ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมระบุว่า การสอนเด็กผู้ชายให้รู้จักเก็บอารมณ์อ่อนไหว เช่นในคำกล่าวว่า "big boys don't cry" (เด็กผู้ชายโต ๆ ไม่ร้องไห้หรอก) มีส่วนสำคัญในกระบวนการทางสังคมเกี่ยวกับเพศในโลกตะวันตก[1][2]

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะความเป็นชายเป็นพิษ (อังกฤษ: toxic masculinity) นั้นมีปรากฏใช้ในทางวิชาการและการพูดคุยในสื่อเกี่ยวกับความเป็นชายเพื่อสื่อถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมบางประการที่เกี่ยวข้องกับการส่งผลร้ายต่อสังคมและต่อผู้ชายเอง รูปเหมารวมดั้งเดิม (Traditional stereotypes) ของผู้ชายในฐานะผู้เป็นใหญ่ทางสังคม ควบคู่ไปกับลักษณะอื่น ๆ อย่าง ความรังเกียจสตรี และ ความรังเกียจคนรักร่วมเพศ สามารถถือได้ว่า "เป็นพิษ" (toxic) บางส่วนมาจากการสนับสนุนความรุนแรง เช่น การทำร้ายทางเพศ และ ความรุนแรงในครัวเรือน การเข้าสังคมของเด็กผู้ชายในสังคมชายเป็นใหญ่มักพบว่าทำให้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ เช่นในกรณีของการกลั่นแกล้ง

ลักษณะความเป็นชายแบบดั้งเดิมอื่น ๆ เช่น ความทุ่มเทให้กับงาน, ความภูมิใจที่เก่งในกีฬาทุกแขนง และการเป็นเสาหลักครอบครัว ไม่ถือว่า "เป็นพิษ" แนวคิดความเป็นพิษนี้ดั้งเดิมเกี่ยวโยงกับการเคลื่อนไหวของผู้ชายกลุ่มตำนานและกวี เช่นเชเปิร์ด บลิสส์ (Shepherd Bliss) เพื่อให้แย้งกับลักษณะภาพเหมารวมของชายว่าต้องเป็นความเป็นชายที่ "จริง" (real) หรือ "ลุ่มลึก" (deep) อย่างไรก็ตามได้มีคำวิจารณ์ว่าแนวคิดนี้เป็นการสื่อโดยผิด ๆ ถึงปัญหาอันเกี่ยวโยงจากเพศนั้นเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด[3]

ศัพทมูลและการใช้คำ

[แก้]

คำว่า toxic masculinity มีพื้นเพมาจากการเคลื่อนไหวผู้ชายกลุ่มตำนานและกวี ในทศวรรษ 1980s และ 1990s[4] ก่อนที่จะมีการใช้อย่างกว้างขวางในงานเขียน[5] การพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิดนี้ในสื่อเป็นที่นิยมขึ้นมาในทศวรรษ 2010s นั้นใช้สื่อถึงบรรทัดฐานทางสังคมต่อความเป็นชายเหมารวมแบบดั้งเดิม นักสังคมวิทยา ไมเคิล ฟลัด ระบุว่านี่รวมถึง "ความคาดหวังต่อเด็กผู้ชายว่าต้องกระตือรือร้น, โกรธเกรี้ยว, ทนทาน, กล้าหาญ และเป็นใหญ่"[6]

บรรทัดฐานของเพศ

[แก้]

ผลกระทบต่อสุขภาพ

[แก้]

สมาคมจิตแพทย์อเมริกันได้เตือนว่า "แนวคิดความเป็นชายเป็นพิษแบบดั้งเดิม" นั้นเกี่ยวข้องกับผลทางลบต่อสุขภาพจิต[7][8] ผู้ชายที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของความเป็นชาย เช่น ความกล้าได้กล้าเสีย, ความรุนแรง, ความเป็นใหญ่, การทำงานหนัก, ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์อ่อนไหว, ความปรารถนาที่จะต้องชนะ และการทำตามสถานะทางสังคม มีแนวโน้มสูงที่จะมีปัญทางจิตเวช เช่น ความซึมเศร้า, ความเครียด, ปัญหาเกี่ยวกับรูปร่างภายนอก, การใช้สารต่าง ๆ และความสามารถทางสังคมที่ลดต่ำลง[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Levant, Ronald F. (1996). "The new psychology of men". Professional Psychology: Research and Practice. 27 (3): 259–265. doi:10.1037/0735-7028.27.3.259.
  2. Lindsey, Linda L. (2015). Gender Roles: A Sociological Perspective. Routledge. p. 70. ISBN 978-1-31-734808-5.
  3. Salter, Michael (2019-02-27). "The Problem With a Fight Against Toxic Masculinity". The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
  4. Salter, Michael (27 February 2019). "The Problem With a Fight Against Toxic Masculinity". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2019. สืบค้นเมื่อ 11 May 2019.
  5. Ging, Debbie (20 May 2017). "Alphas, Betas, and Incels: Theorizing the Masculinities of the Manosphere" (PDF). Men and Masculinities. 22 (4): 638–657. doi:10.1177/1097184X17706401. S2CID 149239953. Although the term 'toxic masculinity' has become widely used in both academic and popular discourses, its origins are somewhat unclear.
  6. Flood, Michael. "Toxic masculinity: A primer and commentary". XY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2019. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  7. Salam, Maya (22 January 2019). "What Is Toxic Masculinity?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2019. สืบค้นเมื่อ 7 June 2019.
  8. Fortin, Jacey (10 January 2019). "Traditional Masculinity Can Hurt Boys, Say New A.P.A. Guidelines". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2019. สืบค้นเมื่อ 7 June 2019.
  9. Wong, Y. Joel; และคณะ (2017). "Meta-analyses of the relationship between conformity to masculine norms and mental health-related outcomes" (PDF). Journal of Counseling Psychology. 64 (1): 80–93. doi:10.1037/cou0000176. PMID 27869454. S2CID 8385. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-06-12.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Dowd" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Ellis" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แหล่งข้อมูลเชิงวิชาการ

[แก้]

งานเขียนในสื่อ

[แก้]