ภาษาไอมารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาไอมารา
Aymar aru
ออกเสียง[ajmaɾ ˈaɾu]
ประเทศที่มีการพูดเปรู, โบลิเวีย, ชิลี
ชาติพันธุ์ไอมารา
จำนวนผู้พูด1,677,100 คน  (2007–2011)[1][2]
ตระกูลภาษา
ไอมารา
  • ภาษาไอมารา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ โบลิเวีย
 เปรู[a]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ชิลี
รหัสภาษา
ISO 639-1ay
ISO 639-2aym
ISO 639-3aymรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
ayr – ไอมารากลาง
ayc – ไอมาราใต้
การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์ของภาษาไอมารา
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาไอมารา เป็นภาษาตระกูลไอมาราที่พูดโดยชาวไอมาราแห่งเทือกเขาแอนดีส เป็นหนึ่งในภาษาพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเพียงไม่กี่ภาษาที่มีผู้พูดมากกว่าหนึ่งล้านคน[3] ภาษาไอมาราเป็นภาษาทางการร่วมกับภาษาสเปนในโบลิเวีย นอกจากนี้ยังมีผู้พูด (ในระดับที่น้อยกว่ามาก) ในชุมชนบางแห่งทางตอนใต้ของเปรูและทางตอนเหนือของชิลีที่ซึ่งภาษานี้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ

นักภาษาศาสตร์บางคนอ้างว่าภาษาไอมารามีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายกับภาษาตระกูลเกชัวซึ่งมีจำนวนผู้พูดมากกว่า อย่างไรก็ตาม การอ้างดังกล่าวถูกโต้แย้ง แม้ว่าภาษาทั้งสองจะมีความคล้ายคลึงกันจริง (เช่นในแง่สัทวิทยา) แต่ความเห็นข้างมากในหมู่นักภาษาศาสตร์ในปัจจุบันคือ ความคล้ายคลึงเหล่านั้นน่าจะเป็นลักษณะประจำเขตที่เกิดจากการดำรงอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานมากกว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แตกแขนงมาจากภาษาดั้งเดิมร่วมกัน

ภาษาไอมาราเป็นภาษาคำติดต่อและยังเป็นภาษาคำควบมากพยางค์ในระดับหนึ่ง มีการเรียงลำดับคำแบบประธาน–กรรม–กริยา

หมายเหตุ[แก้]

  1. เป็นภาษาทางการเฉพาะในพื้นที่ที่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาหลัก

อ้างอิง[แก้]

  1. "Aymara, Central". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  2. "Aymara, Southern". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  3. ภาษาพื้นเมืองอื่นในทวีปอเมริกาที่มีผู้พูดมากกว่าหนึ่งล้านคนได้แก่ ภาษานาวัตล์ ภาษาตระกูลเกชัว และภาษากวารานี