พูดคุย:เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอแก้ไขตัวเลขจาก ตัวเลยไป เป็น อาราบิก[แก้]

เนื่องจากความยาวของตัวอักษรและความยากในการอ่าน จำแนกแยกแยะ ขอทำการเปลี่ยนจาก ขอความเป็นตัวเลข อารายบิกชั่วคราว หากมีความจำเป็นต้องการใช้ ตัวเลขภาษาไทยโปรดดำเนินการได้ทันที @nimenagi 16:25, 31 ธันวาคม 2553 (ICT)

สอบถามจากผู้อ่าน[แก้]

ทำไมพวกท่านถึงนำภาพผู้ตายในลักษณะนี้มาใส่ คนที่รู้จัก ดร.เป็ด และญาติมาเห็นจะมีความรู้สึกเช่นไร ทำไมไม่คำนึงถึงความรู้สึกผู้อื่นบ้างเลย --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.8.151.43 (พูดคุย | ตรวจ) 23:55, 31 ธันวาคม 2010 (ICT)

ขอบคุณที่นำภาพ ดร. เป็ด ออกจากบทความนี้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ScorpianPK (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:04, 1 มกราคม 2011 (ICT)

`ภาพผู้เสียชีวิตทั้งหมด ที่คุณ clumsy หรือ คุณ clumsily อ้างว่าเป็นผู้ประสบเหตุแล้วถ่ายด้วยตัวเองนั้น ผมแจ้งลบจาก commons ทั้งหมดแล้วนะครับ เพราะจริงๆ เป็นภาพที่ถ่ายโดยบุคคลที่ใช้ชื่อว่า Mr.White หรือคุณปรัชญา ผมได้สอบถามยืนยันกับคุณปรัชญาแล้ว รวมไปถึงภาพนางสาวอรชรยืนเล่นบีบี ที่มีชื่อเสียง ที่คุณ clumsy อ้างว่าเป็นคนถ่ายเองด้วย -- 2T
อาจไม่เกี่ยวกับภาพโดยตรง แต่ภาพสกรีนช็อตของเว็บทั้ง Facebook, สกุลเทพหัสดิน และ Google มีลิขสิทธิ์ทางเขาอยู่ครับ ผมจึงแจ้งลบไปพร้อม ๆ กับกรณีคุณ 2T ด้วย คงเหลือไว้แต่ภาพการระงับข้อมูลของ ศอฉ. ซึ่งเป็นแต่ตัวอักษรมีพื้นหลัง ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ครับ --∫G′(∞)dx 12:36, 3 มกราคม 2554 (ICT)

ตอบสอบถาม[แก้]

มันเป็นบทความนะครับ พวกเราได้คิดก่อนนำมาพิมพ์แล้ว และที่จำเป็นต้องใช้ภาพนี้เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ทราบข่าวได้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครับ อย่ากังวลไปเลยครับ --เมย์ Mayrakis คุยกันได้ 09:25, 1 มกราคม 2554 (ICT)

ข้อความจากหนังสือพิมพ์ควรจะเปลี่ยนเป็นข้อความอ้างอิงหรือเปล่า[แก้]

ไม่ทราบว่ายกประโยคมาทั้งข้อความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนไปเป็นข้อความแบบวิกิพีเดียด้วย ขอใช้อ้างอิงแบบยกประโยคนะคับ @nimenagi 11:58, 1 มกราคม 2554 (ICT)

