ข้ามไปเนื้อหา

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก
เซลล์ CLL
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10C91.1
ICD-9204.1
ICD-O:M9823/3 (CLL)
9670/3 (SCL)
DiseasesDB2641
MedlinePlus000532
eMedicinemed/370
NCIมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์
MeSHD015451

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ (อังกฤษ: B-cell chronic lymphocytic leukemia, B-CLL) หรือรู้จักในชื่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก (อังกฤษ: chronic lymphoid leukemia, CLL) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทที่พบมากที่สุด CLL มีผลกระทบต่อลิมโฟไซต์บีเซลล์ บีเซลล์ถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูก เติบโตในต่อมน้ำเหลือง และโดยปกติจะสู้รับการติดเชื้อโดยสร้างแอนติบอดี เมื่อเป็นโรค ดีเอ็นเอของบีเซลล์จะได้รับความเสียหาย จนไม่สามารถสร้างแอนติบอดีได้ นอกเหนือจากนั้น บีเซลล์จะเติบโตนอกเหนือการควบคุมและจะสะสมอยู่ในไขกระดูกและเลือด ซึ่งจะไปเบียดเสียดเซลล์เลือดสุภาพดี CLL เป็นระยะหนึ่งของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟไซต์เล็ก (SLL) ซึงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบีเซลล์ปรเะภทหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลือง[1] CLL และ SLL ถูกมองว่าเป็นโรคเบื้องหลังอย่างเดียวกัน เพียงแต่ปรากฏแตกต่างกัน

CLL เป็นโรคที่เกิดในผู้ใหญ่ แต่ในกรณีหายาก ก็เกิดในวัยรุ่นและเด็กสืบสายโลหิตได้เช่นกัน ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งเพิ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค CLL มีอายุเกิน 50 ปี และส่วนใหญ่เป็นชาย

คนส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยโดยไม่มีอาการแสดง โดยผลการตรวจเลือดเป็นประจำซึ่งให้ค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวสูง แต่ เมื่อโรคพัฒนาขึ้น CLL จะส่งผลให้ต่อมน้ำเหลือง ไตและตับบวม และทำให้เกิดโลหิตจางและการติดเชื้อตามมา CLL ช่วงแรกจะไม่ถูกรักษา และ CLL ระยะท้ายจะถูกรักษาด้วยเคมีบำบัดและแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody)

การวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้จำแนก CLL ออกเป็นสองประเภทหลัก โดยมีการอยู่รอดแตกต่างกัน CLL ที่ให้ผลเป็นบวกสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ย 5 ปี ส่วนชนิดที่ให้ผลเป็นลบสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ยมากกว่า 25 ปี ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจไม่ได้เข้ารับการรักษาเลยตลอดชีวิต[2]

สัญญาณและอาการแสดง

[แก้]

คนส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยโรคโดยปราศจากอาการแสดงอันเป็นผลจากการตรวจเลือดเป็นประจำซึ่งให้ค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวที่สูง ที่พบได้น้อยกว่า CLL อาจสังเกตได้จากต่อมน้ำเหลืองที่ขยายใหญ่ขึ้นโดยไม่ต้องนับปริมาณเม็ดเลือดขาวหรือหลักฐานของโรคในเลือดเลย ซึ่งถูกเรียกว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟไซต์เล็ก ในบางคน โรคอาจถูกตรวจพบได้หลังเซลล์เนื้องอกเข้าไปในไขกระดูกแล้ว ซึ่งทำให้เกิดโรคเลือดจาง ตามมาด้วยความเหนื่อยหรืออ่อนแอ

การรักษา

[แก้]

การรักษา CLL มุ่งไปยังการควบคุมโรคและอาการแสดงมากกว่าจะรักษาโดยตรง CLL รักษาได้โดยการทำเคมีบำบัด รังสีบำบัด ชีวบำบัดหรือการปลูกถ่ายไขกระดูก อาการแสดงบางครั้งถูกรักษาโดยการผ่าตัดหรือรังสีบำบัด

การรักษา CLL ระยะแรกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องแม่นยำและความก้าวหน้าของโรค และขึ้นอยู่กับความพึงใจและประสบการของผู้ประกอบกิจสาธารณสุขด้วย มีเจ้าหน้าที่กว่าสิบคนถูกใช้ในการรักษา CLL[3]

ทิศทางการวิจัย

[แก้]

กิจกรรมวิจัยศึกษาการรักษาหลายวิธีแยกกันหรือร่วมกัน กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ[3] งานวิจัยปัจจุบันกำลังเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกถ่ายไขกระดูกหลาย ๆ แบบ เพื่อดูว่าแบบใดที่ผู้ป่วยเข้ารับมากที่สุดและแบบใดดีที่สุดในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน[4]

