ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดใหญ่แห่งซามัรรออ์

พิกัด: 34°12′21″N 43°52′47″E / 34.20583°N 43.87972°E / 34.20583; 43.87972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดใหญ่แห่งซามัรรออ์
อาหรับ: جَامِع سَامَرَّاء ٱلْكَبِيْر
مَسْجِد سَامَرَّاء ٱلْكَبِيْر
ٱلْمَسْجِد ٱلْجَامِع فِي سَامَرَّاء
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
สถานะองค์กรมัสยิด
สถานะเปิดใช้งาน
ที่ตั้ง
ที่ตั้งซามัรรออ์ ประเทศอิรัก
มัสยิดใหญ่แห่งซามัรรออ์ตั้งอยู่ในประเทศอิรัก
มัสยิดใหญ่แห่งซามัรรออ์
ที่ตั้งในประเทศอิรัก
พิกัดภูมิศาสตร์34°12′21″N 43°52′47″E / 34.20583°N 43.87972°E / 34.20583; 43.87972
สถาปัตยกรรม
ประเภทอิสลาม
รูปแบบอับบาซียะฮ์
ผู้ก่อตั้งอัลมุตะวักกิล
เริ่มก่อตั้งค.ศ. 848
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 851
ทำลายค.ศ. 1278
ลักษณะจำเพาะ
หอคอย1
ความสูงหอคอย52 เมตร (171 ฟุต)
ชื่อทางการเมืองโบราณคดีซามัรรออ์
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: ii, iii, iv
อ้างอิง276
ขึ้นทะเบียน2007 (สมัยที่ 31st)
ภาวะอันตราย2007-
พื้นที่15,058 เฮกตาร์ (37,210 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน31,414 เฮกตาร์ (77,630 เอเคอร์)

มัสยิดใหญ่แห่งซามัรรออ์ (อาหรับ: جَامِع سَامَرَّاء ٱلْكَبِيْر, อักษรโรมัน: Jāmiʿ Sāmarrāʾ al-Kabīr, อาหรับ: مَسْجِد سَامَرَّاء ٱلْكَبِيْر, อักษรโรมัน: Masjid Sāmarrāʾ al-Kabīr หรือ อาหรับ: ٱلْمَسْجِد ٱلْجَامِع فِي سَامَرَّاء, อักษรโรมัน: al-Masjid al-Jāmiʿ fī Sāmarrāʾ) เป็นมัสยิดในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ที่ซามัรรออ์ ประเทศอิรัก เคาะลีฟะฮ์ อัลมุตะวักกิลแห่งอับบาซียะฮ์ผู้ครองราชน์ (ที่ซามัรรออ์) ใน ค.ศ. 847 ถึง 861 ทรงว่าจ้างให้สร้างมัสยิดใน ค.ศ. 848 และแล้วเสร็จใน ค.ศ. 851 ในช่วงที่ก่อสร้าง มัสยิดนี้ถือเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1] มัสยิดเป็นที่รู้จักจากหออะษานสูง 52 เมตร (171 ฟุต) ล้อมรอบด้วยทางลาดวน มัสยิดตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณคดีซามัรรออ์ 15,058 เฮกตาร์ (37,210 เอเคอร์) แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกที่ได้รับการลงทะเบียนใน ค.ศ. 2007[2]

ประวัติ

[แก้]

มัสยิดนี้เคยเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีหอ Malwiya หออะษานทรงกรวยรูปเกลียวสูง 52 เมตร (171 ฟุต) และทางลาดกว้าง 33 เมตร (108 ฟุต)[3]