  1. อะไรคือ "ข้อความแบบวิกิพีเดีย" ?
  2. อะไรคือ "อ้างอิงแบบยกประโยค" ?
  3. ในบทความใส่อ้างอิงไว้หมดแล้ว จงดูให้ดี
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๒, ๑๑:๒๕ นาฬิกา (ICT)
นานๆ ผมจะเข้าอภิปรายด้วยสักครั้งหนึ่ง แต่ผมเห็นว่าคุณ Clumsy มักจะนำ "นโยบายส่วนตัว" มาใช้กับ "ชุมชนวิกิพีเดีย" อย่างน้อยก็ในสองกรณี ซึ่งผมพบเห็นและมีส่วนร่วมคือ ในบทความ "คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553)" ที่คุณยืนยันกับผมว่า ต้องใช้ชื่อบทความตามที่คุณระบุ แต่ตามหลักการตั้งชื่อบทความในวิกิพีเดีย ระบุชัดว่า "พยายามหลีกเลี่ยงการใช้วงเล็บ หรือเครื่องหมายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับชื่อบทความ" "การใช้วงเล็บ ต่อเมื่อป้องกันการสับสน" และ "การเขียนปีศักราช ให้เขียนในรูปแบบ <พ.ศ. 2547> โดยเว้นวรรคระหว่าง พ.ศ.และตัวเลข" กรณีนี้ควรจะชัดเจนตั้งแต่เวลานั้นแล้ว แต่ผมก็ไม่อยากเสียเวลาถกเถียง หากไม่มีใครคัดค้านร่วมด้วย
ส่วนกรณีของบทความนี้ จากที่สังเกตการแก้ไขในหน้าบทความ และข้อเสนอแนะในหน้าอภิปรายนี้ ของเพื่อนผู้ใช้หลายคน (ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของผมด้วย เพียงแต่ยังไม่ได้บอกไป) คุณคงยังไม่ทราบว่า วิกิพีเดียมีนโยบายเรื่อง "ความเป็นเจ้าของบทความ" เพื่อเตือนว่าคุณจะกำหนด "รูปแบบการเขียนบทความ" ขึ้นใหม่ไม่ได้ และคุณควรเปิดใจรับการแก้ไข และการเสนอแนะของผู้ใช้คนอื่น ที่เห็นว่ารูปแบบการเขียนของคุณ ไม่เป็นไปตามปกติ และเต็มไปด้วยภาษาทางกฎหมาย ตามที่คุณอาจมีความถนัด แต่คุณอาจลืมไปว่า วิกิพีเดียคือ "สารานุกรมออนไลน์" ไม่ใช่เว็บไซต์ "ประมวลคำพิพากษา" คดีอาญาหรือคดีการเมืองนะครับ
ป.ล. คุณควรช่วยแปลหน้าแนวปฏิับัติ Wikipedia:Consensus จากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มาลงไว้ที่วิกิพีเดียภาษาไทยนี้ด้วย เชื่อว่าจะมีประโยชน์กับคุณอย่างมาก -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 17:44, 2 มกราคม 2554 (ICT)
  1. เรื่องใช้วงเล็บ สำหรับบทความ "คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553)" นั้น การใช้วงเล็บเป็นหลักที่ทำกันในการระบุชื่อคดีที่คู่ความเหมือนกันแต่มีหลายคดี และบทความทา่งคดีในวิกิอังกฤษก็มีหลักเช่นนี้ แม้เขาจะมีนโยบายทั่วไปว่า ให้เลี่ยงใช้วงเล็บก็ตาม ดูตัวอย่าง คดีระหว่างเบลลอตตี กับไบร์ด (1976), คดีระหว่างเบลลอตตี กับไบร์ด (1979), คดีระหว่างบิงแฮม กับคาบอต (1795), คดีระหว่างบิงแฮม กับคาบอต (17958) ในกรณีทั่วไปที่ชื่อคดีไม่ซ้ำกัน ก็ไม่วงเล็บหรอก
  2. ไม่ได้ปิดใจเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมของคนอื่น แต่ ตัวอย่างเช่น
    1. มีคนใส่รายละเอียดส่วนตัวของผู้ตายเสียเยอะเลย อาทิ ใส่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนนี้ ปฏิบัติงานหน่วยย่อยนั้นนี้ ซึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้่องระบุลึกขนาดนั้น เอาแค่ตอนตาย เป็นอะไรก็น่าจะพอ ไม่ต้องบอกโคตรเหง้าศักราชก็ได้ จึงเอาออก
    2. ที่มีคนเปลี่ยนคำว่า "ตาย" เป็น "เสียชีวิต" เห็นว่า คำว่า "ตาย" ก็สั้นดี แล้วก็ไม่ใช่คำหยาบคาย ไม่เห็นจะมีอะไรไม่เหมาะสม
    3. เรื่องอื่น ๆ เช่น ถ้าจะเขียนเลขด้วยตัวเลข แทนตัวหนังสือ ก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ช่วยแก้ไขให้ทั้งบทความด้วย ไม่ควรทำแค่บางจุด
  3. ที่ว่า "สารานุกรมออนไลน์ ไม่ใช่เว็บไซต์ประมวลคำพิพากษาคดีอาญาหรือคดีการเมืองนะครับ" นั้น ไม่ถูกทั้งหมด เพราะ (๑) ข้าพเจ้าไม่ได้ใช้รูปแบบถ้อยคำสำนวนทางกฎหมายกับบทความทั่วไป (๒) สารานุกรมออนไลน์ก็เป็นที่รวมคดีความได้ ดังที่วิกิฯ หลาย ๆ ภาษาทำอยู่ (ดูตัวอย่า่ง Category:Supreme court case law by country (ไปไล่เจาะเข้าไปดูเอง))
  4. นโยบาย Wikipedia:Consensus นั้น ทราบดี แต่ที่ให้แปลมาไว้ในวิกิฯ ไทยนั้น ปฏิเสธ เพราะ (๑) ขี้เกียจ (๒) ZenithZealotry ก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้แปลมาจริง ๆ เพียงแต่ยกขึ้นมาประชดประชันเท่านั้น
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๒, ๒๐:๓๕ นาฬิกา (ICT)
ข้อที่บอกว่าใส่รายละเอียดส่วนตัวของผู้ตายมากเกินไป ผมเห็นว่าหน่วยย่อยที่ผู้ตายปฏิบัติงานอยู่จะระบุไว้ก็ดีนะครับ (ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนใดครับ) --Korrawit 22:00, 2 มกราคม 2554 (ICT)

