ฟลายอิงไทเกอส์: แชโดส์โอเวอร์ไชนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟลายอิงไทเกอส์: แชโดส์โอเวอร์ไชนา
โปสเตอร์เกม
ผู้พัฒนาเอซแมดดอกซ์
ผู้จัดจำหน่ายเอซแมดดอกซ์
กำกับบิยอร์น ลอช็อน
อำนวยการผลิตบิยอร์น ลอช็อน
โปรแกรมเมอร์เปเตร์ อาดัมชีค
เขียนบทบิยอร์น ลอช็อน
แต่งเพลง
  • ซีโมเน ชิกโกนี
  • มักนุส ริงบลุม
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
  • ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
  • 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2017
  • เอกซ์บอกซ์วัน
  • 12 มกราคม ค.ศ. 2018
แนวแอ็กชันผจญภัย, จำลองการบินต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ฟลายอิงไทเกอส์: แชโดส์โอเวอร์ไชนา (อังกฤษ: Flying Tigers: Shadows Over China) เป็นวิดีโอเกมจำลองการบินต่อสู้ ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยเอซแมดดอกซ์ ซึ่งวางจำหน่ายสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 และสำหรับเอกซ์บอกซ์วันในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 เกมดังกล่าวอิงจากหน่วยพยัคฆ์บินซึ่งเป็นฝูงบินอาสาสมัครที่ปกป้องจีนจากญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง เกมนี้นำเสนอผ่านทั้งมุมมองบุคคลที่หนึ่งและมุมมองบุคคลที่สาม การศึกผู้เล่นเดี่ยวมีภารกิจหลายอย่างให้ผู้เล่นทำให้สำเร็จ ส่วนองค์ประกอบแบบหลายผู้เล่นช่วยให้ผู้คนมากถึง 16 คนมีส่วนร่วมในการเล่นเกมทั้งแบบร่วมมือกันและชิงชัยกัน

สำหรับการเปิดตัวเกม ทางเอซแมดดอกซ์ได้จัดเตรียมเกมเวอร์ชันพิเศษที่มีซาวด์แทร็กและเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้ เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์ที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเห็นชอบรูปแบบการเล่นและการควบคุม แต่มีความเห็นต่างกันในเรื่องการบรรยายและประสิทธิภาพทางเทคนิค

รูปแบบการเล่น[แก้]

ฟลายอิงไทเกอส์: แชโดส์โอเวอร์ไชนา เป็นวิดีโอเกมจำลองการบินต่อสู้ ที่เล่นจากมุมมองบุคคลที่หนึ่งหรือบุคคลที่สาม โดยผู้เล่นเข้าควบคุมสมาชิกของหน่วยพยัคฆ์บิน ซึ่งเป็นกองบินอาสาสมัครที่ได้รับคัดเลือกจากกองทหารจีนเพื่อช่วยต่อสู้กับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เกมดังกล่าวมุ่งเน้นไปยังยุทธการที่สมรภูมิ จีน พม่า อินเดีย และมีภารกิจที่อิงจากยุทธการทางประวัติศาสตร์จริง เช่น ยุทธการที่โกรกธารสาละวิน, การบุกครองมาลายา รวมถึงการทิ้งระเบิดย่างกุ้ง[1]

