ข้ามไปเนื้อหา

มหิดล จันทรางกูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหิดล จันทรางกูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2483 (84 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2544–2547)

มหิดล จันทรางกูร (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2483) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปัจจุบันคือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)[1]

ประวัติ

[แก้]

มหิดล จันทรางกูร เกิดวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2483 จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 18[2] ต่อมาได้เข้าศึกษาจนจบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] จากนั้นได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลในสังกัด กรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อเข้าศึกษาจนจบปริญญาโท จาก สถาบัน École nationale supérieure des télécommunications (ENST ในปัจจุบัน)

การทำงาน

[แก้]

มหิดล จันทรางกูร รับราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานและบริหารด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและด้านกิจการคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินเป็นอย่างดี ด้วยเป็นหนึ่งในกลุ่มข้าราชการทุนรัฐบาล ผู้บุกเบิกวงการโทรคมนาคมไทยในยุคแรกๆ ของการเริ่มเปิดเสรีของโลก (Global Liberalization) และภายหลังเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาด้านสิทธิการบินของประเทศไทยมาโดยตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม

มหิดลเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)[4] กรรมการองค์กรโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม ในปี 2534 ถึงปี 2543 และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแบบแต่งตั้ง ในปี 2535[5] และในปี 2539[6] รวม 2 สมัย

มหิดล ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด ในปี 2539 ถึงปี 2543 และเคยเป็นกรรมการธนาคารเอเชีย

มหิดล ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 14 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาได้ลาออกจากสมาชิกสภาพ ส.ส. ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และต่อมา ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบ 2 กระทรวง ในปี 2548[7] ในสมัยพรรคไทยรักไทยยังเป็นรัฐบาล

ปี 2555 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.)[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เปิดชื่อ 24 DD – ปธ.บอร์ดการบินไทย ตั้งแต่ก่อตั้ง – ปัจจุบัน (2503-2563)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
  2. ประวัติสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์[ลิงก์เสีย]
  3. รายชื่ิอนิสิตเก่าดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. BOA9: นายมหิดล จันทรางกูร ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารเอเชีย
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 26 หน้า 1 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
  7. แต่งตั้งชุดใหญ่บำเหน็จ “มหิดล-วรเดช” เป็น ผช.รมต.
  8. ตบรางวัลเครือข่าย'แม้ว'ที่รอดคดีซีทีเอ็กซ์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