พูดคุย:ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เนื้อหา ความเป็นกลาง และ ข้อเท็จจริง[แก้]

การอธิบายเนื้อหา ค่อนข้างโอเค แต่ติดตรงที่ว่า "สถาบันกษัตริย์จะต้องอยู่เหนือการเมือง เพราะองค์พระราชินีเป็นตัวแทนของชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสี, ความเชื่อ หรือการเมือง, ไม่ว่าจะด้วยสถานะ หรือสถานการณ์, หรือแม้กระทั่งยุคสมัยของพวกเขา - พระองค์เป็นศูนย์รวมของพลังภายในประเทศ เป็นเสมือนกาวประสานพวกเราเอาไว้ด้วยกัน และนั่นคือความเข้มแข็งของพระองค์. พระองค์เป็นของคนทุกคน, ด้วยไม่มีใครออกเสียงเพื่อพระองค์ และเสียงของพวกเขาจะไม่ถูกมอบให้กับใครอื่นอีก. หากว่าพระองค์ทรงแสดงความคิดเห็นซึ่งสามารถนำไปอ้างได้โดยพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ย่อมสร้างความแบ่งฝักฝ่ายในหมู่เหล่าของประชากรโดยพลัน และนั่นย่อมก่อให้เกิดความแตกแยก และเมื่อพระองค์มิได้ทรงกระทำ - พระองค์ย่อมเป็นผู้ซึ่งไม่อาจหยั่งถึงได้อย่างถึงที่สุด" ฟังดูเหมือน เป็นการ Prodaganda ยังไงไม่รู้ (เขียนโดย Poom40234).

ถึงแม้ผมจะเห็นด้วยว่าไม่ควรมีบทความนี้ แต่ข้อความที่คุณยกมานั้นยกมาจากข้อความของ Penny Junor พูดถึงราชาธิปไตยอังกฤษครับ ไม่ใช่ของไทย --Horus | พูดคุย 16:15, 24 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

ล็อกชั่วคราว 1 ชั่วโมง[แก้]

เนื่องจากมีการย้อนกลับไปมาระหว่างผู้ใช้ลงทะเบียนและผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนโดยมิได้มีการพูดคุยกันที่หน้าอภิปรายนี้ จึงขอล็อกชั่วคราว 1 ชั่วโมง โปรดใช้หน้าอภิปรายนี้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขบทความด้วยครับ --taweethaも 17:43, 6 พฤษภาคม 2553 (ICT)

๑. ข้อความในบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

"...ส่งผลให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยค่อนข้างพิลึกกึกกือ จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น "ประชาธิปไตยแบบคิดสั้น"[1]"

๒. ข้อความจากแหล่งอ้างอิง

"...วาทกรรมพระราชอำนาจหรือประชาธิปไตยแบบคิดสั้น...ลองมาดูกันแค่ประเด็นเดียวซึ่งประมวล [ประมวล รุจนเสรี] ภูมิใจนักหนาในความคิดของตนจนมักจะยกมาแสดงในที่ต่าง ๆ นั่นคือ ข้อถกเถียงของเขาที่ว่า ในเมื่อพระมหากษัตริย์ต้องทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐธรรมนูญก่อนจึงจะประกาศใช้ได้ แสดงว่าพระราชอำนาจของพระองค์ย่อมล้นพ้นกว่าที่ระบุไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ นี่เป็นตรรกวิตถาร การที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ลงนามในกฎหมายทุกฉบับก่อนประกาศใช้ หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? การที่เขามีอำนาจในการยับยั้งกฎหมายเท่ากับว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? ไม่ใช่เลย ประมวลเองเป็นคนลงนามคำสั่งและระเบียบต่าง ๆ มาหลายฉบับสมัยที่อยู่กระทรวงมหาดไทย หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎระเบียบพวกนั้นใช่ไหม? (อาจจะใช่ก็ได้)...[1]"

๓. เช่นนี้แล้ว มีแหล่งอ้างอิงหรือไม่

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๕.๐๖, ๑๗:๑๘ นาฬิกา (ICT)

ล็อกชั่วคราว 1 วัน[แก้]

ด้วยเหตุผลเดิมครับ ขออภัยในความไม่สะดวก หากประสงค์จะแก้ไขอะไร โปรดอภิปรายกันที่นี่ --taweethaも 08:07, 10 พฤษภาคม 2553 (ICT)

เนื่องจากยังแก้ไขโดยไม่พูดคุยกันอีกจึงต้องล็อกเต็มรูปแบบ 1 วัน (อาจขยายเวลาต่อไปถ้ายังไม่เกิดการอภิปรายกันเพื่อพัฒนาบทความ) --taweethaも 12:17, 10 พฤษภาคม 2553 (ICT)

