มะปริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะปริง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: เงาะ
วงศ์: วงศ์มะม่วง
สกุล: Bouea
(Roxb.) Meisn.
สปีชีส์: Bouea oppositifolia
ชื่อทวินาม
Bouea oppositifolia
(Roxb.) Meisn.
ชื่อพ้อง[1]
  • Bouea angustifolia Blume
  • Bouea brandisiana Kurz
  • Bouea burmanica Griff.
  • Bouea diversifolia Miq.
  • Bouea microphylla Griff.
  • Bouea myrsinoides Blume
  • Bouea oppositifolia var. microphylla (Griff.) Merr.
  • Cambessedea oppositifolia (Roxb.) Wight & Arn. ex Voigt
  • Haplospondias brandisiana (Kurz) Kosterm.
  • Haplospondias haplophylla (Airy Shaw & Forman) Kosterm.
  • Manga acida Noronha
  • Mangifera gandaria Roxb.
  • Mangifera oppositifolia Roxb.
  • Matpania laotica Gagnep.
  • Spondias haplophylla Airy Shaw & Forman

มะปริง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bouea oppsitifolia) หรือปริง ตง ส้มปริง ภาษาเขมรสุรินทร์เรียกโค้ง เป็นผลไม้พื้นเมืองในอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]

รายละเอียด[แก้]

มะปริงมีลักษณะคล้ายมะปราง ต่างกันที่ผลเล็กและป้อมกว่า เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทาดำ มียางสีเหลือง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบสีเขียวเข้มแกมม่วง ยอดอ่อนมีใบสีม่วงห้อยลง ดอกช่อ ออกตามซอกใบหรือตามกิ่ง ดอกสีเหลืองอ่อนหรือขาวปนเขียว ผลกลมรี ผลดิบสีเขียวอ่อน เนื้อกรอบชุ่มน้ำ ผลสุกสีเหลือง เนื้อนุ่ม เมล็ดสีม่วงมีรสฝาด

การใช้ประโยชน์[แก้]

ใบอ่อนหรือยอดรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก มะปริงดิบใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารแทนมะนาว ในน้ำพริก ยำ และนำไปแกงได้ อาจจะนำไปดองในน้ำเกลือเพื่อเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น ผลสุกกินเป็นผลไม้สุกแล้วมีวิตามินเอสูง หรือใช้ทำของหวาน เช่น ไส้พาย ลอยแก้ว น้ำผลไม้ ทางยาสมุนไพร ผลใช้กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต รากแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ไข้ตัวร้อน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bouea oppositifolia". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
  2. Lamb, Anthony (2019). A guide to wild fruits of Borneo. Kota Kinabalu: Natural History Publications (Borneo). p. 30. ISBN 978-983-812-191-0.
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะปริง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550.หน้า 154
  • เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ร้อยพรรณพฤกษา:ผลไม้. กทม. เศรษฐศิลป์. 2554 หน้า 47