ศิลปะเกี่ยวกับความตาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลปะเกี่ยวกับความตาย
Funerary art

อนุสรณ์ของฟิลลีปป์ โปต์ข้าหลวงแห่งภูมิภาคเบอร์กันดีภายใต้พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส

ศิลปะเกี่ยวกับความตาย (อังกฤษ: Funerary art) คือประเภทของงานศิลปะที่เป็นรูปแบบหรือตั้งอยู่กับร่างของผู้ตาย ที่เก็บศพเป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้สำหรับบรรจุผู้ตาย ขณะที่สมบัติสุสานคือสิ่งของที่ฝังหรือตั้งไว้กับผู้ตาย—ที่นอกไปจากร่างของผู้ตาย—ที่ได้รับการวางไว้กับผู้ตาย[1] สิ่งของต่าง ๆ ที่ฝังไปกับผู้ตายอาจจะรวมทั้งสิ่งของส่วนตัว หรือวัตถุหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำการฝัง หรือวัตถุหรือสิ่งของขนาดย่อที่เชื่อกันว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ตายในโลกใหม่ ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ในอดีตมักจะมาจากวัตถุที่ฝังไว้กับผู้ตายเหล่านี้

ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะมีวัตถุประสงค์หลายประการที่นอกไปจากเพื่อความมีสุนทรีย์ในการแสดงถึงความเชื่อหรืออารมณ์เกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการฝังศพ, เป็นสิ่งของที่ผู้ตายจะนำไปใช้ได้ในโลกหน้า และ เป็นวัตถุเพื่อการเฉลิมฉลองชีวิตและความสำเร็จของผู้ตาย หรือ เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในประเพณีการสักการะบรรพบุรุษ (ancestor veneration) นอกจากนั้นศิลปะเกี่ยวกับความตายก็อาจจะเป็นเครื่องเตือนถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขารของมนุษย์, เครื่องแสดงถึงคุณค่าและบทบาทของวัฒนธรรม และเป็นการเอาใจวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กลับมาหลอกหลอนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมมีบุคลาธิษฐานยมทูต เช่นเทพเฮอร์มีสของกรีก หรือเทพชารุน ผู้เป็นผู้นำทางวิญญาณไปยังโลกสำหรับผู้ตาย

ศิลปะเกี่ยวกับความตายมีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์นีอันเดอร์ธอลกว่า 100,000 ปีมาแล้ว และดำเนินในทุกชาติทุกวัฒนธรรมต่อมา—ยกเว้นวัฒนธรรมฮินดูที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่เป็นข้อยกเว้น งานศิลปะอันมีชื่อเสียงในวัฒนธรรมยุคโบราณในอดีต—ตั้งแต่พีระมิดอียิปต์ และสมบัติฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ไปจนถึง สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ล้อมรอบฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน, ที่เก็บศพฮาลิคาร์นาสซัส, เรือฝังที่ซัททันฮู และ ทัชมาฮาล—เป็นที่เก็บศพหรือที่พบสิ่งของที่ฝังไปกับผู้ตายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วศิลปะเกี่ยวกับความตายมักจะสร้างขึ้นโดยผู้อุปถัมภ์ศิลปินผู้มีฐานะดี ส่วนการฝังศพหรือทำศพของผู้มีฐานะยากจนก็อาจจะเพียงแต่เป็นภาพที่เขียนหยาบ ๆ ง่าย ๆ และสิ่งของติดตัวที่เป็นสมบัติเมื่อมีชีวิตอยู่

สามัญวัฒนธรรมของการบรรจุ/ฝังศพ[แก้]

การฝังศพหรือบรรจุศพก็อาจจะเป็นภายใต้เนินทิวมิวลัส (Tumulus) หรือเนินดินหรือหินที่สร้างขึ้นเพื่อคลุมที่บรรจุศพของบุคคลสำคัญในหลายวัฒนธรรม หรืออาจจะบรรจุในโลงหิน หรือ โลงไม้ ถ้าเป็นมอโซเลียมก็จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ก่อสร้างโดยเฉพาะสำหรับเป็นที่บรรจุศพ แผ่นสตีลี (Stele) จะเป็นแผ่นหินที่เป็นที่หมายที่บรรจุหรือฝังศพที่ในปัจจุบันคือแผ่นหินสลักชื่อผู้ตาย (gravestone) การฝังในเรือเป็นประเพณีที่นิยมทำกันในชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามฝั่งทะเลในยุโรป ขณะที่การฝังในรถม้านิยมทำกันโดยทั่วไปในยูเรเชีย สุสานใต้ดินเช่นตัวอย่างที่มีชื่อเสียงคือสุสานใต้ดินแห่งกรุงโรม and สุสานใต้ดินแห่งโคมเอลโชคาฟาเป็นสุสานใต้ดินที่เชื่อมต่อกันด้วยทางเดิน ส่วนการฝังเป็นกลุ่มขนาดใหญ่เหนือดินเรียกว่าเนินเก็บศพ (necropolis) ส่วนอนุสาวรีย์ผู้ตาย (Cenotaph) ก็จะเป็นเพียงอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้ตายโดยไม่มีร่างของผู้ตาย

