พูดคุย:วัดท่าไชยศิริ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
วัดท่าไชยศิริ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ประวัติวัดท่าไชยศิริ ประวัติสถานที่และสิ่งสำคัญ วัดท่าไชยศิริ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านสิงขรณ์ ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๑๘ ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ ๘ ไร่ ๓ งาน ๖๔ ตารางวา รวม๒๙ไร่ ๓ งาน ๖๔ ตารางวา วัดท่าไชยศิริ(วัดใต้) สร้างในปีใดไม่ปรากฏปีที่สร้างแต่ตามทะเบียนวัดสำนักงานศึกษาธิการอำเภอบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี มีวิสุงคามสีมา๑๕ หน้า๕๑๐ บันทึกไว้ว่าได้รับพระราชวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๑๙๑๐ ตรงกับรัชสมัยแผ่นดินของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย และได้รับวิสุงคามสีมาครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๒๒๕ สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกรุงศรีอยุธยาและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอีกครั้งหนึ่งพ.ศ.๒๔๔๕ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๐ นับเวลาถึงปัจจุบัน ประมาณ ๗๐๐ ปี วัดท่าไชยศิริ มีบริเวณด้านทิศตะวันออกติดถนนเพชรเกษม (ทางหลวง หมายเลข ๔ ) ด้านทิศตะวันตกเป็นโรงเรียนประถมศึกษ ด้านทิศเหนือมีถนนทอดไปยังท่าน้ำเพชรบุรี เป็นท่าน้ำของวัด ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัดท่าไชยศิรินี้ เดิมเรียกว่า “วัดใต้” เพราะอยู่ทางใต้ของลำน้ำแม่น้ำเพชรบุรี เหนือน้ำขึ้นไปเป็นที่ตั้งวัดกลาง และวัดเหนือ ทั้ง ๓ วัด มีอาณาเขตติดต่อกัน วัดกลางและวัดเหนือปัจจุบันเป็นวัดร้าง ความเป็นมาที่ได้นามว่า วัดท่าไชยศิริ นี้ มีเรื่องเล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่ง ทหารไทยปะทะกับพม่าทางด่านสิงขรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แตกทัพถอยมา โดยทัพพม่าได้ไล่ติดตามมาเมื่อทหารไทยถอยมาถึงวัดใต้ ได้ลงไปอาบน้ำและดื่มน้ำที่ท่าวัดให้หายเหนื่อยเพื่อเตรียมสู้กับพม่าต่อไป พอทหารไทยขึ้นจากท่าน้ำ พม่าก็ตามมาทันพอดี จึงเกิดการสู้รบกันขึ้นตะลุมบอนในวัด จนพม่าแตกพ่ายหนีไป มีบางส่วนเข้าไปในอุโบสถ ทหารได้ตามไปต่อสู้ในอุโบสถ จนมีคราบเลือดติดผนังอุโบสถ ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์คราบเลือดได้ลบเลือนไป จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเปลี่ยนชื่อวัดใต้ เป็นวัด “ท่าไชย” ต่อมากลายเป็น “ท่าไชยศิริราช” และต่อมาชื่อ “ท่าไชยศิริ” เพื่อเป็นมงคลนามของวัด เมื่อประมาณ ๖๐ – ๗๐ ปีมานี้เอง เรื่องนี้ได้เค้ามูลมาจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูญาณสิริ (เหลื่อม อินฺทสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าไชยศิริ ซึ่งท่านมหาทบ องฺกุโร (พระครูศรีวัชราภรณ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านลาด) ได้เขียนเล่าไว้ และท่านบอกว่า พระครูญาณสิริ ได้เล่าให้ฟังมาอีกทอดหนึ่ง ในสมัยที่คุณทรงชัย เจตบุตร เป็นศึกษาธิการจังหวัดเพชรบุรี ก็ได้นำเรื่องเล่าวัดท่าไชยศิริ นี้ไปเขียนไว้ในหนังสือของดีเมืองเพชร ซึ่งคณะผู้จัดทำหนังสือสมุดเพชรบุรี อ้างอิงไว้ในหนังสือดังกล่าว ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ การรบระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งเดินทัพผ่านด่านสิงขร เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองคลองวาฬ เมืองกุยบุรี เมืองปราณบุรี และเพชรบุรี มีหลายครั้งเช่น ๑.สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๐๒ ทัพไทยยกไปรักษาเมืองมะริด มีพระยาเพชรบุรีเป็นทัพหน้า พระยายมราชเป็นแม่ทัพ ทัพหน้ายกถึงด่านสิงขรก็ทราบว่าเมืองมะริดเสียแก่ทัพพม่า และถูกพม่าตีแตกถอยลนมาจนถึงเมืองเพชรบุรี ๒. ใน พ.ศ. ๒๓๐๗ มังมหานรธา แม่ทัพพม่ายกไปเมืองทะวาย ตะนาวศรี มะริด มะลิวัน ระนอง ชุมพร ไชยา ประทิว คลองวาฬ กุย ปราณ จนถึงเมืองเพชรบุรี กองทัพพระยาพิพัฒโกษากับพระยาตาก ยกมาจากกรุงศรีอยุธยารักษาเมืองไว้ได้ ทัพพม่าถอยไปทางด้านสิงขร ๓. พ.ศ. ๒๓๑๐ คราวเสียกรุง พม่ายกทัพมาทางทวาย ตะนาวศรี และเพชรบุรี ก็แตกไปด้วยในคราวนี้ ๔.สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗ ยุงคงหวุ่น เป็นทัพหน้าให้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม มาอยู่รักษาเมืองเพชรบุรี ๕. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ - สมัยสงครามเก้าทัพ พ.ศ. ๒๓๒๘ ทัพที่ ๒ ของพม่ายกมาทางด่าน บ้องตี้เข้าตีเมืองราชบุรี เพชรบุรี จากสงครามไทยรบกับพม่าดังกล่าวมา ปี พ.ศ. ๒๓๐๗ ไทยตีพม่าแตกถอยไปทางด้านสิงขร การรบที่วัดท่าไชย อาจจะเป็นครั้งนี้ก็ได้ ... นามเจ้าอาวาสวัดท่าไชยศิริเท่าที่สืบได้ ๑. พระอธิการเชียง - ๒. พระอธิการบุญมา - ๓. พระอธิการน้อย - ๔. พระอธิการต่าย - ๕. พระอธิการทอง - ๖. พรอธิการพุ่ม - ๗. พระอธิการมุ้ย - ๘. พระครูญาณสิริ (เหลื่อม อินฺทสิริ) พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๕๐๕ ๙. พระครูสิริวชรธรรม (เทียบ จารุวณฺโณ) พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๓๒ ๑๐. พระสมุห์ชื่น รตนปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๙ ๑๑. พระครูธรรมธรสิรภพ ปุญฺญโชโต พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๕๑ ๑๒. พระปลัดเกษม ฐิติสมฺปนฺโน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน บ้านสิงขร เรื่องเล่าของวัดท่าไชยศิริข้างต้น เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จดจำ และเล่าสืบกันต่อ ๆ มา ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดว่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดท่าไชยศิริ มีถนนเลียบวัดผ่านไปถึงหมู่บ้าน เรียกว่า หมู่บ้านด่านสิงขร ปรากฏว่าจนทุกวันนี้ ซึ่งอาจจะเป็นคนไทยหนีภัยจากด่านสิงขรก็ได้ หรือไม่ก็อาจเป็นพวกเชลยชาวพม่าถูกกักบริเวณให้อยู่เป็นที่เป็นทางก็ได้ โบราณวัตถุวัดท่าไชยศิริ พระพุทธรูปสำคัญ คือ พระประธานในอุโบสถ เป็นพระยืนปางห้ามพยาธิ หรือปางประทานพร ซึ่งเป็นของแปลกไม่เหมือนวัดทั่วไปเพราะตามปกติพระประธานในอุโบสถ หรือวิหารจะเป็นพระอิริยาบถ นั่งปางที่นิยมมาก คือ ปางมารวิชัย พระประธานยืนนี้ พบว่ามีเพียง ๓ แห่ง คือ ๑.พระประธานในอุโบสถวัดท่าไชยศิริ จังหวัดเพชรบุรี ศิลปะสมัยลพบุรี ๒.พระประธานในอุโบสถวัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุริศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ๓.พระประธานในอุโบสถวัดเครือวัลย์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ศิลปะสมัยสุโขทัย น.