มีรา ราอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีรา ราอี
ข้อมูลส่วนบุคคล
สัญชาติเนปาล
เกิด (1988-12-31) 31 ธันวาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี)[1]
กีฬา
ประเทศธงของประเทศเนปาล เนปาล
กีฬาการวิ่งเทรล
สกายรันนิง
สโมสรเทรลรันนิงเนปาล

มีรา ราอี (เนปาล: मीरा राई; อักษรโรมัน: Mira Rai; เกิด 31 ธันวาคม ค.ศ. 1988) เป็นนักวิ่งเทรลและสกายรันเนอร์ชาวเนปาล เธอได้เข้าร่วมการแข่งระดับนานาชาติหลายรายการและได้รับรางวัลจำนวนมาก รวมถึงเธอได้รับรางวัลนักผจญภัยแห่งปีของเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ประจำ ค.ศ. 2017[2]

ประวัติ[แก้]

เธอได้เข้าร่วมการแข่งเทรลที่ท้าทายมากที่สุดของโลก[3][4][5][6][7][8][9][10][11][12][13]

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

มีรา ราอี มาจากหมู่บ้านห่างไกลในโภชปุร ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อโตขึ้น ครอบครัวของเธอประสบปัญหาในการหาสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันผ่านกสิกรรม เธอออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 12 ขวบเพื่อช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านในแต่ละวัน และเพราะครอบครัวของเธอไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้ เธอเดินขึ้นลงตามภูมิประเทศที่เป็นภูเขาเป็นประจำเพื่อเก็บน้ำและไปตลาด เมื่ออายุได้ 14 ปี เธอได้ออกจากบ้านตอนกลางดึก โดยไม่บอกพ่อแม่ เพื่อเข้าร่วมการก่อความไม่สงบของลัทธิเหมา เมื่อพวกเขามาเกณฑ์ผ่านหมู่บ้านของเธอ เนื่องจากเธอยังเป็นผู้เยาว์ เมื่อสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง เธอจึงไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมกองทัพเนปาลและถูกปลดในเวลาต่อมา หลังจากกลับถึงบ้าน เธอใฝ่ฝันที่จะทำอะไรอย่างอื่นกับชีวิตของเธอเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวของเธอ และเดินทางไปกาฐมาณฑุเพื่อเรียนคาราเต้และวิ่ง[14]

อาชีพ[แก้]

เธอเป็นนักวิ่งที่ดี แต่ไม่รู้ว่าการวิ่งอัลตราคืออะไรเมื่อเธอเข้าร่วมการแข่งอัลตรามาราธอนครั้งแรก นั่นคือการแข่งวิ่งเทรลหิมาลัยกลางแจ้ง 50 กม. ซึ่งเช้าวันหนึ่ง เมื่อเธอวิ่งอยู่บนเนินเขารอบ ๆ เมืองกาฐมาณฑุ เธอได้พบกับกลุ่มหนึ่งที่กำลังฝึกอยู่บนเส้นทางเดียวกัน หลังจากวิ่งด้วยกันมาระยะหนึ่งแล้ว พวกเขาขอให้เธอไปวิ่งอีกครั้งในสัปดาห์หน้า เมื่อเธอไปถึงการวิ่งครั้งนั้น เธอพบว่ามันคือจุดเริ่มต้นของการแข่ง 50 กม. แม้จะไม่ได้เตรียมตัวไว้, ไม่มีอาหารหรือน้ำที่เหมาะสม หรือสวมชุดวิ่งทางเทคนิค แต่เธอก็ชนะการแข่ง รวมถึงได้รับความสนใจจากผู้จัดการแข่งกับทัศนคติที่ดีและการทุ่มเทให้กับกีฬานี้ของเธอ

หลังจากการฝึกซ้อมอย่างเข้มงวดมากขึ้นสำหรับการวิ่งเทรลกับริชาร์ด บูล ผู้เป็นพี่เลี้ยงของเธอจากสโมสรเทรลรันนิงเนปาล เธอได้เริ่มเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมการแข่งวิ่งอัลตราเทรลระดับนานาชาติ ซึ่งเธอได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงที่รู้จักกันดีอย่างรวดเร็ว โดยชนะการแข่งทีละรายการและทำลายสถิติหลายรายการ[15] ครั้นในช่วงต้น ค.ศ. 2016 เธอได้รับบาดเจ็บที่เข่าระหว่างการแข่งในสหราชอาณาจักร และต้องพักจากการแข่งระดับนานาชาติเพื่อพักฟื้น ในช่วงเวลานั้น เธอหันความสนใจไปที่การส่งเสริมการวิ่งเทรลทั่วประเทศเนปาล และช่วยฝึกนักกีฬาเยาวชนหญิงที่มีแววจากชนบทของประเทศเนปาลให้สำเร็จในเวทีระดับนานาชาติ เธอได้จัดการแข่งขันเทรลหลายครั้งในกาฐมาณฑุ และโภชปุรซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอเช่นกัน เพื่อส่งเสริมกีฬาชนิดนี้ให้แก่เยาวชนชาวเนปาล เธอได้รับการแนะนำในสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งครอบคลุมชีวิตของเธอตั้งแต่หมู่บ้านห่างไกลและชนบท ไปจนถึงวีรสตรีของชาติ ในสังคมปิตาธิปไตย เธอได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เด็กผู้หญิงหลายคนทั่วประเทศ[16]