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำศพก็ได้แก่ภาพเหมือนบรรพบุรุษที่นิยมกันในวัฒนธรรมต่างๆ ตั้งแต่โรมันโบราณไปจนถึงจีน ที่จะเก็บรักษาไว้ในบ้านของลูกหลานของผู้ตายแทนที่จะนำไปฝัง

ประวัติ[แก้]

สมัยก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

เพิงหินพูบนาบรอนในไอร์แลนด์คลุมผู้ตายอย่างน้อย 22 คนจากสมัยหิน

วิธีการทำศพที่เก่าแก่ที่สุดตามหลักฐานทางโบราณคดีคือการก่อสร้างที่ฝังศพ[2] โครงสร้างหิน (Megalith) ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่แรกที่สุดสร้างห่างกันเพียงในช่วงไม่กี่ร้อยปีแต่กระนั้นก็ยังแสดงลักษณะรูปทรงที่แตกต่างกันออกไปมากและมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป โครงสร้างหินในคาบสมุทรไอบีเรียมีหลุมศพที่เมื่อตรวจสอบด้วยการเปล่งแสงความร้อน (Thermoluminescence) แล้วก็พบว่ามีอายุราว 4510 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่ฝังศพบางแห่งเช่นที่ วงหินคาร์ยัคในบริตานีมีอายุราว 5000 ปีก่อนคริสต์ศักราช [3] คุณค่าทางด้านการเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ตายของการสร้างโครงสร้างหินจะเห็นได้จากการสร้างที่เมื่อเวลาผ่านไปเนินก็จะสูงขึ้น และการก่อสร้างที่ตั้งแต่ต้นแล้วมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นงานชิ้นใหญ่ที่มีความสำคัญ วัตถุประสงค์ดังกล่าวสามารถทำได้โดยการสร้างที่บรรจุศพสำหรับผู้ใดผู้หนึ่งแต่เพียงผู้เดียว และล้อมรอบด้วยคูคันและทางระบายน้ำอันซับซ้อน การบรรจุศพบนดินอยู่บนพื้นฐานของความต้องการที่จะเป็นสถานที่สำหรับทำการสักการะร่วมกันโดยหมู่ชนที่เกี่ยวข้องกับการสักการะบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในหมู่ชนที่มีความก้าวหน้าทางการตั้งถิ่นฐานเป็นที่เป็นทาง และทำการเลี้ยงปศุสัตว์ และมีระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนขึ้น[4]

เพิงหินกลันเทนที่เคาน์ตีคอร์คในไอร์แลนด์

เมื่อมาถึงสังคมของยุคหินและยุคสัมริดก็มีการฝังศพหรือบรรจุศพด้วยวิธีต่างๆ ที่รวมทั้งการสร้างเนินทิวมิวลัส และ เพิงหินขนาดใหญ่ ที่มักจะมีเครื่องปั้นดินเผาเป็นองค์ประกอบ ในยูเรเชียก็จะมีการสร้างเพิงหินที่ทำเป็นห้องบรรจุศพที่เดิมคลุมด้วยดินที่เดิมมีลักษณะเป็นเนิน แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปดินและหินที่ใช้ก็จะถูกกัดกร่อนจนเหลือแต่โครงร่างที่ดูเหมือนเพิงตั้งอยู่เท่านั้น หินที่ใช้ในการก่อสร้างก็อาจจะมีการแกะสลักเป็นลวดลายเรขาคณิต (ลายสลักหิน) เช่น ลายถ้วยและวงแหวน (Cup and ring mark) นอกจากนั้นก็ยังมีการสร้างที่ฝังศพเป็นกลุ่ม ซึ่งยังคงยากต่อการเข้าใจถึงความหมาย การบรรจุศพโดยการใช้โกศ ที่บรรจุเฉพาะกระดูกภายในภาชนะที่ทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาทั้งในที่เก็บศพอันหรูหราหรือเพียงลำพังก็เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วไป และไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในอารยธรรมเอิร์นฟิลด์ หรือในยูเรเชียเท่านั้น

อียิปต์โบราณ[แก้]