ภาพถ่ายทางอากาศของมัสยิด โดยมีศาลเจ้าอัลอัสกะรีเป็นฉากหลัง

รัชสมัยอัลมุตะวักกิลส่งผลกระทบอย่างมากต่อเมืองนี้ เนื่องจากพระองค์ดูเหมือนเป็นผู้รักสถาปัตยกรรม และเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างมัสยิดใหญ่แห่งซามัรรออ์[4] อัลมุตะวักกิลและแรงงานรับจ้างของพระองค์กับคนอื่น ๆ จากพื้นที่นี้สร้างมัสยิดด้วยเสาอิฐเผาแปดเหลี่ยมที่มีเสาหินอ่อนที่มุมสี่ต้น เสาหินอ่อนเหล่านี้นำเข้ามา ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อัลมุตาวักกิลจ้างศิลปินและสถาปนิกทั่วจักรวรรดิอับบาซียะฮ์เพื่อช่วยสร้างมัสยิดใหญ่[5]

มัสยิดถูกทำลายใน ค.ศ. 1278 (ฮ.ศ. 656) หลังการรุกรานอิรักของฮูลากู ข่าน[6]

การบูรณะสมัยใหม่

[แก้]

มีเพียงกำแพงส่วนนอกและหออะษานของมัสยิดเท่านั้นที่ยังคงเหลือรอด[6] องค์กรโบราณคดีแห่งรัฐอิรักได้ทำงานร่วมกับนักประวัติศาสตร์และสถาปนิกในการบูรณะอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ ค.ศ. 1956 โดยมอบหมายให้ผู้คนบูรณะอนุสรณ์สถานต่าง ๆ ในซามัรรออ์ รวมถึงมัสยิดใหญ่ด้วย มีการบูรณะอย่างกว้างขวางทั้งบริเวณลานภายในมัสยิดและหออะษานแบบเกลียว ก่อนหน้านี้ ทางลาดหออะซานเหลือเพียง 6 ขั้นเท่านั้น และมีซุ้มโค้งที่สมบูรณ์เพียงไม่กี่แห่งตั้งล้อมรอบลานภายใน[7]

หอคอยได้รับความเสียหายอีกครั้งใน ค.ศ. 2005 เมื่อยอดหอคอยถูกทำลายจากการระเบิด ข้อมูลบางส่วนรายงานว่า การกบฏอิรักมีส่วนในการโจมตีนี้ หลังกองกำลังสหรัฐใช้หอนี้เป็นตำแหน่งซุ่มยิง[8][9][10] ใน ค.ศ. 2015 ทางยูเนสโกและรัฐบาลอิรักปรักาศโครงการฟื้นฟูหออะษานและประเมินความเสียหายในพื้นที่โบราณคดีซามัรรออ์อื่น ๆ[11]ซึ่งกลายเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 2007[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. al-Amid, Tahir Muzaffar (1973), "The Abbasid Architecture of Samarra in the Reign of both al-Mu'tasim and al-Mutawakkil", Baghdad: Al-Ma'aref Press: 156–193
  2. "Unesco names World Heritage sites". BBC News. 2007-06-28. สืบค้นเมื่อ 2010-05-23.
  3. "Historic Mosques site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-10.
  4. Dennis, Sharp (1991). The Illustrated Encyclopedia of Architects and Architecture. New York: Whitney Library of Design. p. 204.
  5. Roxburgh, David (2019), Architecture of Empire The Abbasids
  6. 6.0 6.1 "مسجد سامرا ؛ برخوردار از مناره ای 53 متری و حلزونی شکل" (ภาษาเปอร์เซีย). Mehr News Agency. สืบค้นเมื่อ 27 March 2012.
  7. Tariq, Al-Janabi (1983), "Islamic Archaeology in Iraq: Recent Excavations at Samarra." (PDF), World Archaeology, 14 (3): 305–327, doi:10.1080/00438243.1983.9979871, JSTOR 124344
  8. "Top of ancient Iraq minaret blown up". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
  9. Carroll, Rory (2005-04-02). "Iraqi insurgents blow top off historic monument". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
  10. "Ancient minaret damaged in Iraq" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2005-04-01. สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
  11. "UNESCO and Iraq launch project for conservation of World Heritage site of Samarra". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
  12. "Samarra Archaeological City". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]