ณ ปากน้ำ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระประธานในอุโบสถวัดท่าไชยศิริไว้ว่า “ เป็นพระยืนสวมชฎาเทริดพระกรรณแบบพระพุทธรูปยอดป้านแบบพระลพบุรีทั่วไป เป็นพระยืนปางห้ามพยาธิ คลุมแบบพระร่วง ไม่มีสังฆาฎิเข้าใจว่าจะเป็นสมัยลพบุรีรุ่นหลัง (ปางห้ามญาติ มีลักษณะของพระพุทธรูปยกพระหัตถ์ ๒ ข้าง ทรงเครื่อง,ปางห้ามสมุทร มีลักษณะของพระพุทธรูปยกพระหัตถ์ ๒ ข้าง ไม่ทรงเครื่องห่ม) ด้านหลังพระประธานยืนนี้มีพระพุทธรูป สมัยลพบุรี ทำด้วยหินประทับบนฐานเตี้ย ๆ อยู่ติดผนัง ใบเสมาของวัดเป็นหินทรายแดงขนาดเล็ก มีแนวสันกลางไม่มีลวดลายอะไร ขนาด ๔๖ x ๒๙ x ๗ ซม. เป็นเสมาคู่พระพักตร์ของพระประธานองค์นี้แป้น และโอษฐ์สวยมาก พระขนงไม่โก่งมากนัก เป็นพระโลหะเป็นซุ้มเรือนแก้วอยู่เบื้องหลัง ตำนานของวัดนี้จะมีความจริงประการใด ยากที่จะค้นหลักฐานได้ เพราะตรวจดูโบราณวัตถุของวัด เห็นพระเป็นแบบลพบุรีรุ่นหลังอยู่ในอุโบสถถึงสององค์ใบเสมาก็เป็นของเก่า ชื่อนี้อาจจะมีก่อนพม่ารุกรานก็ได้” ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ พระครูธรรมธรสิรภพ ปุญฺโชโต เจ้าอาวาสวัดท่าไชยศิริ ได้ทำการบูรณะหลังคาอุโบสถซึ่งชำรุดเป็นอย่างมาก และพื้นอุโบสถ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ พระปลัดเกษม ติสมฺปนฺโน เจ้าอาวาสวัดท่าไชยศิริ ได้ทำการบูรณะภายในอุโบสถ ครั้งใหญ่ โดยการบูรณะองค์พระประธาน ซึ่งชำรุดค่อนข้างมาก ด้วยอายุขัยขององค์พระประธาน และทำการก่อสร้างรตนะบัลลังก์ ซุ้มเรือนแก้ว และฐานชุกชี ซึ่งมีการปั้นลายปูนปั้นและปิดด้วยทองคำแท้ ประดับกระจกสี ทำผิวพื้นผนังอุโบสถ มีการเขียนภาพพระเจ้า ๑๐ ชาติ เขียนด้วยสีอะคริลิค ประดับทองคำแท้ บนผ้าใบ ใส่กรอบไม้สักอย่างสวยงาม ติดผนังอุโบสถ ๑๒ ภาพ (เขียนโดยช่างยุทธนา อินทร์จิตร์) และประดับเพดานอุโบสถด้วย ดาราราย(ดาวเพดาน) ซึ่งทำด้วยไม้ตะเคียน ประดับกระจกปิดด้วยทองคำแท้ ซึ่งในครั้งนั้น ใช้ค่าใช้จ่ายงบประมาณกว่า ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านบาท) เลยทีเดียว ในการบูรณะครั้งนี้ได้อาจารย์พงษ์ศิริ บางสุขเสริม อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร (ช่างสิบหมู่) มาควบคุมการออกแบบการบูรณะ พระพุทธรูปหิน เบื้องหลังพระประธานขณะเขียนเรื่องนี้ไม่มีแล้ว ไม่ทราบว่าเคลื่อนย้ายไปไว้ที่ไหน แต่กลับมีพระพุทธรูปหินทรายอีกองค์หนึ่งประดิษฐ์อยู่หน้าอุโบสถด้านนอกเป็นเนื้อหินทรายแดง แต่พระกรและพระเศียรนั้นต่อเติมใหม่ให้ครบบริบูรณ์ วัดกลาง เป็นวัดร่วมสมัยกับวัดท่าไชยศิริ บริเวณพื้นที่ของวัดมีจำนวน ๙ไร่ ๒ งาน ๒๖ ตารางวา เป็นวัดร้าง มีซากโบราณวัตถุปรักหักพังปรากฏอยู่ เช่น อุโบสถ เจดีย์ พระประธานในอุโบสถ ห่างจากอุโบสถไปทางทิศเหนือประมาณ ๗๐เมตร มีสระน้ำโบราณ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ พระธีระ รกฺขิตฺจิตฺโต บวชมาจากวัดป่าแป้น ได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่วัดกลาง ได้มีการนำรถมาเกรดพื้นที่อุโบสถเดิม ทำให้กรุพระบูชาแตกเก็บได้พระบูชาปางต่างๆเช่น ปางห้ามญาติ ปางสมาธิมารวิชัย เป็นศิลปสมัยลพบุรีบ้าง อู่ทอง บ้าง พระธีระได้นำออกให้ประชาชนเช่าพระที่มีสภาพสมบูรณ์ไปจนหมดสิ้น เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง