มีนอราอีแกลอน
มีนอราอีแกลอน | |
ชื่ออื่น | หออะษานแกลอน, หออะษานแห่งปอยีแกลอน[1] |
---|---|
ที่ตั้ง | บูฆอรอ ประเทศอุซเบกิสถาน |
ภูมิภาค | บูฆอรอ |
พิกัด | 39°46′33″N 64°24′51″E / 39.77583°N 64.41417°E |
ประเภท | หออะษาน |
ส่วนหนึ่งของ | ปอยีแกลอน |
ความกว้าง | เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตรที่ฐาน, 6 เมตรที่ยอด |
ความสูง | 45.6 เมตร, รวมยอด 48 เมตร |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | Arslan Khan Muhammad, อาณาจักรข่านคาราคานิด |
วัสดุ | อิฐ |
สร้าง | 1127 |
สมัย | ราชวงศ์คาราคานิดตะวันตก |
วัฒนธรรม | อิสลาม |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | ศูนย์กลางประวัติศาสตร์บูฆอรอ |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | (ii), (iv), (vi) |
ขึ้นเมื่อ | 1993 (คณะกรรมการสมัยที่ 29) |
เลขอ้างอิง | 602 |
รัฐ | อุซเบกิสถาน |
บูฆอรอ | เอเชียกลางและเหนือ |
มีนอราอีแกลอน (อุซเบก: Minorai Kalon/Минораи калон; เปอร์เซีย: مناره کلان/Minâra-i Kalân; แปลว่า หออะษานใหญ่) หรือ หออะษานแกลอน (อังกฤษ: Kalon Minor, Kalon Minaret)[2] เป็นหออะษานในปอยีแกลอน บูฆอรอ ประเทศอุซเบกิสถาน และเป็นหนึ่งในจุดสนใจสำคัญของเมือง
หอคอยนี้สร้างขึ้นในปี 1127 โดย Mohammad Arslan Khan ผู้ปกครองอาณาจักรข่านคาราคานิด เพื่อใช้งานเป็นหออะษาน หอคอยก่อขึ้นจากอิฐ มีความสูง 45.6 เมตร (48 เมตรหากรวมปลายยอด) และมีขนาดค่อย ๆ เล็กลงจากล่างขึ้นบนด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตรที่ฐาน, 6 เมตรที่ยอด ภายในหอมีบันไดเวียนขึ้นไปสู่ห้องโถงชั้นสูงสุดของหอคอย[3] ในยามศึกสงคราม หอคอยนี้ยังสามารถใช้เป็นหอสังเกตการณ์ข้าศึกได้[4]
เมื่อครั้งเจงกีส ข่าน กรีธาทัพมารบและทำลายล้างสิ่งก่อสร้างทั้งหมดในบูฆอรอจนราบ เจงกีส ข่าน สั่งให้ทหารเหลือหอคอยนี้ไว้ไม่ให้ทำลายเนื่องจากหอคอยนี้สร้างความประทับใจแก่เขาอย่างมาก[5] ในท้องถิ่นเรียกขานหอคอยนี้ว่า "หอคอยแห่งความตาย" เนื่องจากมีการประหารชีวิตนักโทษโดยการโยนจากยอดหอคอยนี้มาจนถึงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ ฟิตซ์รอย มาเคลน ผู้เดินทางมายังบูฆอรอในปี 1938 ระบุไว้ในบันทึก Eastern Approaches ว่า "เป็นเวลานับหลายศตวรรษก่อนปี 1870 และอีกครั้งในช่วงปีอันวุ่นวายระหว่างปี 1917–1920 ผู้คนถูกโยนลงจากชั้นบนสุดของหอคอยที่ตกแต่งอย่างประณีตนี้"[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Historic Centre of Bukhara". unesco.org. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
- ↑ "Kalon Minaret". lonelyplanet.com. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
- ↑ www.advantour.com/uzbekistan
- ↑ Michell, G. 1995. Architecture of the Islamic World. London: Thames and Hudson, 259
- ↑ Mayhew, Bradley; Clammer, Paul; Kohn, Michael D. Lonely Planet Central Asia. Lonely Planet Publications. ISBN 1-86450-296-7.
- ↑ Maclean, Fitzroy (1949). "X: Bokhara the Noble". Eastern Approaches. Jonathan Cape. p. 147.