ภุช

พิกัด: 23°15′N 69°40′E / 23.25°N 69.67°E / 23.25; 69.67
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภุช
ปราคมหัล
ภุชตั้งอยู่ในรัฐคุชราต
ภุช
ภุช
ภุชตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ภุช
ภุช
พิกัด: 23°15′N 69°40′E / 23.25°N 69.67°E / 23.25; 69.67
ประเทศ อินเดีย
รัฐรัฐคุชราต
อำเภอกูตช์
เทศบาลภุช
ผู้ก่อตั้งเรา หมีรจี
พื้นที่
 • ทั้งหมด56 ตร.กม. (22 ตร.ไมล์)
ความสูง110 เมตร (360 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด213,514 คน
 • ความหนาแน่น3,800 คน/ตร.กม. (9,900 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN370001
รหัสโทรศัพท์2832
ทะเบียนพาหนะGJ-12
สัดส่วนเพศ0.97 /
เว็บไซต์http://www.bhujnagarpalika.org
source:Census of India[1]

ภุช (อักษรโรมัน: Bhuj, ออกเสียง) เป็นเทศบาลนครและศูนย์กลางการปกครองของอำเภอกัจฉ์ รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ในปี 2011 ประชากรของนครภุชอยู่ที่ 213,514[1] และข้อมูลจากปี 2003 ระบุจำนวนศาสนิกชนชาวมุสลิมของภุชอยู่ที่ 24%[2] ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยในสลัมของภุชเป็นชาวมุสลิม ทลิต และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ[3][4] เช่นในสลัมแห่งหนึ่งสำรวจพบประชากร 80% เป็นชาวมุสลิม[5]

ตามตำนานเล่าว่าแคว้นกัจฉ์นั้นปกครองโดยหัวหน้าเผ่าชาวนาค ครั้นหนึ่ง ราชินีสไง (Sagai) แห่งเศศปัฏฏณะ ผู้สมรสกับกษัตริย์เภริยา กุมาร (Bheria Kumar) ได้ก่อการกำเริบเหนือหัวหน้าเผ่านาค นามว่า ภุชงค์ (Bhujanga) ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าคนสุดท้าย หลังสู้รบเสร็จสิ้น เภริยาพ่ายแพ้และราชินีสไงตึงกระโดดลงกองไฟ เขาที่พวกเขาอาศัยอยู่ต่อมาจึงเป็นที่รู้จักในชื่อเขาภุชิยา ส่วนเมืองที่เชิงเขามีชื่อว่า ภุช ส่วนภุชงค์นั้นได้รับการบูชาโดยผู้คนในฐานะนาคที่สำคัญ และมีการสร้างวิหารขึ้นบูชา[6]

ตามประวัติศาสตร์นั้น นครภุช สถาปนาขึ้นโดยเรา หมีร์ (Rao Hamir) ในปี ค.ศ. 1510 และกลายมาเป็นราชธานีของกัจฉ์ โดยเราเขงครจีในปี 1549[7] มีการวางศิลาฤกษ์ในฐานะราชธานีอย่างเป็นทางการในปีวิกรมสามวัตที่ 1604 มาฆที่ห้า (ราวปลายเดือนมกราคม 1548) หลังจาก 1590 เป็นต้นมา จักรวรรดิโมกุลเรืองอำนาจเหนือภุช และชื่อของนครแปรมาเป็น สุไลมานนคร (Suleiman Nagar) เมืองภุชมีป้อมปราการซึ่งสร้างขึ้นโดยเทวกรัน เสฐ (Devkaran Seth) ในสมัยของเราเทศัลจี (ปี 1718 - 1741)[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Census of India". The Registrar General & Census Commissioner, India, New Delhi, Ministry of Home Affairs, Government of India. 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-03.
  2. A. P. Joshi, M. D. Srinivas, Jitendra Bajaj (2003). Religious Demography of India. Centre for Policy Studies. p. 68. ISBN 9788186041154.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Ashish Kothari and Shrishtee Bajpai (2020-06-09). "Towards urban direct democracy in Bhuj, India".
  4. Damayantee Dhar (18 September 2018). "Life of Muslims in Bhuj -- A Saga of Political Alienation And Discrimination".
  5. Miwa Kanetani (2006). "Communities Fragmented in Reconstruction after the Gujarat Earthquake of 2001". Journal of the Japanese Association for South Asian Studies: 62.
  6. Ward (1 January 1998). Gujarat–Daman–Diu: A Travel Guide. Orient Longman Limited. pp. 316–317. ISBN 978-81-250-1383-9.
  7. "History of Bhuj". Bhuj Online. สืบค้นเมื่อ 31 October 2018.
  8. Gazetteer of the Bombay Presidency: Cutch, Palanpur, and Mahi Kantha. Printed at the Government Central Press. 1880. pp. 215–216.