การศึกผู้เล่นเดี่ยวประกอบด้วยภารกิจทั้งหมด 12 ภารกิจ โดยมีวัตถุประสงค์หลายอย่างในแต่ละภารกิจ ทำให้ผู้เล่นสามารถสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่เครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิด, ทหารลาดตระเวน, พลปืน และกู้ภัย โดยวัตถุประสงค์แตกต่างกันไปตั้งแต่การทิ้งระเบิดในสนามบินของศัตรู, การทิ้งตอร์ปิโดใส่เรือรบ หรือการยิงเป้าเป้าหมายภาคพื้นดิน การยิงและทำลายเป้าหมายเป็นกลไกสำคัญในเกม ซึ่งภารกิจยังเน้นที่กลยุทธ์การต่อสู้[2] องค์ประกอบของโหมดเล่นคนเดียวยังมีโหมดอื่น ๆ อีกหลายโหมด ได้แก่: ด็อกไฟต์ ซึ่งผู้เล่นเลือกเครื่องบิน, ตำแหน่ง และศัตรูจำนวนหนึ่งเพื่อต่อสู้; ฟรีไฟลต์ ซึ่งช่วยให้ผู้เล่นบินได้อย่างอิสระโดยไม่มีวัตถุประสงค์ใด ๆ; และชาลเลนจ์โหมดที่ประกอบด้วยห้าภารกิจที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ รวมถึงการเอาชีวิตรอด, ยึดธง และทำลายศัตรูทั้งหมด[3]

โหมดหลายผู้เล่นออนไลน์สำหรับฟลายอิงไทเกอส์ช่วยให้ผู้เล่นสูงสุด 16 คนสามารถแข่งแบบร่วมมือกันและชิงชัยกัน องค์ประกอบของผู้เล่นหลายคนมีโหมดเกมห้าโหมด ได้แก่: ด็อกไฟต์ ซึ่งสามารถเล่นได้ฟรีสำหรับเดธแมตช์ทั้งหมด หรือทีมเดธแมตช์; ร็อกเก็ตแบตเทิล ที่ซึ่งผู้เล่น ไม่ว่าจะร่วมมือกันหรือแข่งกัน มีเครื่องบินที่ติดตั้งจรวดที่สามารถสังหารได้ในนัดเดียว; และแฟลกบัสเตอร์ ซึ่งเป็นเกมประเภทยึดธง[4]

ผู้เล่นควบคุมเครื่องบินที่สำคัญในประวัติศาสตร์หลายลำระหว่างการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยรูปแบบการเล่นสามารถดูได้จากมุมมองที่แตกต่างกัน

การตลาด[แก้]

เอซแมดดอกซ์ได้เปิดเผยฟลายอิงไทเกอส์: แชโดส์โอเวอร์ไชนา เป็นครั้งแรกพร้อมตัวอย่างเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2015[5] เกมดังกล่าวได้รับการเปิดตัวผ่านเกมเล่นระหว่างการพัฒนาในสตีมเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2015[6] นอกจากนี้ เกมเต็มได้รับการวางจำหน่ายในระบบไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ส่วนรุ่นดีลักซ์ประกอบด้วยซาวด์แทร็กและเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้ เช่น ส่วนเสริมของพาราไดซ์ไอแลนด์ รวมทั้งแผนที่ และอากาศยานใหม่[7] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 เอซแมดดอกซ์เปิดเผยว่าเกมดังกล่าวจะวางจำหน่ายสำหรับเอกซ์บอกซ์วัน[8] โดยเปิดตัวผ่านเอกซ์บอกซ์เกมส์สโตร์ในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2018[9] ส่วนซาวด์แทร็กเกมได้รับการเผยแพร่ในแพลตฟอร์มสตรีมมิงเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2019[10]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก67/100[11]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เจเนอเรชันเอกซ์บอกซ์7.5/10[12]
ไอจีเอ็น สเปน6/10[13]
ดิเอกซ์บอกซ์ฮับ3/5[14]
ทรูอะชีฟเมนส์3/5[2]
เอกซ์บอกซ์แอดดิกต์6.7/10[1]
เอกซ์บอกซ์ทาเวิร์น7.8/10[3]