และได้นำเงินมาสร้างสำนักสงฆ์ มีกุฎิ ๕ หลัง อุโบสถสร้างทับหลังเดิม ๑ หลัง บูรณะซ่อมพระประธานในอุโบสถใหม่ สร้างศาลาการเปรียญอีก ๑ หลัง ขณะนี้กำลังขอยกฐานะวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระสงฆ์ โดยได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินรวมไปถึงวัดเหนือด้วยรวมพื้นที่ ๒๓ ไร่ ๔๕ ตารางวา วัดเหนือ (ร้าง) เป็นวัดร่วมสมัยวัดกลางและวัดใต้ (วัดท่าไชยศิริ) มีเนื้อที่๑๓ ไร่ ๒ งาน๑๙ ตารางวา ถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน พวกนิยมของเก่าได้ขุดเจาะทำลายอุโบสถและเจดีย์พังทะลายจนหมดสิ้น เหลือเพียงฐานอุโบสถและเนินเจดีย์ ประมาณ ๔๐ ปีมานี้ อุโบสถยังมีฝาผนัง มีศาลาการเปรียญ ๑ หลัง และทางวัดห้วยเสือได้มาซื้อเอาอิฐฝาผนังอุโบสถไปใช้ประโยชน์ โบราณวัตถุของวัดเหนือ ได้แก่ พระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง วงการพระเครื่องเรียกว่าพระหูยานกรุสมอพลือ กรุพระสมอพลือนี้เมื่อประมาณ ๖๐ ปีมาแล้วได้มีคน ๒ คนไปขุดเจดีย์เหนืออุอุโบสถ ได้พบขันสำริดตรงลูกระฆังเจดีย์มีพระบรรจุอยู่ในขันจำนวน ๒๔ องค์ เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงขนาดสูง ๕.๒ ซม.กว้าง ๒.๗ ซม. และเก็บได้บริเวณใกล้กันอีก ๓ องค์ รวมเป็น ๒๗ องค์ เรื่องดังกล่าวคุณยายผิว อายุ ๘๕ ปี ชาวบ้านสิงขรเป็นผู้เล่า และที่บ้านท่านมีพระเหลืออยู่ ๑ องค์ ผู้เขียนได้ชมแล้วสวยมากเป็นพระที่มีพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพัน อาจารย์เกรียงกาญจนวริต ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือของดีเมืองเพชรว่าพระเครื่อง ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองเพชรบุรี นอกจากกรุวัดค้างคาว กรุวัดรัตนตรัย ยังมีอีกกรุหนึ่งคือกรุวัดเหนือ ซึ่งมีพระหูยานเนื้อตะกั่วสนิมแดงบรรจุอยู่ เดี๋ยวนี้เป็นวัดร้างอยู่ในเขตตำบลสมอพลือ ดังนั้นพระหูยานที่ขุดได้จึงมีชื่อเรียกว่า “พระหูยานสมอพลือ” และสิ่งสุดท้ายที่จะลืมเสียมิได้เป็นยอดปะติมากรรมของขลังชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งเกิดมาจากสกุลช่างลพบุรี มีอายุการสร้างราว ๙๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ๒ ประการ คือ ๑. เป็นที่ตักน้ำใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ๒. เป็นที่ตักน้ำสรง น้ำเสวย ๓ รัชกาล (รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖) การใช้น้ำเพชรในพระราชพิธีต่างๆ นั้น คงจะใช้กันมานาน แต่ยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ตามธรรมเนียมพระราชพิธีของไทยนั้น นิยมใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากสระทั้ง ๔ และแม่น้ำทั้ง ๕ นั้น รวมแม่น้ำเพชรอยู่ด้วย คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำเพชรบุรี สำหรับแม่น้ำเพชรบุรีนั้น จะเจาะจงตักที่ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ และนำไปประกอบ พิธีที่วัดมหาธาตุก่อนส่งเข้าไปประกอบพิธีที่กรุงเทพฯ ต่อไป สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง ๔ อยู่ในเขตตำบลสระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาทอดพระเนตรสระศักดิ์สิทธิ์ที่ตำบลนี้ จึงเป็นเหตุให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านท่าเสด็จ” สระศักดิ์สิทธิ์เดิมพบเพียง ๔ สระ คือ สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ต่อมาพบอีก ๒ สระ คือ สระอมฤต และสระอมฤต และทรงพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “แต่เหตุไฉนที่สระนี้ขลังนักไม่ปรากฏ คงจะมีตัวครูบาที่สำคัญเป็นอันมาก น้ำในสระก็ไม่ใช้ ปลาในสระก็ไม่กิน สระมีหญ้าขึ้นรกเต็มไปหมดมีจระเข้อาศัยอยู่ทั้งสี่สระน้ำสระคา สระยมนาไม่สู้สะอาดมีสีแดง แต่น้ำสระเกษ สระแก้วใสสะอาด” น้ำในสระทั้งหมดนี้ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและพระราช พิธีสระน้ำมูรธาภิเษกตามลัทธิพราหมณ์ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนจัดตั้งสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นโบราณสถานไว้แต่น้ำที่ใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่หาหลักฐานได้ เป็นสารตราของทางราชการสั่งให้เจ้าเมืองเพชรบุรี ตักน้ำเพชรไปใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก มีตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันก็ใช้น้ำเพชร และประกอบพิธีตักที่ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริทั้งสิ้น โดยเฉพาะ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕,๖,๗รอบ(๑๔ต.ค.๒๕๕๔) และพระราชพิธีครองราชย์ ๖๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้มีพิธีทำน้ำศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน ผู้เขียนได้ เข้าร่วมเป็น เจ้าหน้าที่ทำพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ท่าน้ำวัดท่าไชยด้วย โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีขบวนแห่น้ำเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว เพื่อนำเข้าสู่พิธีต่อไป ข้อสำคัญประการที่สอง แม่น้ำเพชรบุรี เป็นน้ำสรง น้ำเสวยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมาเลิกใช้ในรัชกาลที่ ๖ โดยเฉพาะรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดแม่น้ำเพชรมาก เพราะเป็นน้ำใสมีรสจืดสนิทดี มีรับสั่งให้พระยาเพชรบุรี จัดส่งน้ำเพชรไปถวายทุกเดือนและจะมาตักน้ำที่ท่าวัดท่าไชยศิริทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังมีบุคคลสำคัญในรัชกาลสมัยนั้น ใช้น้ำเพชรที่วัดท่าไชยศิริเป็นประจำอีก ๒ ท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) อีกท่านหนึ่ง คือ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) และยังใช้รับรองคณะทูตานุทูตจากต่างประเทศด้วย --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 49.48.215.201 (พูดคุย | ตรวจ) 23:03, 6 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

จุดประสงค์หน้าอภิปราย

หน้าอภิปรายไม่ได้มีไว้สำหรับเล่าเนื้อหาที่เป็นประเภทเดียวกับเนื้อหาในบทความครับ โดยหลักใหญ่แล้ว หน้าอภิปรายมีไว้สำหรับแสดงความคิดเห็นเชิงหารือ หรือถาม-ตอบเกี่ยวกับการพัฒนาบทความในบทความนี้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ วิธีใช้:หน้าอภิปราย

จริง ๆ แล้วเนื้อหานี้สมควรถูกลบมากกว่า แต่ผมคิดว่าเนื้อหานี้บางส่วนมีประโยชน์ในการเพิ่มเติมลงไปในหน้าบทความ แต่มันยาวและตรวจสอบค่อนข้างยากและยังขาดอ้างอิง ฉะนั้นแล้วควรรอให้ผู้รู้ย้ายหน้านี้ไปไว้ในกระบะทรายหรือหน้าทดลองเขียนแทนจะดีกว่าครับ --Aanon (พูดคุย) 23:34, 6 พฤศจิกายน 2556 (ICT)