การใส่ชื่อคนขับรถเก๋ง[แก้]

จากที่ครูหยุยออกมาท้วงติงเรื่องการเสนอชื่อคนขับรถเก๋ง ตาม "ครูหยุย".....................ติงสื่อเสนอชื่อจริงเด็ก16 ขับชนรถตู้ แล้วที่วิกิพีเดียจะเสนอชื่อเด็กคนนี้ได้หรือเปล่าครับ? --Korrawit 12:42, 2 มกราคม 2554 (ICT)

ขนาดหนังสือพิมพ์ทั่วไปยังรายงาน นับประสาอะไรกับวิกิพีเดียล่ะครับ --Horus | พูดคุย 17:58, 2 มกราคม 2554 (ICT)
เขาผิดก็เรื่องของเขานะครับ เราก็ควรยึดตามพรบ.นะครับ --Jo Shigeru 18:14, 2 มกราคม 2554 (ICT)
เห็นด้วยครับ --Korrawit 19:41, 2 มกราคม 2554 (ICT)

วิกิพีเดียขึ้นกับกฎหมายไทยหรือเปล่า อันนี้ยังไม่แน่ใจเลย --Horus | พูดคุย 18:16, 2 มกราคม 2554 (ICT)

เคยคุยเรื่องนี้กับ คุณออกญา ว่า:
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ ว่า:
"มาตรา ๑๑๓. ในการโฆษณา, ไม่ว่าด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือ, ซึ่งคำคู่ความ, ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ใด ๆ ในคดี, หรือคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว, ห้ามมิให้ระบุชื่อ, หรือแสดง หรือทำให้เกิดความเสียหาย แก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือถูกกล่าวถึงในคดี, เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล.
"มาตรา ๑๓๑. ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๓, มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๑๑๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน, หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ."
มีข้อน่าสงสัยว่า, ถ้าในอนาคต กรณีอุบัติเหตุที่ข้าพเจ้ากำลังเขียนอยู่นี้ ได้รับการตั้งเป็นคดีในศาล, วิกิฯ เราพึงเอาชื่อน้องคนก่อเหตุ (อรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ออกจากบทความหรือไม่.
(ความจริงแล้ว ข้าพเจ้าไม่ควรต้องถามก็ได้ว่าพึงเอาออกหรือไม่, เพราะถ้าข้าพเจ้าไม่อยากติดคุก ก็ต้องเอาออก. แต่มันน่าจะมีผลกระทบต่อบทความสักหน่อย, ถ้าจะให้ใช้ว่า "นามสมมุติ" หรืออ้างถึงด้วยประการอื่น คงดูแปลก ๆ ในวิกิฯ.)
คุณออกญา ตอบว่า:
"วิกิพีเดียเป็นของอเมริกา เราคุยกันด้วยกฎหมายอเมริกา (แคลิฟอร์เนีย) อเมริกาไม่มีการปิดบังเรื่องชื่อ แต่กฎหมายไทยมีผลในประเทศไทย นั่นหมายความว่า "หากคุณเขียนบทความนี้ โดยที่กำลังอยู่ในประเทศไทยก็จะผิด" เมื่อเป็นกรณีนี้แล้ว (๑) ขออนุญาตจากศาลไทย (คงยาก) (๒) คนเขียนก็อาจจะซวยถ้าอยู่ในปนะเทศไทย (๓) เขียนไปแล้วหน้านั้นก็อาจถูกบล็อก (๔) ถ้าเขียนปิดบังชื่อ ชาวต่างประเทศก็อ่านไม่รู้เรื่อง (๕) เซฟที่สุดคือ ไม่เขียนอะไรเลย แฮ่"
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๒, ๒๐:๐๒ นาฬิกา (ICT)