ฟลายอิงไทเกอส์: แชโดส์โอเวอร์ไชนา ได้รับ "บทวิจารณ์แบบผสมหรือระดับปานกลาง" ตามตามเว็บไซต์รวบรวมบทวิจารณ์อย่างเมทาคริติก[11] ส่วนจอห์น วอล์กเกอร์ แห่งเว็บไซต์ร็อก, เปเปอร์, ช็อตกัน ตั้งข้อสังเกตว่าเกมนี้ทำให้เขานึกถึงเกมอะแทกออนเพิร์ลฮาร์เบอร์ (ค.ศ. 2007) จากผู้กำกับบิยอร์น ลอช็อน เช่นกัน[15] ด้านฆาบิเอร์ อาร์เตโร จากเว็บไซต์ไอจีเอ็น สเปน รู้สึกว่าเกมนี้เหมาะสำหรับแฟนเกมต่อสู้ทางอากาศอื่น ๆ เท่านั้น[13] และภายในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 ทางเอซแมดดอกซ์ได้ระบุว่าระบุว่ามีการเล่นในระบบเอกซ์บอกซ์วันไปแล้ว 78,750 ชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับเก้าปี[16]

รูปแบบการเล่นและการควบคุมได้รับความคิดเห็นในเชิงบวกโดยทั่วไป ซึ่งเดวิด ชลาวิก แห่งคลูบิตยกย่องความยากการต่อสู้กันของเครื่องบินในเกม[17] ส่วนโอกลีย์แห่งเว็บไซต์ทรูอะชีฟเมนส์ชื่นชมรูปแบบการควบคุมที่หลากหลายสำหรับอากาศยานประเภทต่าง ๆ[2] ด้านเฟิร์นจากคีนเกมเมอร์พอใจกับการทิ้งระเบิด แต่ติเตียนรูปแบบการควบคุมของเกม[18] และวอล์กเกอร์แห่งเว็บไซต์ร็อก, เปเปอร์, ช็อตกัน พบว่าการตั้งค่าเมาส์และคีย์บอร์ดของเกมนั้นใช้งานง่ายกว่าคอนโทรลเลอร์[15]

การศึกของเกมได้รับปฏิกิริยาที่หลากหลาย โดยมีนักวิจารณ์บางคนยกย่องแนวคิดและอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ แต่ติเตียนความซ้ำซากจำเจ ด้านโจ เพเปก แห่งเอกซ์บอกซ์ทาเวิร์นได้ยกย่องการศึกของเกม โดยสังเกตว่าเกมนี้ "เพียงอย่างเดียวก็คุ้มกับค่าเข้าชม แม้จะมีระยะทางสั้น"[3] ส่วนแอนดรูว์ โอกลีย์ จากเว็บไซต์ทรูอะชีฟเมนส์ยกย่องความยาวของเกมและความเข้มข้นของภารกิจ[2] และอาร์เตโรจากเว็บไซต์ไอจีเอ็น สเปน พบว่าการเล่าเรื่องของเกมนั้นให้ความบันเทิง แม้จะหวังว่าจะมีการปรับแต่งเพิ่มเติม[13] ขณะที่ออสตินจากคีนเกมเมอร์ชื่นชมการสรุปภารกิจสิ้นสุดของเกมเปรียบเทียบภารกิจกับเหตุการณ์จริง แต่สังเกตว่าตัวละครและเรื่องราวไม่ได้ยอดเยี่ยม[18] ทั้งนี้ วอล์กเกอร์แห่งร็อก, เปเปอร์, ช็อตกัน ชื่นชมบางโหมดเกม แต่รู้สึกว่า "ภารกิจอาร์เคดนั้นไร้เหตุผล" ที่ขัดขวางความถูกต้องของประวัติศาสตร์[15] ส่วนอเดม ดิเลวา จากเอกซ์บอกซ์แอดดิกต์ได้สะท้อนความรู้สึกที่คล้ายคลึงกัน โดยอธิบายถึงอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ว่า "น่าดึงดูดใจ" แต่ติเตียนการดำเนินการของเกม[1] และการ์โลส ซันตัวนา จากดิเอกซ์บอกซ์ฮับตำหนิการทำภารกิจซ้ำ ๆ โดยสังเกตว่าพวกเขา "ล้มเหลวในการนำมาซึ่งความสนุกสนานที่แท้จริง"[14]

