรือในกองทัพเรือ

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ติดอินทรธนูมหาอำมาตย์นายกในเครื่องแบบเต็มยศขาว อินทรธนูเป็นลายปักดิ้นทองทั้งแผ่นรูปช่อชัยพฤกษ์ พื้นอินทรธนูสีดำ พร้อมเครื่องหมายจักรด้ามสอดกับตรีสีเงินไขว้กัน (จักรี)
ลำดับที่ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ พลเรือน กระทรวงวัง
และกรมขึ้น
กรมพระ
ตำรวจหลวง
รักษาพระองค์
กรมมหาดเล็ก กองเสือป่า/กองลูกเสือ กองเรือท่าเกษม
1 จอมพล

(Field marshal)

จอมพลเรือ

(Admiral of the Fleet)

จอมพลอากาศ

(Marshal of the Royal Thai Air Force)

- มหาอำมาตย์นายก

(Prime minister)

- - - - -
2 นายพลเอก

(General)

นายพลเรือเอก

(Admiral)

นายพลอากาศเอก

(Air Chief Marshal)

นายพลตำรวจเอก

(Police general)

มหาอำมาตย์เอก

(Minister)

มหาเสวกเอก

(Lord steward)

พระตำรวจเอก

(Lord high constable)

จางวางเอก

(Lord great chamberlain)

- -
3 นายพลโท

(Lieutenant general)

นายพลเรือโท

(Vice admiral)

นายพลอากาศโท

(Air Marshal)

นายพลตำรวจโท

(Police lieutenant general)

มหาอำมาตย์โท

(Secretariat)

มหาเสวกโท

(Steward)

พระตำรวจโท

(Chief of palace guard)

จางวางโท

(Lord chamberlain)

- -
4 นายพลตรี

(Major general)

นายพลเรือตรี

(Rear admiral)

นายพลอากาศตรี

(Air Vice Marshal)

นายพลตำรวจตรี

(Police major general)

มหาอำมาตย์ตรี

(Chancellor)

มหาเสวกตรี

(Keeper)

พระตำรวจตรี

(Deputy chief of palace guard)

จางวางตรี

(Vice chamberlain)

- -
5 - นายพลเรือจัตวา

(Commodore)

- - - - - - นายกองใหญ่/นายพลเสือป่า

(Captain general)

นายกองเรือใหญ่

(Captain general of Navy)

6 นายพันเอก

(Colonel)

นายนาวาเอก

(Captain)

นายนาวาอากาศเอก

(Group Captain)

นายพันตำรวจเอก

(Police colonel)

อำมาตย์เอก

(Director)

เสวกเอก

(Master of the Household)

ขุนตำรวจเอก

(Director of palace guard)

หัวหมื่น

(Page director)

นายกองเอก

(Wild Tiger colonel)

นายกองเรือเอก

(Captain)

7 นายพันโท

(Lieutenant colonel)

นายนาวาโท

(Commander)

นายนาวาอากาศโท

(Wing Commander)

นายพันตำรวจโท

(Police lieutenant colonel)

อำมาตย์โท

(Governor)

เสวกโท

(Deputy master)

ขุนตำรวจโท

(Deputy director of palace guard)

รองหัวหมื่น

(Deputy page director)

นายกองโท

(Wild Tiger lieutenant colonel)

นายกองเรือโท

(Commander)

8 นายพันตรี

(Major)

นายนาวาตรี

(Lieutenant commander)

นายนาวาอากาศตรี

(Squadron Leader)

นายพันตำรวจตรี

(Police major)

อำมาตย์ตรี

(Chief)

เสวกตรี

(Treasurer)

ขุนตำรวจตรี

(Palace guard)

จ่า

(Comptroller)

นายกองตรี

(Wild Tiger major)

นายกองเรือตรี

(Lieutenant commander)

9 นายร้อยเอก

(Captain)

นายเรือเอก

(Lieutenant)

นายเรืออากาศเอก

(Flight Lieutenant)

นายร้อยตำรวจเอก

(Police captain)

รองอำมาตย์เอก

(Prefect)