  1. หมายเหตุ ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นคนไทย หรือกระทำความผิดอยู่ในประเทศไทย หรือถ้าผู้เสียหายเป็นคนไทย กรณีนั้นก็ใช้กฎหมายไทยได้ ตามหลักดินแดน (ratione loci) (นี่พูดถึงเรื่องข้อความในวิกิพีเดียไปทำให้ใครเสียหาย โดยคนเสียหายเป็นคนไทย หรือคนทำเป็นคนไทย หรือทำในประเทศไทย)
  2. วิกิมีเดีย เป็นมูลนิธิจดทะเบียนในอเมริกา การจัดองค์กรและการดำเนินงานก็ย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายอเมริกา
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๒, ๒๐:๓๙ นาฬิกา (ICT)
ข้อความข้างบนนี่มั่วมากครับ "อเมริกาไม่มีการปิดบังเรื่องชื่อ" ที่นั้นปกป้อง minors มาก ถ้าพวกคุณอยู่ในอเมริกาและ"ใช้กฎหมายอเมริกา"ป่านนี้คงไปนอนคุกนานแล้วละครับ --Manop | พูดคุย 20:29, 3 มกราคม 2554 (ICT)
ยอมรับครับว่ามั่ว เพราะไม่รู้จักกฎหมายอเมริกาในรายละเอียด ต้องขออภัยด้วย ผมแค่อยากยกตัวอย่างมาเท่านั้น --octahedron80 22:44, 4 มกราคม 2554 (ICT)

จาก พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔ ดังนี้

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

และมาตรา ๒๗ ดังนี้

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็กหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

ผมจึงคิดว่าวิกิพีเดียไม่น่าจะใส่ชื่อน้องคนขับรถเก๋งนะครับ --Korrawit 22:08, 4 มกราคม 2554 (ICT)

ผมมีแนวคิดว่าทำแบบนี้ไหมคือ ย่อชื่อไปเลยทั้งบทืควาท แต่ใส่เชิงอรรถกำกับการย่อชื่อครั้งแรก และอธิบายไว้ข้างท้ายเกี่ยวกับข้อกฎหมาย --octahedron80 22:46, 4 มกราคม 2554 (ICT)

จะบอกให้ว่า ไม่เห็นจะต้องไม่กังวลกังวาลอะไร เพราะเราไม่ได้มีเจตนาทำร้ายนางสาวอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา อยู่แล้ว หากเรามีเจตนาเพื่อการศึกษา ชอบจะกระทำได้ เราก็อ้างได้ เรื่องเจตนาทางกฎหมายต้องคุยกันยาว แต่เอาเถิด ในเมื่อมีคนกังวลกังขา ข้าพเจ้าก็จัดการปิดบังชื่อเสียงเรียงนามให้แล้ว —— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๕, ๒๓:๐๐ นาฬิกา (ICT)

เดี๋ยวนะครับ เราคุยเฉพาะเรื่องเพื่อปกปิดชื่อของ พ. ส่วนคนอื่นเช่นผู้เสียชีวิตเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นจะต้องปกปิดเลยครับ --octahedron80 23:09, 4 มกราคม 2554 (ICT)

ปิด ๆ ไปเถอะ ปิดให้หมดนั่นแหละ เพราะมันอาจเชื่อมโยงไปถึงตัวนางสาวอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้ แล้วจะเป็นการทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของนางสาวอรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา —— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๕, ๒๓:๑๑ นาฬิกา (ICT)

