ภาษาเซอร์เบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเซอร์เบีย
Српски / Srpski
ออกเสียง[ˈsr̩pskiː] เซิรฺปสกี
ประเทศที่มีการพูดเซอร์เบีย มอนเตเนโกร โครเอเชีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และอื่น ๆ
จำนวนผู้พูด12,000,000[1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการเซอร์เบีย มอนเตเนโกร โครเอเชีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และในบางเขตเทศบาลของมาซิโดเนีย
ผู้วางระเบียบคณะกรรมาธิการมาตรฐานภาษาเซอร์เบีย
รหัสภาษา
ISO 639-1sr
ISO 639-2scc (B)
srp (T)
ISO 639-3srp
  ประเทศที่ใช้ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษาราชการ
  Countries where it is recognized as a minority language.

ภาษาเซอร์เบีย (อังกฤษ: Serbian language) เป็นหนึ่งในหลายมาตรฐานของภาษาถิ่นชทอคาเวีย (Štokavian dialect) ภาษาเซอร์เบียใช้มากในเซอร์เบีย มอนเตเนโกร โครเอเชีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และชาวเซิร์บในทุก ๆ ที่ มาตรฐานเดิมของภาษานี้คือ ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย (Serbo-Croatian language) ปัจจุบันแตกออกเป็นมาตรฐานภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย และภาษาบอสเนีย

ภาษาเซอร์เบียมีคุณสมบัติเฉพาะที่ภาษาอื่นส่วนใหญ่ไม่มี คือ ทุกคำสะกดตามที่อ่านตรง ๆ และทุกตัวอักษรแทนหนึ่งเสียง หลักการนี้เป็นไปตามสุภาษิตที่ว่า "เขียนตามที่พูดและอ่านตามที่เขียน" ("Write as you speak and read as it is written") ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้โดยวุก สเตฟานอวิช คาราดจิช (Vuk Stefanović Karadžić) ตอนที่ปฏิรูปการสะกดภาษาเซอร์เบียด้วยอักษรซีริลลิกในคริสต์ศตวรรษที่ 19

อีกคุณสมบัติเฉพาะของภาษาเซอร์เบีย คือการใช้อักษร 2 แบบ คือ อักษรซีริลลิกและอักษรละติน ซึ่งแทบจะเหมือนกัน ยกเว้นในรูปอักษรที่ใช้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากส่วนหนึ่งของประชากรที่พูดภาษาเซอร์เบียอยู่ภายใต้อิทธิพลทางตะวันตก (ที่ใหม่กว่า) ของออสเตรีย-ฮังการี และส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้อิทธิพลทางตะวันออก (ที่เก่ากว่า) ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ผู้มีการศึกษาทุกคนจะมีความรู้ในทั้ง 2 อักษร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น