หน้ากากผู้ตายเซอรามิคแบบอียิปต์

ศิลปะเกี่ยวกับความตายของอียิปต์มีความสัมพันธ์โดยตรงเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องชีวิตที่ยังคงดำเนินต่อไปหลังจากที่ตายไปแล้ว และการที่จะช่วยให้การเดินทางจากโลกนี้ไปยังโลกหน้าทำได้สำเร็จก็จะต้องรักษารูปลักษณ์และสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ของผู้ตายเอาไว้[5] หุบเขากษัตริย์ได้รับการสร้างขึ้นให้เป็นเนินสำหรับผู้ตาย (necropolis) สำหรับฟาโรห์และชนชั้นสูงตั้งแต่ราว 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาความสำคัญก็ได้ย้ายไปที่เนินธีบ (Theban Necropolis) ซึ่งเป็นที่ตั้งของมรณสถาน (Mortuary temple) และสุสานมาสตาบา ภาพเหมือนผู้ตายเริ่มพบกันตั้งแต่สมัยแรก แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นภาพเหมือนของอียิปต์โบราณจริงหรือไม่ จุดประสงค์ของการบรรจุศพก็เพื่อเฉลิมฉลองชีวิตของเจ้าของที่บรรจุศพ ให้สิ่งของที่จำเป็นต่อชีวิตหลังจากที่ตายไปแล้ว บรรยายพิธีฝัง และ สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการเกิดใหม่ของเจ้าของที่บรรจุศพ[6] การทำศพของชาวอียิปต์ได้รับการจารึกไว้ในเอกสารเกี่ยวกับการศพที่อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของประเพณีการฝังศพ นอกจากนั้นก็ยังมีการบรรจุศพโดยการอนุรักษ์เป็นมัมมี่เอาไว้ภายในโลงหลายชั้นพร้อมด้วยการรักษาอวัยวะภายในไว้ในผอบที่ตั้งไว้ไม่ไกลนัก

ผู้ที่มีฐานะต่ำต้อยกว่าก็จะสร้างศิลปะเกี่ยวกับความตายที่ใช้กันทั่วไป ที่รวมทั้งรูปปั้นชับตีผู้ที่จะเป็นผู้ทำงานที่ต้องการแทนผู้ตาย, หุ่นบีเติล และหนังสือมรณีที่เชื่อกันว่าจะช่วยพิทักษ์ตนเองได้เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว[7] ระหว่างราชอาณาจักรอียิปต์กลางก็เริ่มมีการใช้หุ่นดินเหนียวหรือไม้ขนาดเล็กที่จัดเป็นฉากชีวิตประจำวัน เพื่อไปดำเนินต่อไปเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว[8]


อ้างอิง[แก้]

  1. Hammond 1999, pp.58-9 characterizes disarticulated human skeletal remains packed in body bags and incorporated into Pre-Classic Mesoamerican mass burials (along with a set of primary remains) at Cuello, Belize as "human grave goods".
  2. Although the purpose of megalithic structures is not always clear, and of the very oldest, while Nevali Cori in Turkey contains burials, Göbekli Tepe appears not to.
  3. Mohen 1990, 70
  4. Mohen, 87
  5. Stone, 37
  6. Bergman et al 1996, 31
  7. James (2005), 122
  8. Robinson (1998), 74

