ข้ามไปเนื้อหา

มสรูรมนเทียร

พิกัด: 32°04′21.2″N 76°08′13.5″E / 32.072556°N 76.137083°E / 32.072556; 76.137083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่มสรูรมนเทียร
Rock cut Hindu temples of Masrur
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอกังครา
เทพพระศิวะ, พระวิษณุ, เทวี, ฯลฯ
ที่ตั้ง
รัฐหิมาจัลประเทศ
ประเทศอินเดีย
มสรูรมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
มสรูรมนเทียร
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
มสรูรมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐหิมาจัลประเทศ
มสรูรมนเทียร
มสรูรมนเทียร (รัฐหิมาจัลประเทศ)
พิกัดภูมิศาสตร์32°04′21.2″N 76°08′13.5″E / 32.072556°N 76.137083°E / 32.072556; 76.137083
สถาปัตยกรรม
รูปแบบนคร
เสร็จสมบูรณ์8th-century[1]

หมู่มนเทียรมสรูร (อักษรโรมัน: Masrur หรือ Masroor) เป็นโบสถ์พราหมณ์ตัดสินอายุศตวรรษที่ 8 ตั้งอยู่ในหุบเขากังครา ในรัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย[2] หันหน้าออกตะวันออกเฉียงเหนือ[1] สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบนคร ถึงแม้หมู่มนเทียรที่หลงเหลือในปัจจุบันจะมีขนาดใหญ่โต แต่การค้นคว้าทางโบราณคดีเสนอว่าศิลปินและสถาปนิกในอดีตมีแผนที่ใหญ่กว่านี้มากในการจะสร้างหมู่มนเทียรนี้ และหมู่มนเทียรที่เห็นในปัจจุบันยังสร้างไม่เสร็จตามแผน งานแกะสลักและประติมากรรมส่วนใหญ่ของมนเทียรในปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว รวมถึงหมู่มนเทียรยังมีร่องรอยความเสียหายที่อาจจะมาจากเหตุแผ่นดินไหว[1]

มนเทียรสร้างขึ้นโดยการแกะสลักหินใหญ่ก้อนเดียวเป็นศิขร และตรงกลางมีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามคัมภีร์การสร้างมนเทียร[1] มนเทียรมีทางเข้าสามทางทางตะวันออกเฉียงเหรือ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ ในจกนวนนี้มีเพีนงจุดเดียวที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ หลักฐานที่พบยังเสนอว่ามีการจะก่อสร้างทางเข้าออกที่สี่ ซึ่งสร้างไม่เสร็จ[1] หมู่มนเทียรสร้างขึ้นตามแผนกริดสี่เหลี่ยมจัตุรัส (square grid) โดยมีมนเทียรหลักล้อมรอบด้วยมนเทียรหลังเล็ก ๆ ตามแบบแผนแบบมณฑล ครรภคฤห์ของมนเทียรหลักสร้างตามแปลนแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่นเดียวกับศาลย่อย ๆ และส่วนมณฑป มนเทียรยังประดับด้วยงานแกะสลักและประติมากรรมแสดงภาพของเทพเจ้าและเนื้อหาจากปุราณะในศาสนาฮินดู[1][2]

มีรายงานการค้นพบมนเทียรครั้งแรกโดย Henry Shuttleworth ในปี 1913 ที่ซึ่งนำไปสู่ความสนใจโดยบรรดานักโบราณคดี[3] Harold Hargreaves จากกรมสำรวจโบราณคดีได้ทำการสำรวจหมู่มนเทียรด้วยตนเองในปี 1915 ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดีน Michael Meister ระบุว่ามสรูรมนเทียรสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบ "ภูเขา" ซึ่งแทนภาพของโกที่มีภูเขาล้อมรอบ[1]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Michael W. Meister (2006), Mountain Temples and Temple-Mountains: Masrur, Journal of the Society of Architectural Historians, Vol. 65, No. 1 (Mar., 2006), University of California Press, pp. 26- 49
  2. 2.0 2.1 Laxman S. Thakur (1996). The Architectural Heritage of Himachal Pradesh: Origin and Development of Temple Styles. Munshiram Manoharlal. pp. 27, 39–43. ISBN 978-81-215-0712-7.
  3. Mulk Raj Anand 1997, pp. 16–17, 22

บรรณานุกรม

[แก้]