ข้ามไปเนื้อหา

มารีน เลอ แปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารีน เลอ แปน
Marine Le Pen
เลอ แปนในค.ศ. 2022
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
จังหวัดปาดกาแล เขตที่ 11
เริ่มดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน ค.ศ. 2017
(7 ปี 148 วัน)
ก่อนหน้าฟีลิป เกเมล
ตำแหน่งเพิ่มเติม
ประธานกลุ่มแนวร่วมแห่งชาติ
ในสมัชชาแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน ค.ศ. 2022
(2 ปี 141 วัน)
รองฌ็อง-ฟีลิป ตองกี
ก่อนหน้าก่อตั้งกลุ่มพรรค
ฌ็อง-มารี เลอ แปน (โดยทางอ้อม[a])
ประธานพรรคแนวร่วมแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม ค.ศ. 2011 – 13 มิถุนายน ค.ศ. 2021
(10 ปี 148 วัน)
ก่อนหน้าฌ็อง-มารี เลอ แปน
ถัดไปฌอร์ดัน บาร์เดลลา
สมาชิกรัฐสภายุโรป
ดำรงตำแหน่ง
20 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 2017
(12 ปี 333 วัน)
ถัดไปคริสแตล เลอเชอวาเลียร์
เขตเลือกตั้งเขตแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (ค.ศ. 2004–2009)
เขตฝรั่งเศสตะวันตกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 2009–2017)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มารียง อาน แปรีน เลอ แปน

(1968-08-05) 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968 (56 ปี)
เนยยี่-ซูร์-แซน ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมืองแนวร่วมแห่งชาติ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1986)
คู่อาศัยลุยส์ อาลีโยต์ (ค.ศ. 2009 – 2019)
คู่สมรสฟร็องค์ โชฟฟรอย (สมรส 1995; หย่า 2000)
เอรีก ลอรีโอ (สมรส 2002; หย่า 2006)
บุตร3
บุพการี
ความสัมพันธ์มารียง มาเรชาล (หลานสาว)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปารีส-ป็องเตอง-อาสซาส
ลายมือชื่อ

มารีน เลอ แปน (ฝรั่งเศส: Marine Le Pen; เกิด มารียง อาน แปรีน "มารีน" เลอ แปน (ฝรั่งเศส: Marion Anne Perrine "Marine" Le Pen) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวฝรั่งเศสทางฝ่ายขวาจัด[1][2][3][4]

เลอ แปน เป็นลูกสาวคนเล็กของฌ็อง-มารี เลอ แปน พ่อของเธอเป็นประธานพรรคแนวร่วมแห่งชาติ

เธอเขาในวงการการเมืองในค.ศ. 1986 แต่จากค.ศ. 1998 ได้รับเลือกตั้งต่าง ๆ และดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เช่น สมาชิกสภาแคว้นนอร์-ปาดกาแล (ค.ศ. 1998 - 2004; ค.ศ. 2010 - 2015) สมาชิกสภาแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ (ประจำจังหวัดโอดแซน ระหว่างค.ศ. 2004 - 2010) สมาชิกสภาแคว้นโอดฟร็องส์ (ค.ศ. 2016 - 2021) หรือสมาชิกสภาจังหวัดปาดกาแล ตั้งแต่ค.ศ. 2021

มารีน เลอ แปน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภายุโรปประจำเขตแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ระหว่างค.ศ. 2004 - 2009 จากนั้นได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในประจำเขตฝรั่งเศสตะวันตกเฉียงเหนือ ระหว่างค.ศ. 2009 ถึงปีค.ศ. 2017 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2014

เหตุการสำคัญของเธอบนวงการการเมืองคือเป็นการลงสมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งต่อจากลงสมัครของพ่อของเธอและการได้รับเลือกตั้งเป็นประธานใหม่ของพรรคในค.ศ. 2011

เธอลงสมัครครั้งแรกในการเลือกตั้งของค.ศ. 2012 ซึ้งได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากอันดับที่ 3 เนื่องจากได้รับ 17.9%

จากนั้นเธอลงสมัครครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2017 แล้วได้ผ่านรอบที่ 2 เนื่องจากได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากอันดับที่ 2 (หรือ 21.3%) แต่กลับไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากได้รับคะแนนกว่า 33.9% เอง

ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2022 เลอ แปน ลงสมัครอีกครั้งและผ่านรอบที่ 2 อีกครั้ง เนื่องจากได้รับคะแนนกว่า 23.1% แต่กลับไม่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เนื่องจากได้รับคะแนนกว่า 41.4% เอง

ในที่สุดเธอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2017 ประจำเขตที่ 11 ของจังหวัดปาดกาแล แล้วได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งของค.ศ. 2022 หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ เธอได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกลุ่มของพรรคแนวร่วมแห่งชาติในสมัชชาแห่งชาติ

บรรณานุกรม

[แก้]
  • À contre flots, Jacques Grancher, 2006 ISBN 2-7339-0957-6 (autobiography) (ในภาษาฝรั่งเศส)
  • Pour que vive la France, Jacques Grancher, 2012, 260 pages (ในภาษาฝรั่งเศส)

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ฌ็อง-มารี เลอ แปน เคยเป็นประธานกลุ่มของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ แต่เป็นประธานระหว่างปีค.ศ. 1986 - 1988

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Macron's far-right rival, Le Pen, reaches all-time high in presidential second-round vote poll". Reuters. 4 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2022. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
  2. "French far-right leader Marine Le Pen closing gap on Emmanuel Macron, new polls show". TheJournal.ie. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
  3. "French election: Far-right Le Pen closes in on Macron ahead of vote". BBC News. 8 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2022. สืบค้นเมื่อ 8 April 2022.
  4. Alsaafin, Linah. "What is behind the rise of the far right in France?". aljazeera.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2022. สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]