ข้ามไปเนื้อหา

ป้ายสุสาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มรณะศิลาจารึก)
ป้ายสุสาน

“ป้ายสุสาน” ทำด้วยหินทรายของกัปตันแอนดรูว์ เดรค (ค.ศ. 1684-ค.ศ. 1743) ที่เอดิสัน, นิวเจอร์ซีย์

ป้ายสุสาน หรือ ป้ายหลุมศพ (อังกฤษ: headstone, tombstone, gravestone) เป็นเครื่องหมายที่มักจะแกะสลักจากหินที่ตั้งไว้ ณ ที่ฝังศพในสุสานหรือที่อื่นที่ทำการฝัง

ที่มา

[แก้]

แท่งหินประดับหลุมศพ[1] (stele) ในบริบทของโบราณคดีเป็นรูปแบบของศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปะเกี่ยวกับความตาย เดิมศิลาจารึกหน้าหลุมศพมาจากฝาของโลงหิน และ แผ่นหินหน้าหลุมศพก็มาจากแผ่นหินที่วางทับบนหลุมศพหลุมศพ ในปัจจุบันคำเหล่านี้ใช้สำหรับเครื่องหมายที่ตั้งเหนือหลุมศพ เดิมหลุมศพในคริสต์ทศวรรษ 1700 จะมีหินไม่แต่ที่หัวของหลุม (head) แต่ที่ตรงปลายสุดของหลุมด้วย หินตรงปลายหลุมมักจะไม่มีการแกะสลักนอกไปจากอักษรย่อของชื่อผู้เสียชีวิตเท่านั้น และสุสานหลายสุสานก็ถอนทิ้งไปเพื่อที่จะได้ทำการตัดหญ้าได้ง่ายขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตคือในบางสุสานในสหราชอาณาจักร ป้ายสุสานจะตั้งอยู่ที่ปลายเท้าของหลุมศพ

หลุมศพเป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อการรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว บนศิลาจารึกบางแผ่นก็จะทิ้งช่องว่าไว้สำหรับเพิ่มเติมชื่อของสามีภรรยาหรือญาติพี่น้องที่มาเสียชีวิตในภายหลัง ฉะนั้นศิลาจารึกบางแผ่นจึงเป็นหลักฐานที่แสดงประวัติการตายของตระกูลตามลำดับเวลาหลายสิบปี นอกจากการเป็นการแสดงที่ฝังผู้ตายแล้วป้ายสุสานและที่ฝังศพในสุสานก็ยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจของผู้ตายอีกด้วย ฉะนั้นป้ายสุสานบางชิ้นก็อาจจะเป็นงานที่จ้างโดยผู้ที่ยังไม่เสียชีวิตก็ได้ ในสมัยโบราณผู้ที่มีฐานะหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ร่ำรวยพอที่จะสร้างอนุสรณ์ภายในคริสต์ศาสนสถานได้ก็จะสร้างกันภายในคริสต์ศาสนสถานแทนที่จะเป็นศิลาจารึกที่ตากแดดตากฝนอยู่ภายนอก

องค์การเผาศพจะมีที่หมายของผู้ตายให้แต่มักจะไม่มีศิลาจารึกแบบตั้ง แต่จะเป็นแผ่นรำลึกภายในอาคารที่ทำการเผาศพแทนที่ เพื่อให้ญาติพี่น้องได้มีสถานที่สำหรับการมาสักการะหรือรำลึกถึงผู้ตาย

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ป้ายสุสาน