ข้ามไปเนื้อหา

มูลนิธิเด็กบลูดราก้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มูลนิธิเด็กบลูดราก้อน
ประเภทองค์การพัฒนาเอกชน
ก่อตั้งพ.ศ. 2547, ประเทศออสเตรเลีย
ผู้ก่อตั้งMichael Brosowski Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่ฮานอย ประเทศเวียดนาม
เว็บไซต์BDCF official page

มูลนิธิเด็กบลูดราก้อน[1] (อังกฤษ: Blue Dragon Children's Foundation) เป็นองค์การพัฒนาเอกชน กองทุนการกุศลตั้งอยู่ในฮานอย ประเทศเวียดนาม ภารกิจขององค์กรนี้คือช่วยให้เด็กหลุดพ้นจากวัฏจักรของความยากจน โดยเสนอให้มีโอกาสทางการศึกษาและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กรอดพ้นจากสถานะแรงงานทาส, ให้เข้าถึงโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และได้ระดมทุนสำหรับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากพายุ โดยขยายขอบเขตการทำงานให้กว้างขึ้นอย่างทั่วถึง[2]

ประวัติ

[แก้]

มูลนิธิแห่งนี้ได้ริเริ่มโดยครูชาวออสเตรเลียชื่อ ไมเคิล โบรโซสกี้ ซึ่งเขาได้เยี่ยมเยือนเวียดนามใน ค.ศ. 2002 เพื่อทำการสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยฮานอย ในขณะเดียวกันเขาก็ได้พบกับเด็กเร่ร่อนเป็นจำนวนมาก[3]

ในช่วงแรกไมเคิล พร้อมด้วยหนึ่งในนักเรียนภาษาของเขาชื่อ ฝั่ม สี จุง ได้นำเสนอการเรียนการสอนเด็กในวิชาคณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, โยคะและศิลปะ พวกเขายังได้ก่อตั้งทีมฟุตบอล "เรอัลเบติสเวียดนาม" ซึ่งต่อมาได้มีการสนับสนุนชื่อทีมในภาษาสเปนของพวกเขานี้ด้วย โดยมีแนวคิดในการส่งเสริมจิตสำนึกของน้ำใจนักกีฬาและการร่วมทีมในขณะทำการออกกำลังกาย ในเบื้องต้นมีเด็กชายสามคนที่หันมาให้ความสนใจต่อกีฬานี้

การดำเนินงานของมูลนิธิ

[แก้]

จุดมุ่งหมายหลักของบลูดราก้อนคือการรับเด็กเข้าโรงเรียนและให้พวกเขาได้รับโอกาสในการปรับปรุงถึงการว่าจ้างงานรวมถึงเป้าหมายในระยะยาว เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายเหล่านี้ งานอื่นๆเป็นจำนวนมากจึงต่างได้รับการดำเนินการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างได้รับการเตรียมการ หรือซ่อมแซมตกแต่งอาคารที่อยู่ของพวกเขาหากสภาพความเป็นอยู่ยังไม่มีความเหมาะสม ค่าเล่าเรียนนอกโรงเรียนมีไว้เพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษาเด็ก มีหนังสือและเครื่องเขียนไว้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจ่ายได้ด้วยตนเอง

การดูแลด้านการแพทย์จะทำการจ่ายสำหรับกรณีที่รุนแรงบางประการที่สามารถช่วยชีวิตหรือด้านวิถีความเป็นอยู่ของเด็ก จวบจนถึงปัจจุบัน มีสองรายการที่ทำการศัลกรรมใบหน้า (เนื้องอกบนใบหน้าหนึ่งราย กับริมฝีปากแหว่งหนึ่งราย) ซึ่งได้รับทุนหรือเงินบางส่วนจากบลูดราก้อน โดยทั้งสองต่างได้รับอนุญาตดำเนินการสำหรับเด็กผู้ตกทุกข์ได้ยากให้กลับไปรับการศึกษาที่ได้รับการยกเว้นในช่วงก่อนหน้าเนื่องด้วยเงื่อนไขทางการแพทย์ของพวกเขา ส่วนเด็กรายอื่นๆ อย่างกรณีที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากแก๊งถืออาวุธอย่างมีดและมีดพร้า ต่างได้รับการพยาบาลฟื้นฟูสุขภาพด้วยความช่วยเหลือจากบลูดราก้อนเช่นกัน รวมถึงสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เกือบปกติดังเดิม[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กระทรวงการต่างประเทศ เก็บถาวร 2007-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)
  2. Blue Dragon Newsletter - June 2009 (อังกฤษ)
  3. Blue Dragon's Michael Brosowski - ABC.net.au (อังกฤษ)
  4. "Côn đồ học đường". CAND (ภาษาเวียดนาม). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]