พูดคุย:สิปปนนท์ เกตุทัต

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สิปปนนท์ เกตุทัต หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สิปปนนท์ เกตุทัต หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ข้อเขียนจากผู้ที่่เคยร่วมทำงานกับ ศ.ดร.สิปปนนท์[แก้]

(ขอยกมาไว้ที่นี่ก่อน รอรวมกับเนื้อหาหลัก)

ศ. ดร. ยงยทธ ยุทธวงศ์[แก้]

บทบาทที่สำคัญของท่านในสังคมไทย คือการที่ท่า่นสามารถเชื่อมโยงระหว่างโลกต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจ ความสมานฉันท์ระหว่างผู้ที่อยู่ในโลกที่ต่างกันนั้น ท่านศึกษามาทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เข้าใจในศิลปวิทยาการแขนงอื่น ๆ อย่างดี เข้าใจหลักการ พลัง และข้อจำกัดของศาสตร์ต่าง ๆ ท่านจึงสามารถเชื่อมโยงให้คนที่มาจากกรอบการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความเข้าใจและสื่อสารถึงกันได้ อาจารย์เชื่อใน Scientific Humanism ดังที่ท่านเคยกล่าวว่า

"สิ่งที่เราเรียกว่า Scientific Humanism นั้นคือการผสมผสานระหว่าง humanism ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวข้องกับชะตากรรมและความทุกข์ของผู้ยากไร้และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎธรรมชาติและสังคม การนำเอาไปปฏิบัติอารยธรรมทางวัตถุและอารยธรรมมนุษย์จะต้องผสมผสานให้กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อความคงอยู่และเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ..." (จาก "ความรู้สู่อนาคต" 2535)

ลักษณะของความเป็นคนเชื่อมโลกของท่านนั้นใช่ว่าจะแสดงออกมาเฉพาะในปรัชญาและความเชื่อพื้นฐานของท่านเท่านั้น แต่ยังแสดงออกมาในชีวิตครอบครัวด้วย ซึ่งท่านได้เลือก คุณเอมิลี คนเชื่อมโลกอีกคนหนึ่งมาเป็นคู่ชีวิต แสดงออกมาจากการที่ท่านมีความสุขในการใช้ชีวิตทั้งในตะวันออกและตะวันตกซึ่งท่านได้ใช้ชีวิตทั้งในช่วงการศึกษาและการทำงานอยู่หลายปี

ท่านได้เชื่อมระหว่างโลกของฝ่ายวิชาการ กับฝ่ายบริหาร เชื่อมระหว่างภาคราชการและภาคเอกชน ท่านมีความเข้าใจลึกซึ้งถึงอำนาจ ข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละโลก แต่ละกรอบความคิดและสามารถนำส่วนดีของแต่ละโลกหรือกรอบนั้นมาใช้กับสังคมไทยได้ สามารถจับประเด็นสำคัญของเรื่องต่างๆได้อย่างรวดเร็ว สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง นำไปสู่ข้อสรุปที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดอยู่เสมอ

ท่านได้เข้ามาทำงานด้านการปฏิรูปการศึกษาในช่วงที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระบบการกระจายอำนาจสู่ประชาชน อันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และได้ทำเป็นงานที่ต่อเนื่องกันตลอดมา ซึ่งงานของท่านจะปูทางให้สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งความรู้ได้ในที่สุด

ชีวิตการทำงานของท่านมี “หลายชีวิต” ท่านได้ทำงานมาในหลายระดับ ระดับวิชาการในฐานะอาจารย์ของจุฬาฯ ระดับบริหารในหลายตำแหน่ง โดยเฉพาะในฐานะเลขาธิการสภาการศึกษา และใน ระดับนโยบาย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการและช่วยว่าการหลายกระทรวง ในฐานะนายกสภาและกรรมการสภาของหลายมหาวิทยาลัย ในฐานะประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กรรมการคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สมาชิกก่อตั้งบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานของท่านที่ล้วนส่งผลดีงามให้แก่ส่วนรวมทั้งสิ้น


ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์[แก้]

===รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ===ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร