ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ
ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ (อังกฤษ: English for Integrated Studies, EIS) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสองภาษารูปแบบหนึ่งในประเทศไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ[1] การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้แตกต่างจากการจัดการเรียนการสอนสองภาษารูปแบบอื่นที่ใช้ครูชาวไทยเป็นผู้จัดการเรียนการสอน[2]: 353 มีจุดมุ่งหมายสำคัญให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้[3] การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้เริ่มทดลองขึ้นที่โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา[1] ก่อนที่จะขยายไปตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศมากกว่า 500 โรงเรียนด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏจัดฝึกอบรมครูเพื่อเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น[4] ใน พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีการอบรมครูแกนนำเพื่อขยายผลการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการให้กับครูของโรงเรียนต่าง ๆ[5] จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 กระทรวงศึกษาธิการได้ร่างแนวทางปฏิบัตินโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยจัดให้มีการขยายโครงการพิเศษด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงโครงการ EIS อีกด้วย[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "EIS : การจัดการเรียนรู้ด้วยภาษาอังกฤษ โดยครูไทยเพื่อเด็กไทยสู่สากล". โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
- ↑ จำปาศักดิ์, สาโรจน์; วิเศษศิริ, ปองสิน (2014). "สภาพการบริหารวิชาการโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้โดยครูไทย (EIS) โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา". An Online Journal of Education. 9 (3): 351–360.
- ↑ "ตรวจเยี่ยมโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จ.หนองบัวลำภู". สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
- ↑ "โรงเรียนเครือข่าย EIS". กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
- ↑ "สพฐ. จัดตั้งศูนย์อาเซียนขึ้นในกระทรวงศึกษาฯ". สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
- ↑ "ศธ.จ่อยกเครื่องหลักสูตร 'ภาษาอังกฤษเด็กไทย'". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.