การข่มเหงรังแก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การกลั่นแกล้ง)
สัดส่วนของเด็กที่มีรายงานว่าถูกข่มเหงรังแกแบ่งตามประเทศ (2015)

การข่มเหงรังแก หรือ การกลั่นแกล้ง (อังกฤษ: Bullying) คือ การใช้กำลัง (force), การข่มขู่ (coercion), การล้อเลียนให้เจ็บปวด (hurtful teasing), หรือการคุกคาม (threat) โดยผู้กระทำมีเป้าหมายเพื่อ กระทำทารุณ, ครอบงำ, หรือขู่ผู้ถูกกระทำให้ยอมจำนน พฤติกรรมเช่นนี้มักเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นกิจวัตร การข่มเหงรังแกกับความขัดแย้งอื่นๆ มีความแตกต่างสำคัญอยู่ที่การที่ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางกายภาพหรืออำนาจทางสังคม และไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่มีอยู่จริงหรือเป็นอำนาจที่มีเฉพาะในความรับรู้ของผู้กระทำและคนอื่นๆ ก็ตาม[1] กล่าวอีกอย่างคือ การข่มเหงรังแกเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวชนิดหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะคือต้องมีองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้แก่ (1) มีเจตนาก้าวร้าว, (2) เกิดขึ้นระหว่างคู่ขัดแย้งที่ฝ่ายกระทำมีอำนาจเหนือกว่า, และ (3) มีการทำซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง[2]

การข่มเหงรังแกในโรงเรียนและที่ทำงานสามารถแแเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "peer abuse"[3] วัฒนธรรมการข่มเหงรังแกสามารถปรากฏได้ในบริบทที่ซึ่งมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น ในโรงเรียน, ครอบครัว, ที่ทำงาน,[4] บ้าน และ ชุมชน สื่อกลางหลักในการข่มเหงรังแกในวัฒนธรรมร่วมสมัยคือผ่านทางสื่อสังคมและเว็บไซต์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Juvonen, J.; Graham, S. (2014). "Bullying in Schools: The Power of Bullies and the Plight of Victims". Annual Review of Psychology. 65: 159–85. doi:10.1146/annurev-psych-010213-115030. PMID 23937767. S2CID 207640520.
  2. Burger, Christoph; Strohmeier, Dagmar; Spröber, Nina; Bauman, Sheri; Rigby, Ken (2015). "How teachers respond to school bullying: An examination of self-reported intervention strategy use, moderator effects, and concurrent use of multiple strategies". Teaching and Teacher Education. 51: 191–202. doi:10.1016/j.tate.2015.07.004.
  3. Elizabeth Bennett (1 January 2006). Peer Abuse Know More!: Bullying from a Psychological Perspective. Infinity. ISBN 978-0-7414-3265-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2014. สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
  4. Williams, Ray (3 May 2011). "The Silent Epidemic: Workplace Bullying". Psychology Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-21. สืบค้นเมื่อ 2016-11-13.
  5. Whittaker, E (2016). "Cyberbullying via social media". Journal of School Violence: 11–29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]