รองเสวกเอก

(Administrator)

นายตำรวจเอก

(Chief of bodyguard)

หุ้มแพร

(Clapper)

นายหมวดเอก

(Wild Tiger captain)

นายหมวดเรือเอก

(Lieutenant)

10 นายร้อยโท

(Lieutenant)

นายเรือโท

(Sub-lieutenant)

นายเรืออากาศโท

(Flying Officer)

นายร้อยตำรวจโท

(Police lieutenant)

รองอำมาตย์โท

(Assistant)

รองเสวกโท

(Files officer)

นายตำรวจโท

(Deputy chief of bodyguard)

รองหุ้มแพร

(Vice clapper)

นายหมวดโท

(Wild Tiger lieutenant)

นายหมวดเรือโท

(Sub-lieutenant)

11 นายร้อยตรี

(Second lieutenant)

นายเรือตรี

(Ensign)

นายเรืออากาศตรี

(Pilot Officer)

นายร้อยตำรวจตรี

(Police second lieutenant)

รองอำมาตย์ตรี

(Deputy assistant)

รองเสวกตรี

(Service officer)

นายตำรวจตรี

(Bodyguard)

มหาดเล็กวิเศษ

(Royal page)

นายหมวดตรี

(Wild Tiger second lieutenant)

นายหมวดเรือตรี

(Ensign)

12 ว่าที่นายร้อยตรี

(Acting second lieutenant)

ว่าที่นายเรือตรี

(Acting ensign)

ว่าที่นายเรืออากาศตรี

(Acting Pilot Officer)

ว่าที่นายร้อยตำรวจตรี

(Acting police second lieutenant)

ว่าที่รองอำมาตย์ตรี

(Acting deputy assistant)

ว่าที่รองเสวกตรี

(Acting service officer)

ว่าที่นายตำรวจตรี

(Acting bodyguard)

มหาดเล็กสำรอง

(Reserve royal page)

ว่าที่นายหมวดตรี

(Acting Wild Tiger second lieutenant)

ว่าที่นายหมวดเรือตรี

(Acting ensign)

13 - - - - - - - - นายหมู่ใหญ่

(Wild Tiger third lieutenant)

-
14 นายดาบ

(Sergeant major)

- - นายดาบตำรวจ

(Police senior sergeant major)

ราชบุรุษ

(King's man)

- - - - -
15 จ่านายสิบ

(Master sergeant)

พันจ่าเอก

(Warrant officer class one)

พันจ่าอากาศเอก

(Fight Sergeant 1st Class)

จ่านายสิบตำรวจ

(Police sergeant major)

- จ่าพันทนาย

(Flag sergeant)

นายหมู่ใหญ่

(Grand serjeanty)

พันจ่าเด็กชา

(Master errand)

- -
16 - พันจ่าโท

(Warrant officer class two)

- - - - - - - -
17 - พันจ่าตรี

(Chief petty officer)

- - - - - - - -
18 นายสิบเอก

(Sergeant)

จ่าเอก

(Petty officer)

จ่าอากาศเอก

(Sergeant)

นายสิบตำรวจเอก

(Police sergeant)

- พันทนายเอก

(Judge)

นายหมู่เอก

(Serjeanty)

พันเด็กชาเอก

(Housekeeper)

นายหมู่เอก

(Wild Tiger sergeant)

-
19 นายสิบโท

(Corporal)

จ่าโท

(Leading rating)

จ่าอากาศโท

(Corporal)

นายสิบตำรวจโท

(Police corporal)

- พันทนายโท

(Consultant)

นายหมู่โท

(Palace corporal)

พันเด็กชาโท

(Homemaker)

นายหมู่โท

(Wild Tiger corporal)

-
20 นายสิบตรี

(Lance corporal)

จ่าตรี

(Able seaman)

จ่าอากาศตรี

(Leading Aircraftman)

นายสิบตำรวจตรี

(Police lance corporal)

- พันทนายตรี

(Attorney)

นายหมู่ตรี

(Escort)

พันเด็กชาตรี

(Cleaner)

นายหมู่ตรี

(Wild Tiger lance corporal)

