ข้ามไปเนื้อหา

ตระกูลภาษาเกชัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตระกูลภาษาเกชัว
คิชวา, รูนาซีมี
กลุ่มเชื้อชาติ:เกชัว
ภูมิภาค:ตลอดทั้งเทือกเขาแอนดีสตอนกลางในโคลอมเบีย, เอกวาดอร์, เปรู, โบลิเวีย, ชิลี และอาร์เจนตินา
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลภาษาหลักของโลก
กลุ่มย่อย:
  • เกชัว 1
  • เกชัว 2
ISO 639-1:qu
ISO 639-5:qwe
กลอตโตลอก:quec1387[1]
{{{mapalt}}}
แผนที่แสดงการกระจายตัวของภาษาตระกูลเกชัวปัจจุบัน (พื้นที่สีเทาทึบ) และขอบเขตของจักรวรรดิอินคาในอดีต (พื้นที่แรเงา)

ตระกูลภาษาเกชัว เป็นตระกูลภาษาพื้นเมืองที่พูดโดยชาวเกชัวซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาแอนดีสในเขตประเทศเปรู[2] นับเป็นตระกูลภาษาของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่มีการพูดกันอย่างกว้างขวางที่สุดโดยอาจมีผู้พูดทั้งหมดราว 8–10 ล้านคน[3] ชาวเปรูประมาณร้อยละ 25 (7.7 ล้านคน) พูดภาษาใดภาษาหนึ่งในตระกูลนี้[4][5]

ภาษาต่าง ๆ ในตระกูลเกชัวมีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากภาษาบรรพบุรุษร่วมกัน บางทีตระกูลภาษานี้อาจเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดจากการเป็นตระกูลภาษาหลักของจักรวรรดิอินคา เนื่องจากชาวสเปนในสมัยอาณานิคมสนับสนุนการใช้งาน ภาษาตระกูลนี้จึงไม่สูญไปและรูปแปรต่าง ๆ ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ โดยเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่สองในเปรูและเป็นภาษาทางการร่วมในหลายภูมิภาค

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Quechuan". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. "Quechua language, alphabet and pronunciation". www.omniglot.com. สืบค้นเมื่อ 2017-07-26.
  3. Adelaar 2004, pp. 167–168, 255.
  4. "Peru | Languages". Ethnologue. Dallas, Texas: SIL International. 2017. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017. Population total all languages: 7,734,620.
  5. "Peru | Country". Ethnologue. Dallas, Texas: SIL International. 2017. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017. Population 30,814,000 (2014 UNSD)