นักวิจัยที่สถาบันมะเร็งอแบรมสัน (Abramson Cancer Center) แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รายงานความสำเร็จขั้นต้นในการใช้ยีนบำบัด โดยการดัดแปลงทีเซลล์ด้วยกลไกทางพันธุกรรม ในการรักษา CLL[5] การค้นพบดังกล่าว ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554[6][7] อาศัยข้อมูลจากผู้ป่วยสามคนผู้ฉีดเซลล์ทีดัดแปลงเข้าไปในเลือด เซลล์ทีได้ถูกดัดแปลงเพื่อให้ยีนที่ให้เซลล์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในร่างกายและทำลายเซลล์บี รวมทั้งเซลล์ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยสองคนเข้าสู่ระยะทุเลา (remission) ขณะที่การมีอยู่ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวคนที่สามลดลงถึงร้อยละ 70[8][9] ผู้ป่วยคนหนึ่งที่ถูกวินิจฉัยเป็น CLL มากว่า 13 ปี และการรักษาเขาล้มเหลวก่อนที่จะเข้าร่วมในการวิจัยคลินิกได้ หนึ่งสัปดาห์หลังฉีดเซลล์ทีเข้าไป เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเลือดของเขาก็หายไป[10] เซลล์ทียังคงถูกพบในกระแสเลือดของผู้ป่วยหกเดือนหลังกระบวนการนั้น หมายความว่าพวกมันจะยังสู้กับโรคได้หากมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลับมาอีก[8] นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ "ใช้ยีนบำบัดทำลายเนื้องอกมะเร็งได้สำเร็จในผู้ป่วยที่เป็นโรคมาก"[11] บทบรรณาธิการหนึ่งในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ยังได้กระตุ้นเตือน เพราะมีเพียงการวิจัยเพิ่มเติมที่จะชี้ชัดว่าการค้นพบดังแล้ว "เป็นความก้าวหน้าสู่การบำบัดที่ใช้ได้ในเชิงคลินิกและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง"[12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Harris NL; Jaffe ES; Diebold J; และคณะ (1999). "World Health Organization classification of neoplastic diseases of the hematopoietic and lymphoid tissues: report of the Clinical Advisory Committee meeting-Airlie House, Virginia, November 1997". J. Clin. Oncol. 17 (12): 3835–49. PMID 10577857. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  2. Chiorazzi N, Rai KR, Ferrarini M (2005). "Chronic lymphocytic leukemia". N. Engl. J. Med. 352 (8): 804–15. doi:10.1056/NEJMra041720. PMID 15728813.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 National Cancer Institute. "Chronic Lymphocytic Leukemia (PDQ) Treatment: Stage I, II, III, and IV Chronic Lymphocytic Leukemia". สืบค้นเมื่อ 2007-09-04.
  4. Gribben JG (January 2008). "Stem cell transplantation in chronic lymphocytic leukemia". Biol. Blood Marrow Transplant. 15 (1 Suppl): 53–8. doi:10.1016/j.bbmt.2008.10.022. PMC 2668540. PMID 19147079.
  5. Auer, Holly (August 10, 2011). "Genetically Modified "Serial Killer" T Cells Obliterate Tumors in Patients with Chronic Lymphocytic Leukemia, Penn Researchers Report". University of Pennsylvania School of Medicine. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
  6. Porter DL; และคณะ (2011). "Chimeric Antigen Receptor–Modified T Cells in Chronic Lymphoid Leukemia". N. Engl. J. Med.: 110810110014063. doi:10.1056/NEJMoa1103849. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  7. Kalos M; และคณะ (2011). "T Cells with Chimeric Antigen Receptors Have Potent Antitumor Effects and Can Establish Memory in Patients with Advanced Leukemia". Sci. Transl. Med. 3 (95): 95ra73. doi:10.1126/scitranslmed.3002842. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  8. 8.0 8.1 Palca, Joe (August 11, 2011). "Gene Therapy Advance Trains Immune System To Fight Leukemia". NPR. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
  9. Bazell, Robert (August 10, 2011). "New leukemia treatment exceeds 'wildest expectations'". MSNBC. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
  10. DeNoon, Daniel J. (August 10, 2011). "Gene Therapy Cures Adult Leukemia". WebMD. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
  11. Beasly, Deena (August 10, 2011). "Gene therapy shown to destroy leukemia tumors". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
  12. "Treatment for Leukemia Is Showing Early Promise". The New York Times. Associated Press. August 11, 2011. p. A15. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
  13. Urba WJ; และคณะ (2011). "Redirecting T Cells". N. Engl. J. Med.: 110810110014063. doi:10.1056/NEJMe1106965. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)