จะประชดประชันกันอีกนานไหมครับ --Korrawit 10:12, 5 มกราคม 2554 (ICT)

ชื่อบทความ "ถูกชน"[แก้]

สรุปเหตุการณ์นี้พิสูจน์เรียบร้อยหรือยังครับว่า "ถูกชน" เพราะเหมือนชื่อบทความสามารถสื่อในความไม่เป็นกลางได้ --Manop | พูดคุย 21:53, 2 มกราคม 2554 (ICT)

  1. ข่าวทั้งหลายว่า รถตู้ถูกชน ตำรวจสอบสวนเบื้องต้นก็ว่า รถตู้ถูกชน แต่กำลังสอบสวนเพิ่มเกี่ยวกับอาการที่ชน
  2. แต่ก็ฟังดูไม่เป็นกลางจริง ๆ นั่นแหละ เปลี่ยนเป็นอะไรดี
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๒, ๒๒:๐๔ นาฬิกา (ICT)

ใช้คำกลาง ๆ ว่าอุบัติเหตุดีไหมครับ? --Korrawit 23:17, 2 มกราคม 2554 (ICT)

นั่นก็ไม่เป็นกลางอีกเหมือนกัน ลอง "เหตุการณ์รถชนกันบน.... " --Horus | พูดคุย 23:19, 2 มกราคม 2554 (ICT)

ใช้ว่า "เหตุการณ์หน้ารถเก๋งสะกิดตูดรถตู้ บนทางยกระดับอุตราภิมุข ณ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อดุมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทิตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2553" ดีไหม "เหตุการณ์รถชนกันบน..." ก็ดี แต่น่าจะตัด "การณ์" ออกดีไหม จะได้สั้นอีกหน่อย (ดูเหมือนบทความที่มีขณะนี้ ใช้ "เหตุการณ์" ก็มี ใช้ "เหตุ" เฉย ๆ ก็มี)
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๒, ๒๓:๒๖ นาฬิกา (ICT)

สงสัยเหมือนกันว่าจะเปลี่ยนให้เป็นอย่างเดียวกันหมดเลยดีไหม หรือว่า "เหตุ" กับ "เหตุการณ์" เป็นสองคำคนละความหมายกันครับ --Horus | พูดคุย 23:31, 2 มกราคม 2554 (ICT)

ใช้คำกลางๆ ว่า กรณีอุบัติเหตุบนทางยกระดับอุตราภิมุข ธันวาคม พ.ศ. 2553 ได้ไหมคะ (แต่รู้สึกมันกว้างจัง) --Tinuviel | พูดคุย 12:50, 3 มกราคม 2554 (ICT)

ผมเห็นว่าไม่ควรใช้ "อุบัติเหตุ" เพราะมันอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ครับ --Horus | พูดคุย 13:00, 3 มกราคม 2554 (ICT)

เปลี่ยนเครื่องหมายคำพูดเป็นวิกิคำพูดแล้ว[แก้]

เนื่องจากน่าจะเป็นคำพูดของใครคนใดคนหนึ่งที่อ้างอิง หรือเรียบเรียงตามคำพูดมาเลย ขอใส้ มากอัพไว้คับ@nimenagi 00:30, 3 มกราคม 2554 (ICT)

  1. เห็นว่า ใช้ blockquote ก็ดีแล้วนี่ cquote เกะกะออก
  2. อนึ่ง คำพูดสองสามคำ ไม่ต้องตัดออกมาเป็นใหญ่โตก็ได้
  3. พิมพ์ให้ถูกบ้างนะคะ อ่านแล้วไม่ได้ใจความเลย ข้อความของ @nimenagi แต่ละทีเนี่ย
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๐๒, ๒๔:๓๓ นาฬิกา (ICT)

เชียนชื่อโรงเรียนผิด[แก้]

มูฮัมหมัด ชารีฟ เดิมมีการแก้ไขว่า (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ผมได้ดำเนินการเอาธรรมศาสตร์ออก และใส่ลิงค์เอไอทีลงไปแทนนะครับ เพราะว่าเอไอทีไม่ใช่ธรรมศาสตร์--KLL Joe 01:16, 16 สิงหาคม 2554 (ICT)