ยังไม่จบอีกเรอะ[แก้]

บทความนี้ มันเถียงกันมาตั้งแต่ชาติที่แล้วหนิ เฮ้อ "open contents มันไม่ไปกับ open minds" จริงจริงด้วย-ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:40, 10 พฤษภาคม 2553 (ICT)

ข้อความที่เป็นปัญหา[แก้]

"จะเห็นได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย มีความผสมผสานระหว่างรากวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรมการปกครองสมัยใหม่อย่างระบอบประชาธิปไตยทั้งมีผู้แทน ในรัฐสภา อย่างไรก็ดี ด้วยปัญหาหลาย ๆ ประการ เช่น ศรัทธาแบบมืดบอดที่มีการโหมประชาสัมพันธ์ให้จงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์ ห้ามคิดเป็นอื่น ทำให้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า การปกครองในประเทศไทยเป็น "ประชาธิปไตยแบบคิดสั้น"[2]"

หลังจากที่ตรวจสอบ พบว่า แหล่งอ้างอิงที่ใช้เขียนเต็ม ๆ ว่า

"หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยวิธีคิดเลื่อนเปื้อนและการให้เหตุผลที่ลุ่มๆดอนๆอ่อนแอ ลองมาดูกันแค่ประเด็นเดียวซึ่งประมวลภูมิใจนักหนาในความคิดของตน จนมักจะยกมาแสดงในที่ต่างๆ นั่นคือ ข้อถกเถียงของเขาที่ว่า ในเมื่อพระมหากษัตริย์ต้องทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐธรรมนูญก่อนจึงจะ ประกาศใช้ได้ แสดงว่าพระราชอำนาจของพระองค์ย่อมล้นพ้นกว่าที่ระบุไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

นี่เป็นตรรกวิตถาร การที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯเป็นผู้ลงนามในกฎหมายทุกฉบับก่อนประกาศใช้ หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? การที่เขามีอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย เท่ากับว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? ไม่ใช่เลย ประมวลเองเป็นคนลงนามคำสั่งและระเบียบต่างๆมาหลายฉบับสมัยที่อยู่กระทรวง มหาดไทย หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎระเบียบพวกนั้นใช่ไหม? (อาจจะใช่ก็ได้)..."

แต่ Clumsy ได้ตัดข้อความด้านหน้าซึ่งเป็นข้อความที่สำคัญออก แล้วยกข้อความมาเพียง

"...วาทกรรมพระราชอำนาจหรือประชาธิปไตยแบบคิดสั้น...ลองมาดูกันแค่ประเด็นเดียวซึ่งประมวล [ประมวล รุจนเสรี] ภูมิใจนักหนาในความคิดของตนจนมักจะยกมาแสดงในที่ต่าง ๆ นั่นคือ ข้อถกเถียงของเขาที่ว่า ในเมื่อพระมหากษัตริย์ต้องทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐธรรมนูญก่อนจึงจะประกาศใช้ได้ แสดงว่าพระราชอำนาจของพระองค์ย่อมล้นพ้นกว่าที่ระบุไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ นี่เป็นตรรกวิตถาร การที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ลงนามในกฎหมายทุกฉบับก่อนประกาศใช้ หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? การที่เขามีอำนาจในการยับยั้งกฎหมายเท่ากับว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? ไม่ใช่เลย ประมวลเองเป็นคนลงนามคำสั่งและระเบียบต่าง ๆ มาหลายฉบับสมัยที่อยู่กระทรวงมหาดไทย หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎระเบียบพวกนั้นใช่ไหม? (อาจจะใช่ก็ได้)..."

ดังนั้น ข้อความที่ Clumsy ยกมานั้น เป็นเพียงการวิจารณ์ หนังสือพระราชอำนาจ ของประมวล รุจนเสรี โดย ธงชัย วินิจจะกูล ไม่ใช่วิจารณ์ระบอบการปกครอง และไม่มีข้อความใดในอ้างอิงที่เขียนให้เข้าใจตามที่ Clumsy ได้เขียนในบทความเลย ดังนั้น ข้อความนี้สมควรยกออกจากบทความ--58.8.100.111 03:02, 13 พฤษภาคม 2553 (ICT)


  1. 1.0 1.1 ธงชัย วินิจจะกูล. (2548). วาทกรรมพระราชอำนาจหรือประชาธิปไตยแบบคิดสั้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553).
  2. ธงชัย วินิจจะกูล. (2548). วาทกรรมพระราชอำนาจหรือประชาธิปไตยแบบคิดสั้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553).