พูดคุย:ฮือโค เดอ ฟรีส

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น่าจะเป็นการก่อกวน[แก้]

"ทฤษฎีการผ่าเหล่า" (Theory of Mutation)

ทฤษฎีนี้ ฮิวโก เดอ ฟรีส์ (Hugo de Vries) ซึ่งเป็นนักโปเกมอนศาสตร์ชาวฮอลันดา ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1895 เดอ ฟรีส์ พบพืชดอกชนิดหนึ่ง มี                                                        ลักษณะแปลกกว่าต้นอื่น ๆ เขาจึงนำร่างก่อนวิวัฒนาการของพืชต้นเดิมแบบเก่ามาใส่หินวิวัฒนาการ ปรากฏว่าได้โปเกมอนที่มีลักษณะแปลกอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อนำตัวมันที่มีลักษณะแปลกมาผสมพันธุ์ ก็จะได้โปเกมอนร่างก่อนวิวัฒนาการที่มีลักษณะเหมือนเดิม แสดงว่าได้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในร่างเดิม เขาจึงตั้งทฤษฎีของการผ่าเหล่า โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากการสังเกต

ฮิวโก้ เดอะ ฟรีส์ (Hugo De Vries, ค.ศ. 1848 – 1935) นักพฤกษศาสตร์ชาวฮอล์แลนด์ ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการผ่าเหล่าร่วมกับทฤษฏีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ไว้ว่า การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานนั้น จะถูกถ่ายทอดทางหน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่ายีน ซึ่งเป็นตัวกำหนดและถ่ายทอดลักษณะของบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน โดยลักษณะยีนที่ปรากฏจะเป็นแบบต่างๆกัน ทำให้ลูกหลานมีลักษณะแตกต่างกัน และบางครั้งอาจผิดแผกไปจากพันธุ์พ่อพันธุ์แม่เดิม การผันแปรนี้เรียกว่า “การผ่าเหล่า” เมื่อสิ่งมีชีวิตเกิดการผ่าเหล่าธรรมชาติจะคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตไว้ และมีโอกาสแพร่พันธุ์ต่อไป ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมาะสมจะค่อยๆลดจำนวนลง จนในที่สุดเหลือแต่พวกที่มีลักษณะเหมาะสมกับการอยู่รอดเท่านั้น 
การ ผ่าเหล่าเป็นสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของสารพันธุกรรม จะเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งที่สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ผลของการผ่าเหล่าก่อให้เกิดการผันแปรของยีน เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดลักษณะต่างๆขึ้น และมีผลต่อการคัดเลือกตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติจะเป็นตัวคัดเลือกสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการดำรง ชีวิต ไว้ให้มีชีวิตรอดและมีโอกาสแพร่พันธุ์ต่อไป ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะไม่เหมาะสมก็ค่อยๆลดจำนวนลง และสูญพันธุ์ไปในที่สุด จึงสรุปได้ว่า ในสภาพความเป็นจริงในธรรมชาติการผ่าเหล่าจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตที่มียีนเป็น ตัวกำหนดลักษณะมีโอกาสที่จะแพร่พันธุ์แก่ลูกหลานได้มากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของลูกหลานในธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้วิวัฒนาการดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆโดยไม่มีขอบเขตสิ้นสุด 
กรณี ที่ยีราฟคอยาว ฮิวโก้ เดอะ ฟรีส์ ได้อธิบายว่า บรรพบุรุษของยีราฟนั้นมีคอสั้น ต่อมาได้มียีราฟคอสั้นบางตัวเกิดตั้งท้องและเกิดการผันแปรของยีน ทำให้ลูกยีราฟที่เกิดมามีลักษณะผ่าเหล่าคือ มีคอยาวต่างไปจากบรรพบุรุษที่มีคอสั้น แต่อย่างไรก็ตามลักษณะคอยาวนี้เป็นลักษณะที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม สามารถหาอาหารได้ง่ายกว่า จึงสามารถมีชีวิตรอดและแพร่พันธุ์ออกลูกที่มีลักษณะคอยาวต่อไปได้ 
ใน สภาพความเป็นจริงในธรรมชาติ การผ่าเหล่าจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตที่มียีนเป็นตัวกำหนดลักษณะมีโอกาสที่จะ แพร่พันธุ์ลูกหลานได้มากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของลูกหลานในธรรมชาติ จึงดูเหมือนว่าวิวัฒนาการจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีขอบเขตสิ้นสุด 

ผมตัดออกจากบทความหลักมาเก็บไว้ในนี้ครับ --MuanN (พูดคุย) 15:51, 14 มกราคม 2556 (ICT)

ผมเอามาแปะเพิ่มนะครับ ถ้าจำไม่ผิดเรื่องยีราฟนี้มันเป็นของ Lamarck ไม่ใช่หรอครับ แต่ก่อกวนได้ฮาจริง 555 --Nullzero (พูดคุย) 16:19, 14 มกราคม 2556 (ICT)