ภาษาตัวซู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาตัวซู่
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน
จำนวนผู้พูดน้อยถึงไม่มี  (2012)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3รวมใน Ersu [ers]
นักภาษาศาสตร์qob (ไม่ใช่ ISO)

ตัวซู่ (จีน: 多续; พินอิน: Duōxù; ชื่อเรียกในภาษาตนเอง: do33ɕu33 na31[2]) เป็นภาษาเชียงที่ใกล้สูญในประเทศจีนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับทั้งกลุ่มภาษาโลโลและภาษาตันกุต ภาษาในเซี่ยตะวันตก Yu (2012) จัดให้ภาษานี้เป็นภาษาเอ่อร์ซูที่อยู่ในสาขาเชียง โดย "แทบไม่เหลือผู้พูดภาษาตัวซู่" หรือ "เกือบ" ไม่มีผู้พูดภาษาเอ่อร์ซูเหลืออีก[1]

ชาวตัวซู่ประมาณ 2,000 คนอาศัยอยู่ในเทศมณฑลเหมี่ยนหนิงและหมู่บานโดยรอบ เช่นเดียวกันกับในเขตเมืองส่วนนอก 6 แห่งในเทศมณฑลนั้น ได้แก่ โฮ่วชาน (后山), ฟู่ซิง (复兴), ฮุ่ยอาน (惠安), ฮาฮา (哈哈), หลินหลี่ (林里) และเมืองชาปา (沙坝镇)[3] Chirkova (2014) รายงานว่ามีผ้พูดภาษานี้มากกว่า 9 คน ทั้งหมดอยู่ในช่วงอายุ 70 ถึง 80 ปี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Yu (2012:1–2)
  2. Chirkova, Katia. 2015. A Phonological Sketch of Duoxu.
  3. Chirkova, Katia. 2014. The Duoxu Language and the Ersu-Lizu-Duoxu relationship. Linguistics of the Tibeto-Burman Area (37). doi:10.1075/ltba.37.1.04chi

บรรณานุกรม[แก้]

  • Yu, Dominic. 2012. Proto-Ersuic. Ph.D. dissertation. Berkeley: University of California, Berkeley, Department of Linguistics.
  • Nishida, Tatsuo, 1973, 多続訳語の研究 : 新言語トス語の構造と系統 [A Study of the Tosu–Chinese Vocabulary Tosu I-yu: the structure and lineage of Tosu, a new language], 松香堂 Shokado, Kyoto (ในภาษาญี่ปุ่น)
  • Nishida, Tatsuo, 1975, "Hsi-hsia, Tosu, and Lolo–Burmese", Sino-Tibetan Conference VIII, Berkeley
  • Nishida, Tatsuo, 1976, "Hsi-hsia, Tosu, and Lolo–Burmese languages", Studia Phonologica 10:1–15

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]