-
21 นายสิบตรีกองประจำการ

(Lance corporal)

จ่าตรีกองประจำการ

(Able seaman)

จ่าอากาศตรีกองประจำการ

(Leading Aircraftman)

นายสิบตำรวจตรีกองประจำการ

(Police lance corporal)

- พันทนายตรีกองประจำการ

(Attorney)

นายหมู่ตรีกองประจำการ

(Escort)

พันเด็กชาตรีกองประจำการ

(Cleaner)

นายหมู่ตรีกองประจำการ

(Wild Tiger lance corporal)

-
22 พลทหาร

(Private)

พลทหารเรือ

(Ordinary seaman)

พลทหารอากาศ

(Aircraftman)

พลตำรวจ

(Police constable)

- พันทนาย

(Lawyer)

พลตำรวจ

(Palace constable)

เด็กชา

(Errand)

พลเสือป่า

(Wild Tiger corp)

-

1.ชั้นยศมหาอำมาตย์นายกมีผู้ได้รับพระราชทานเพียงแค่ 2 คนคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สขุม) พระราชทานพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ. 2461

2.ชั้นยศนายกองใหญ่ เป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งยศนายพลเสือป่าขึ้นแทน และได้พระราชทานยศนายพลเสือป่าแก่นายเสือป่าชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน

3.ชั้นยศพระตำรวจเอกเดิมเป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นชั้นยศในฐานะพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระตำรวจในกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ ภายหลังมีการพระราชทานยศให้สมุหพระตำรวจหลวงหลายท่าน อาทิเช่น พระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) , พระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) เป็นต้น

4.เครื่องแบบเต็มยศข้าราชการพลเรือนและข้าราชการในราชสำนักจะติดเครื่องหมายยศไว้ที่ข้อมือ

5.สำหรับทหารบกเหล่าสนับสนุนการช่วยรบ เช่น เหล่าแพทย์, เหล่าบัญชี จะติดอินทรธนูขวางที่ปลายบ่าเหมือนข้าราชการพลเรือน

6.ข้าราชการในราชสำนักและกรมมหาดเล็ก เครื่องแบบปกติจะติดเครื่องหมายยศบริเวณแผงคอเสื้อ

8.ชั้นยศนายหมู่ใหญ่เสือป่าเป็นยศชั้นสัญญาบัตร

9.สำหรับราชนาวีเสือป่า มียศสูงสุดที่ นายกองเอกเท่านั้น

10.ยศกองเรือท่าเกษมมีผู้ที่ได้รับยศ นายกองเรือใหญ่เพียง 1 ท่านคือ นายกองเรือใหญ่ เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)

บัญชีเทียบยศกับตำแหน่ง[แก้]

การเทียบบรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายพลเรือนตาม พระราชบัญญัติระเบียบบรรดาศักดิ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. 2441) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดชั้นยศออกเป็น 3 ชั้น คือ นายพล นายพัน และนายร้อย ดังนี้[1]: 295–296 

ตารางเทียบยศทหารบกกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายพลเรือน ร.ศ. ๑๑๗
ยศฝ่ายทหาร บรรดาศักดิ์ฝ่ายพลเรือน
นายพลเอก เสนาบดี, พระเจ้าประเทศราช
นายพลโท เจ้าพระยาเทศาภิบาล, เจ้าพระยาสุลต่าน, เจ้าพระยานอกจากเสนาบดี
นายพลตรี เจ้าพระยารองเสนาบดี (ท.จ.), พระยาจางวาง (ท.จ.), พระยาเทศาภิบาล, เจ้าประเทศราช, พระยาสุลต่าน
นายพันเอก พระยา (ท.จ.), พระยาว่าราชการเมือง (ท.จ.), พระยาประเทศราช, พระยาจางวาง, เจ้าอุปราช, พระยารายามุดา
นายพันโท พระยาเจ้ากรม, พระเจ้ากรม, ผู้ว่าราชการเมือง, เจ้าราชวงษ์, พระยาอุปราชเมืองประเทศราช, พระรายามุดา
นายพันตรี พระปลัดกรม, หลวงเจ้ากรม, ผู้ช่วยเทศาภิบาล, เจ้าบุรีรัตน์, เจ้าราชบุตร, พระยาราชวงษ์เมืองประเทศราช, พระผู้ช่วยราชการเมืองประเทศราช
นายร้อยเอก หลวงปลัดกรม, ปลัดเมือง, ยกรบัตรเมือง, เจ้ามีสัญญาบัตรรองแต่ราชบุตร, พระยาบุรีรัตน์เมืองประเทศราช, พระยาราชบุตร
นายร้อยโท ผู้ช่วยในกระทรวงและกรม, ผู้ช่วยราชการเมือง, ผู้ตรวจการในกองเทศาภิบาล, นายอำเภอ (ตามพระราชบญญ้ติ ปกครองท้องที่), พระยาเค้าสนาม, ดาโต๊ะ
นายร้อยตรี นายเวร, หลวงกรมการ, ปลัดเมืองขึ้น, พ่อเมือง, ปังอุลู
ตารางเทียบยศกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายพลเรือน
ยศ ตำแหน่ง
มหาอำมาตย์นายก อัครมหาเสนาบดี
มหาอำมาตย์เอก เสนาบดี, พระเจ้าประเทศราช
มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาเทศาภิบาล, เจ้าพระยาสุลต่าน, เจ้าพระยานอกจากเสนาบดี, อธิบดีพิเศษ, ปลัดทูลฉลอง
มหาอำมาตย์ตรี พระยารองเสนาบดี ท.จ., พระยาจางวาง ท.จ., จางวางมหาดเล็ก, พระยาเทศาภิบาล, เจ้าประเทศราช, พระยาสุลต่าน
อำมาตย์เอก พระยา ท.จ., พระยาจางวาง, พระยาว่าราชการเมือง ท.จ., เจ้ากรมพิเศษ, หัวหมื่นมหาดเล็ก, เจ้าอุปราช, พระยาประเทศราช, พระยารายามุดา
อำมาตย์โท พระยาเจ้ากรม, พระเจ้ากรม, ผู้ว่าราชการเมือง, หลวงนายเวรมหาดเล็ก, เจ้าราชวงษ์, พระยาอุปราชเมืองประเทศราช, พระรายามุดา
อำมาตย์ตรี พระปลัดกรม, หลวงเจ้ากรม, ผู้ช่วยเทศาภิบาล, ปลัดวัง, จ่ามหาดเล็ก, พระสามัญ, เจ้าบุรีรัตน์, เจ้าราชบุตร, พระยาราชวงษ์เมือง, พระผู้ช่วยราชการเมืองประเทศราช
รองอำมาตย์เอก เจ้ากรมชั้นสาม, หลวงปลัดกรม, ปลัดเมือง, มหาดเล็กหุ้มแพรหลวง, จ่าฝ่าย, ยกรบัตรเมือง, เจ้ามีสัญญาบัตรรองแต่ราชบุตร, พระยาบุรีรัตน์เมืองประเทศราช, พระยาราชบุตร, ผู้ว่าราชการเมืองขึ้น, หลวงผู้ช่วยว่าราชการเมืองประเทศราช
รองอำมาตย์โท ปลัดกรมชั้นสองและสาม, ผู้ช่วยชั้นหนึ่งในกระทรวงแลกรม, นายรอง, ขุน, หุ้มแพรฝ่าย, ผู้ช่วยราชการเมือง, ผู้ตรวจการในกองเทศาภิบาล, นายอำเภอ, พระยาเค้าสนาม, ดาโต๊ะ
รองอำมาตย์ตรี ผู้ช่วยชั้นสองและสามในกระทรวงแลกรม, นายเวรชั้นหนึ่ง, นายเวรราชวัง, มหาดเล็กวิเศษ, สารวัตรมหาดเล็ก, หลวงกรมการ, ปลัดเมืองขึ้น, พ่อเมือง, ปังอูลู

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ และคณะ. (2545). เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 404 หน้า. ISBN 974-417-534-6
บรรณานุกรม