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bergman, Bettina; Cohen, Ada; Steh, Eva & Nathalie Boymel Kampen. Sexuality in Ancient Art. London: Cambridge University Press, 1996. ISBN 0-5214-7683-6
  • Board of Trustees for The Hofkirche in Innsbruck. "The Memorial Tomb for Maximilian I เก็บถาวร 2008-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", 2005. Accessed April 29, 2008.
  • Boardman, John ed. The Oxford History of Classical Art, 1993. OUP, ISBN 0-1981-4386-9
  • Blier, Suzanne Preston. The Royal Arts of Africa: The Majesty of Form. Prentice Hall, 2003. ISBN 0-1318-3343-X. First published 1998 NY: Harry N. Abrams.
  • Brown, Miranda. The Politics of Mourning in Early China. State University of New York Press, 2007. ISBN 0-7914-7157-8
  • Coe, Michael. Mexico, from the Olmecs to the Aztecs. Thames and Hudson, 1994. ISBN 0-500-27722-2
  • Coe, Michael, Snow, Dean and Benson, Elizabeth P. Atlas of Ancient America; Facts on File, New York, 1986.
  • Davies, Glenys. "The Significance of the Handshake Motif in Classical Funerary Art". American Journal of Archaeology, Volume 89, No. 4, 1985. 627-640
  • De Grummond, Nancy Thomson. Etruscan Italy today. In Hall, John Franklin (ed.) Etruscan Italy: Etruscan Influences on the Civilizations of Italy from Antiquity to the Modern Era Indiana University Press, 1997. ISBN 0-8425-2334-0
  • De Grummond, Nancy Thomson. Etruscan Myth, Sacred History, And Legend. University of Pennsylvania Museum Publication, 2006. ISBN 1931-7078-63
  • Fletcher, Banister & Cruickshank, Dan. Sir Banister Fletcher's a history of architecture. 20th ed. Oxford: Architectural Press, 1996. ISBN 0-7506-2267-9
  • Gäbler, Ulrich. Huldrych Zwingli: His Life and Work. Philadelphia: Fortress Press, 1986. ISBN 0-8006-0761-9
  • Giammattei , Victor Michael & Reichert, Nanci Greer. (1998). Art of a Vanished Race: The Mimbres Classic Black-On-White. Silver City NM: High Lonesome Books. ISBN 0-9443-8321-1
  • Goldin Paul R. The Motif of the Woman in the Doorway and Related Imagery in Traditional Chinese Funerary Art. Journal of the American Oriental Society, 121.4, 2001.
  • Hall, James. A History of Ideas and Images in Italian Art, 1983, John Murray, London. ISBN 0-7195-3971-4
  • Hammond, Norman. Social Patterns in Pre-Classic Mesoamerica เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Washington DC: Dumbarton Oaks Research Library and Collection, 1999. 49-66. ISBN 0-8840-2252-8
  • Henderson, Jeffrey. The Lekythos and Frogs 1200-1248. Harvard Studies in Classical Philology, Vol. 76, 1972. 133-143.
  • Holiday Peter J. (1990). Processional Imagery in Late Etruscan Funerary Art. American Journal of Archaeology, Vol. 94, No. 1. , pp. 73-93.
  • James, T.G.H. (2005). The British Museum Concise Introduction to Ancient Egypt. Ann Arbor, Mich: University of Michigan Press. ISBN 0-472-03137-6.
  • Johnston, Sarah Iles. (2004). Religions of the Ancient World: A Guide. Belknap Press (Harvard University Press Reference Library) ISBN 0-6740-1517-7.
  • Kubler, George. The Art and Architecture of Ancient America: The Mexican, Maya and Andean Peoples, Pelican History of Art, Yale University Press, 1984. ISBN 0-3000-5325-8.
  • Lynch, B. M. & and Robbins, L. H. Cushitic and Nilotic Prehistory: New Archaeological Evidence from North-West Kenya. The Journal of African History, 1979. 20, 3. 319–328.
  • Mason, J. Alden. "Zapotec Funerary Urns from Mexico", The Museum Journal, University of Pennsylvania, 1929. 20:176-201.
  • Merriman, Nick. Public Archaeology. London: Routledge, 2004. ISBN 0-4152-5889-8
  • Michalski, Sergiusz. The Reformation and the Visual Arts: The Protestant Image Question in Western and Eastern Europe. London: Routledge, 1993. ISBN 0-4150-6512-7
  • Mohen, Jean-Pierre. The World of Megalites. New York: Facts on File, 1990. ISBN 0-8610-2251-8
  • Muren, Gladys "Jaina Standing Lady", Utah Museum of Fine Arts. Accessed April 2007.
  • Oakes, Lorna & Gahlin, Lucia. Ancient Egypt: An Illustrated Reference to the Myths, Religions, Pyramids and Temples of the Land of the Pharaohs. Hermes House, 2002. ISBN 1-84477-008-7
  • Potter, G. R. Zwingli. Cambridge: Cambridge University Press, 1976. ISBN 0-521-20939-0
  • Richardson, E. P. "Zapotec Pottery Sculpture". Parnassus, Volume 4, No. 3, 1932. 48-49
  • Richter, Gisela M. A. "A Newly Acquired Loutrophoros". The Metropolitan Museum of Art Bulletin, Volume 23, No. 2, Part 1, 1928. 54-57
  • Robins, Gay (2000). The Art of Ancient Egypt. Harvard University Press. ISBN 0-674-00376-4.
  • Smithsonian National Museum of the American Indian (2005) Born of Clay: Ceramics from the National museum of the American Indian, NMAI Editions. ISBN 1-9335-6501-2.
  • Stone, K. Image and Spirit: Finding Meaning in Visual Art. Minneapolis, MN: Augsburg Books, 2003.
  • Taylor, R. E. "The Shaft Tombs of Western Mexico: Problems in the Interpretation of Religious Function in Nonhistoric Archaeological Contexts", in American Antiquity, Vol. 35, No. 2, 1970. 160-0169
  • Thorp, Robert L. & Vinograd, Richard Ellis. Chinese Art and Culture. Prentice Hall, 2003. ISBN 0-1318-3364-2
  • Toynbee, Jocelyn M. C. Death and Burial in the Roman World, JHU Press 1996. ISBN 0-801-8550-7
  • Welch, Evelyn. Art in Renaissance Italy, 1350-1500. Oxford: Oxford University Press, 2000. ISBN 0-1928-4279-X
  • Wright, John Henry. Unpublished White Lekythoi from Attika. The American Journal of Archaeology and of the History of the Fine Arts, Vol. 2, No. 4, 1886. 385-407

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะเกี่ยวกับความตาย