มิเรด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มิเรด (mired) เป็นหน่วยวัดของค่าอุณหภูมิสีผกผัน (ส่วนกลับของค่าอุณหภูมิสี) เหตุผลในการใช้ค่าอุณหภูมิสีผกผันแทนอุณหภูมิสีคือเพื่อให้ความแตกต่างของตัวเลขเป็นสัดส่วนกับความแตกต่างของสี (ดังรูป)

ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสีในหน่วยเคลวินกับสี ระยะห่างระหว่างเส้นขีดมีความแตกต่างกันมาก
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสีผกผันในหน่วยมิเรดกับสี จะเห็นว่าเส้นขีดมีระยะห่างเกือบเท่าๆ กัน

หน่วย SI ของอุณหภูมิสีผกผันคือ K-1 (ต่อ เคลวิน) มิเรดคือ 10-6 เท่า (หนึ่งในล้าน) ของค่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งถ้าคูณส่วนกลับของอุณหภูมิสีในหน่วยเคลวินด้วย 1,000,000 จะได้อุณหภูมิสีผกผันในหน่วยมิเรด

คำว่า mired มาจากคำว่า micro (ไมโคร) + reciprocal (ส่วนกลับ) + degree (องศา) นอกจากนี้ยังอาจเรียกอีกอย่างว่า mirek ซึ่งมาจากการใช้คำว่า kelvin (เคลวิน) แทน degree

ตัวอย่างการใช้ เช่น ท้องฟ้าสีฟ้าที่มีอุณหภูมิสี 25,000 K จะเท่ากับ 40 มิเรด และแฟลชถ่ายภาพที่มีอุณหภูมิสี 5,000 K เท่ากับ 200 มิเรด

มิเรดมีประโยชน์อย่างมากสำหรับในการวัดอุณหภูมิสีในการถ่ายภาพ นอกจากนี้ยังมีการใช้ในหน่วย เดกามิเรด (decamired) ซึ่งเท่ากับ 10 มิเรด

ความแตกต่างของมิเรดสามารถวัดได้ง่ายด้วยโนโมแกรม