บรรดานักวิจารณ์ติเตียนกราฟิกของเกมและประสิทธิภาพทางเทคนิค แม้ว่าทางคีนเกมเมอร์จะยกย่องการออกแบบเครื่องบินก็ตาม[18] โดยโอกลีย์แห่งเว็บไซต์ทรูอะชีฟเมนส์ยกย่องกราฟิกสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะสังเกตเห็นปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับการออกแบบกองกำลังของศัตรู[2] ขณะที่วอล์กเกอร์จากเว็บไซต์ร็อก, เปเปอร์, ช็อตกัน ติเตียนกราฟิกของเกมโดยอธิบายว่า "ทื่อและกิ๊กก๊อก"[15] ส่วนอาร์เตโรจากเว็บไซต์ไอจีเอ็น สเปน ระบุปัญหาอัตราเฟรมบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เล็ง[13] และเพเปกจากเอกซ์บอกซ์ทาเวิร์นพบปัญหากล้องบางอย่างระหว่างการต่อสู้ รวมทั้งความล่าช้าระหว่างการแข่งแบบหลายผู้เล่น[3] ซึ่งเดอซีเร คลารี จากเจเนอเรชันเอกซ์บอกซ์รู้สึกว่าปัญหาด้านประสิทธิภาพของเกมนั้นสามารถให้อภัยได้ เมื่อพิจารณาจากงบประมาณที่จำกัดของผู้พัฒนา[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Dileva, Adam (7 February 2018). "Flying Tigers: Shadows Over China Review (Xbox One)". XboxAddict. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Ogley, Andrew (30 January 2018). "Flying Tigers: Shadows Over China Review". TrueAchievements. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Pepek, Joe (15 January 2018). "Flying Tigers: Shadows Over China Review". Xbox Tavern. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  4. "Flying Tigers: Shadows Over China". Gry Online (ภาษาโปแลนด์). Gry-Online S.A. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  5. Jones, John Paul (27 March 2015). "WWII air combat title, Flying Tigers: Shadows Over China". GameWatcher. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2015. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  6. Smutný, Aleš (20 August 2015). "Letecká arkáda Flying Tigers: Shadows Over China vstupuje do early accessu" [Flying Tigers: Shadows Over China enters early access]. Games.cz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  7. "Flying Tigers: Shadows Over China leaves Early Access, full release now available worldwide" (Press release). Sweden: Gamasutra. 29 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  8. Luis, Jorge (16 October 2017). "Flying Tigers: Shadows Over China readies for take-off on Xbox One". Gambit Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  9. Sheehan, Gavin (29 December 2017). "Flying Tigers: Shadows Over China Gets An Xbox One Release Date". Bleeding Cool. Avatar Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  10. "Flying Tigers: Shadows Over China Official Soundtrack streaming worldwide on all major music services" (Press release). Sweden: Ace Maddox. 10 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  11. 11.0 11.1 "Flying Tigers: Shadows Over China for Xbox One Reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2018. สืบค้นเมื่อ 2 November 2019.
  12. 12.0 12.1 Clary, Desirée (13 January 2018). "Análisis de Flying Tigers: Shadows over China" [Analysis of Flying Tigers: Shadows over China]. Generación Xbox (ภาษาสเปน). Grupo GX. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Artero, Javier (12 January 2018). "Flying Tigers: Shadows Over China - Análisis" [Flying Tigers: Shadows Over China - Analysis]. IGN Spain (ภาษาสเปน). Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  14. 14.0 14.1 Santuana, Carlos (15 January 2018). "Flying Tigers: Shadows Over China Review". TheXboxHub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Walker, John (4 May 2016). "Impressions: Flying Tigers - Shadows Over China". Rock, Paper, Shotgun. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2016. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  16. "Ace Maddox' Flying Tigers: Shadows Over China 50% OFF on the Xbox Store in celebration of one year anniversary" (Press release). Sweden: Ace Maddox. 11 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  17. Szlavik, David (12 January 2018). "Flying Tigers: Shadows Over China — Game Review". Clubit TV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  18. 18.0 18.1 18.2 Fern, Austin (7 June 2017). "Flying Tigers: Shadows Over China Review". Keen Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]