ข้ามไปเนื้อหา

มะเม่าดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะเม่าดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Phyllanthaceae
เผ่า: Antidesmeae
สกุล: Antidesma
สปีชีส์: A.  bunius
ชื่อทวินาม
Antidesma bunius
(L.) Spreng.

มะเม่าดง หรือ เม่าช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Antidesma bunius) ภาษากะเหรี่ยงเรียกส่าคู่โพ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Phyllanthaceae แยกเพศ ลำต้นตรง ใบหนาและเหนียวเป็นมันวาว เส้นกลางใบนูนเด่นด้านหลังใบ ใบอ่อนสีม่วงแดงเป็นมัน หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกตัวผู้ไม่มีก้านดอก กลีบดอกกลม ดอกตัวเมียมีก้านดอก ผลสดมีเมล็ดเดียว สีแดงอมเหลืองไปจนถึงม่วง แดงอมน้ำเงิน เนื้อผลฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปไข่ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย กระจายพันธุ์ลงมาทางใต้จนถึงศรีลังกา พม่า มาเลเซีย ปลูกเป็นการค้าในอินโดนีเซียและอินโดจีน

ผลสดรับประทานได้ มีสีติดมือและปาก สุกไม่พร้อมกัน เมื่อดิบเปรี้ยว นิยมใช้ทำแยม น้ำคั้นผลสุกใช้ทำเครื่องดื่มหรือไวน์ อินโดนีเซียใช้ผลิตน้ำปลาที่มีรสเปรี้ยว ใบอ่อนใช้ปรุงแต่งรสเปรี้ยวและรับประทานเป็นผัก เปลือกลำต้นมีอัลคาลอยด์และมีรายงานว่าเป็นพิษ รสเปรี้ยวของผลเกิดจากกรดซิตริก

อ้างอิง

[แก้]
  • ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 97 - 99

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]