ใน ค.ศ. 2017 มีราได้เข้าร่วมการแข่งวิ่งแบบอัลตราเทรลอีกครั้งด้วยการแข่งครั้งแรกของเธอในเดือนกันยายน ค.ศ. 2017 ที่การวิ่งแข่งเทรลเบน เนวิส 120 กม. ในประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ซึ่งเธอชนะการแข่ง และสร้างสถิติเส้นทางในช่วงเวลาที่ 14 ชั่วโมง 24 นาที เธอเป็นนักวิ่งเทรลระดับอาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของทีมวิ่งซาโลมอน

ความสำเร็จ[แก้]

เหล่านี้คือผลงานหลักของเธอ[17]

  การวิ่งแข่งสกายรันเนอร์เวิลด์ซีรีส์ (ชนะ 2 ครั้ง)
ค.ศ. วันที่ การวิ่งแข่ง อันดับ หมายเหตุ
2017 16.09 เบน เนวิส อุลตรา 1 (สถิติใหม่)
2016 30.04 3 พีกส์เรซ 2
2015 19.09 อุลตราปิรินเนว 2
19.07 โดโลมีเตสสกายเรซ 13
04.07 แบร์โรสกายไนต์ 1
26.06 มงบล็อง 80 กม. 1 (สถิติใหม่)
12.04 บัฟฟาโลสแตมพีดสกายรันนิง 3 (42 กม. 4:52)
21.03 หิมาลายันเอาต์ดอร์เฟสติวัล 50 กม. 1
07.02 เอ็มเอสไอจี เอชเค50 ซีก้อง - เอเชียสกายรันนิงแชมเปียนชิป 1
01.02 คิงออฟเดอะฮิลส์ 1
03.01 เดอะนอร์ทเฟซกาฐมาณฑุอุลตรา 1
2014 07.12 เอ็มเอสไอจี ลันเตา 50 - เอชเค 50 ซีรีส์ 2
05.12 เอชเค เอ็มเอสไอจี เวอร์ติคัลกิโลกิโลมิเตอร์ 1
28.11 เคโอทีเอช 2
08.10 มานาสลูเทรลเรซ 1
26.10 เอ็มเอสไอจี เอชเค 50 กม. 1 (5:30:32 อันดับ 5 โดยรวม)
28.09 เทรลเดกลีเอโรอี (83 กม.) 1 (9:16)
13.09 เซลลารอนดาเทรลเรซ (57 กม.) 1 (6:36:30)
21.04 มัสแตงเทรลเรซ 1
23.03 หิมาลายันเอาต์ดอร์เฟสติวัล 50 กม. 1

อ้างอิง[แก้]

  1. "Mira Rai". fidal.it. สืบค้นเมื่อ 8 November 2017.
  2. "This Woman is Your Adventurer of the Year—Video Exclusive". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-30. สืบค้นเมื่อ 30 January 2017.
  3. "Mira Rai | Mira Rai, a short story about a talented runner from Nepal". Miraraifilm.com. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  4. "Mira Rai". Trail Running Nepal. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  5. "Mira Rai clinches int'l ultra-marathon in France". My Republica. 2015-06-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  6. Naresh Newar. "Running all her life | Nepali Times Buzz". Nepali Times. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  7. "Serious Sisu: Mira Rai — SisuGirls". Sisugirls.org. 2014-11-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  8. "Rai wins title in Hong Kong | Sports". Ekantipur.com. 2014-12-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  9. McMahan, Ian. "Meet Nepal's Breakout Trail Running Phenom". Outside Online. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  10. Stéphane Huët. "The inspiration of a long-distance runner | Nepali Times Buzz". Nepali Times. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  11. Haslam, Chris (2015-11-06). "From teenage guerrilla to top athlete" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.
  12. https://www.theguardian.com/world/2015/oct/05/mira-rai-former-child-soldier-athlete-women-nepal
  13. "Mira & the girls running fund". Trail Running Nepal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.
  14. Stéphane Huët. "From teenage guerrilla to top athlete". BBC. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015.
  15. Running all her life, Nepali Times, สืบค้นเมื่อ 13 February 2015
  16. MIRA RAI'S 2016 SEASON, Trial Nepal, สืบค้นเมื่อ 30 June 2016
  17. "Mira Rai". Trail Running Nepal. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]