มัสยิดอัลกุตุบียะฮ์

พิกัด: 31°37′27″N 7°59′37″W / 31.624124°N 7.993541°W / 31.624124; -7.993541
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดอัลกุตุบียะฮ์
ศาสนา
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
เขตมาร์ราคิช
ภูมิภาคประเทศโมร็อกโก
สถานะองค์กรยังใช้งาน
ปีที่อุทิศค.ศ. 1158 (หลังปัจจุบัน)
สถานะเปิด
ที่ตั้ง
ที่ตั้งมาร์ราคิช ประเทศโมร็อกโก
มัสยิดอัลกุตุบียะฮ์ตั้งอยู่ในโมร็อกโก
มัสยิดอัลกุตุบียะฮ์
ที่ตั้งในโมร็อกโก
พิกัดภูมิศาสตร์31°37′27″N 7°59′37″W / 31.624124°N 7.993541°W / 31.624124; -7.993541
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
รูปแบบอัลโมฮาด, โมร็อกโก/มัวร์
ผู้ก่อตั้งอับดุลมุอ์มิน
ลงเสาเข็มค.ศ. 1147 (หลังแรก)
เสร็จสมบูรณ์ระหว่าง ค.ศ. 1158 ถึง 1195 (หลังที่สอง)
ลักษณะจำเพาะ
หอคอยหนึ่ง
ความสูงหอคอย77 เมตร
วัสดุอิฐ, หินทราย, ไม้

มัสยิดอัลกุตุบียะฮ์ (อาหรับ: جامع الكتبية เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [jaːmiʕu‿lkutubijːa(h)]; เบอร์เบอร์: ⵎⵙⴳⵉⵜⴰ ⵏ ⴽⵓⵜⵓⴱⵉⵢⴰ) หรือ มัสยิดโกโตบียา เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในมาร์ราคิช ประเทศโมร็อกโก[1] โดยมีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น ญาเมียะอ์อัลกุตุบียะฮ์, มัสยิดกุตุบียีน และมัสยิดของคนขายหนังสือ[2] ตั้งอยู่ที่บริเวณฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของย่านอัลมะดีนะฮ์ของมาร์ราคิช ซึ่งอยู่ใกล้กับญามิอุลฟะนาอ์ และอยู่ติดกับสวนขนาดใหญ่

มัสยิดนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1147 โดยเคาะลีฟะฮ์อับดุลมุอ์มินแห่งอัลโมฮาด หลังพิชิตมาร์ราคิชจากอัลโมราวิด มัสยิดแบบที่สองสร้างขึ้นไปตามแบบของอัลดุลมุอ์มินในช่วง ค.ศ. 1158 โดยยะอ์กูบ อัลมันศูรน่าจะสร้างหออะซานเสร็จในช่วง ค.ศ. 1195[3] มัสยิดหลังที่สองเป็นมัสยิดที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปถือเป็นตัวอย่างสำคัญและดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมอัลโมฮาดและสถาปัตยกรรมโมร็อกโก[3] หออะซานที่มีความสูง 77 เมตร (253 ฟุต) ประดับด้วยรูปเรขาคณิตที่แตกต่างกันและประดับส่วนบนด้วยยอดแหลมและลูกโลหะกลม ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เช่น ฆิรัลดาแห่งเซบิยาและหอคอยฮัสซานแห่งราบัต ซึ่งสร้างขึ้นไม่นานในยุคเดียวกัน[4][5] หออะซานยังถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของมาร์ราคิช[6][1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Wilbaux, Quentin (2001). La médina de Marrakech: Formation des espaces urbains d'une ancienne capitale du Maroc. Paris: L'Harmattan. ISBN 2747523888.
  2. "Jami' al-Kutubiyya". ArchNet. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2019.
  3. 3.0 3.1 Deverdun, Gaston (1959). Marrakech: Des origines à 1912. Rabat: Éditions Techniques Nord-Africaines.
  4. Ewert, Christian (1992). "The Architectural Heritage of Islamic Spain in North Africa". ใน Dodds, Jerrilynn D. (บ.ก.). Al-Andalus: The Art of Islamic Spain. New York: The Metropolitan Museum of Art. pp. 85–95. ISBN 0870996371.
  5. Hattstein, Markus and Delius, Peter (eds.) Islam: Art and Architecture. h.f.ullmann.
  6. Gregg, Gary S. (15 February 2007). Culture and Identity in a Muslim Society. Oxford University Press. p. 62. ISBN 978-0-19-531003-0. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]